COVID-19

จีนพัฒนา ‘วัคซีน RNA วงแหวน’ ต้านโควิด-19 ‘โอไมครอน-เดลตา’

 คณะนักวิทยาศาสตร์จีนเสนอกลยุทธ์ การผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) แบบใหม่ ซึ่งอาจกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอนและสายพันธุ์เดลตา

ผลการศึกษาในวารสารเซลล์ (Cell) ระบุว่าคณะนักวิจัยนำโดยเว่ยเหวินเซิ่งจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง พัฒนาแพลตฟอร์มผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รุ่นใหม่ หรือวัคซีน อาร์เอ็นเอแบบวงแหวน (circRNA)

get 3 9

วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) มุ่งโจมตีโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสฯ ที่ก่อโรคโควิด-19 เป็นหลัก ทว่าวัคซีนที่มีโครงสร้างอาร์เอ็นเอแบบเส้น มักพลาดเป้าหมายในการลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ที่อุบัติขึ้นมาใหม่

ขณะวัคซีนอาร์เอ็นเอแบบวงแหวน ซึ่งมาพร้อมโครงสร้างวงแหวนลักษณะปิด มีความเสถียรมากกว่าวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ และสามารถกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่อาศัยสารน้ำและเซลล์อย่างมีศักยภาพมากขึ้น

วัคซีนอาร์เอ็นเอแบบวงแหวน ยังกระตุ้นแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ในระดับสูง สามารถป้องกันเชื้อไวรัส ในหนูและลิงวอก อีกทั้งสร้างการตอบสนองของทีเซลล์ (T cell) หนึ่งในเซลล์สำคัญของร่างกาย ที่ทำหน้าที่ป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงป่วยหนัก ในกลุ่มคนที่เคยฉีดวัคซีน และติดเชื้อไวรัสในเวลาต่อมา (VAED) เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังไม่ฉีดวัคซีน

การศึกษาพบว่าหนึ่งในวัคซีนอาร์เอ็นเอแบบวงแหวน ที่มุ่งโจมตีเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน สามารถสร้างแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อโอไมครอน แต่ไม่ครอบคลุมสายพันธุ์เดลตา ขณะวัคซีนอีกตัวที่มีเป้าหมายเป็นสายพันธุ์เดลตาสามารถป้องกันเชื้อไวรัสฯ ได้ทั้งสองสายพันธุ์ หรือทำหน้าที่เป็นวัคซีนโดสกระตุ้น ตามหลังการฉีดวัคซีนสองโดสก่อนหน้า

ด้วยเหตุนี้ คณะนักวิจัยจึงสรุปว่าวัคซีนอาร์เอ็นเอแบบวงแหวนมีศักยภาพสำหรับพัฒนาเป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทางเลือกที่ใช้งานในวงกว้างต่อไปได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo