COVID-19

‘มูดี้ส์’ ชี้นโยบายจีน ‘โควิดเป็นศูนย์’ ทำ ‘วิกฤติซัพพลายเชน’ ยืดเยื้อ

นักเศรษฐศาสตร์มูดี้ส์ชี้ ปัญหาติดขัดด้านซัพพลายเชนโลก ส่อเค้ายืดเยื้อ เหตุจากนโยบาย “โควิดเป็นศูนย์” ของรัฐบาลจีน 

นางแคทรินา เอลล์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโลก ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ของมูดี้ส์ อะนาไลติคส์ แสดงความเห็นว่า ภาวะคอขวดที่เกิดขึ้นกับห่วงโซ่อุปทาน หรือซัพพลายเชน ทั่วโลก ที่เกิดขึ้นมาร่วม 1 ปีแล้วนั้น มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายลงในช่วง 2-3 เดือนแรกของปีนี้

shutterstock 1240820863

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากการใช้นโยบาย “โควิดเป็นศูนย์” ของรัฐบาลจีน  และแนวโน้มที่จีนจะสั่งปิดท่าเรือ และโรงงานขนาดใหญ่ ๆ ก็จะยิ่งทำให้ภาวะติดขัดในซัพพลายเชน ยืดเยื้อออกไปอีก

นับแต่ที่เกิดการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ช่วงต้นปี 2563  จีนได้นำนโยบายโควิดเป็นศูนย์มาบังคับใช้อย่างเข้มงวด ด้วยการดำเนินมาตรการกักโรค และควบคุมการเดินทางอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศ หรือกับประเทศอื่น ๆ ในความพยายามที่จะควบคุมการระบาด

มาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ของจีน ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต และการส่งสินค้าไปทั่วโลก ซึ่งยิ่งทำให้วิกฤติซัพพลายเชนรุนแรงมากขึ้น ทั้งหลายฝ่ายยังกังวลด้วยว่า การระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ที่แพร่กระจายได้ง่าย จะก่อความเสียหายซ้ำเติมภาคการขนส่งอีกครั้ง

นางเอลล์ บอกว่า นโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีนนั้น เพิ่มความเสี่ยงขาลงให้กับซัพพลายเชน ที่เริ่มฟื้นตัวตามการผลิตวัสดุ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงอิทธิพล และความสำคัญของเศรษฐกิจจีนในเวทีโลก

เธอยังคาดว่า อัตราเงินเฟ้อ และท่าทีของธนาคารกลางต่าง ๆ จะมีผลต่อตลาดอย่างมากในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้

เมื่อปีที่แล้ว จีน ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐ ได้สั่งปิดเทอร์มินัลหลัก ที่ หนิงโป่-โจวชาน ท่าเรือที่มีความคับคั่งมากสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก หลังพบว่า มีแรงงานที่ท่าเรืคนหนึ่งติดโควิด และยังเป็นครั้งที่ 2 ที่จีนระงับการดำเนินงานของ 1 ในท่าเรือสำคัญของประเทศ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo