COVID-19

IMF ชี้เศรษฐกิจโลกโต ‘ลดลงเล็กน้อย’ ปีนี้

คริสตาลินา จอร์จีวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ  (IMF) ระบุว่าปัจจุบันกองทุนฯ คาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะเติบโต “ลดลงเล็กน้อย” ในปี 2021 เนื่องจากการฟื้นฟูอันสมดุล ในระดับโลกพบความเสี่ยงชัดเจนยิ่งขึ้น

“การฟื้นฟูระดับโลกยังไม่มั่นคง เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดใหญ่ และผลกระทบที่ตามมา เรายังไม่สามารถเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง เปรียบเหมือนมีก้อนหินอยู่ในรองเท้า” จอร์จีวา กล่าวปราศรัยทางออนไลน์ก่อนการประชุมประจำปีระหว่างกองทุนฯ และธนาคารโลก ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในสัปดาห์หน้า

“อุปสรรคเร่งด่วนที่สุดในตอนนี้คือ ความไม่เท่าเทียมทางวัคซีน มีหลายประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเพียงพอ ทำให้ประชาชนจำนวนมาก ไม่ได้รับการปกป้องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) และแต่ละประเทศมีศักยภาพสนับสนุนการฟื้นฟูและการลงทุนในอนาคตที่ไม่เท่ากัน” จอร์จีวา กล่าว

get 27 3 1

สหรัฐ และจีนยังคงเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันการเติบโตของหลายประเทศย่ำแย่ลง เนื่องจากเผชิญอุปสรรคด้านการเข้าถึงวัคซีน และนโยบายการรับมือที่พานพบขีดจำกัด

ผลผลิตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่ในปี 2022 แต่ประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาส่วนมากต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะฟื้นตัวได้ ทั้งยังประสบปัญหาอัตราเงินเฟ้อทั่วไปพุ่งสูง และแรงกดดันทางราคาที่หลายฝ่ายคาดว่าจะดำเนินต่อไป

“หนึ่งในข้อกังวลหลักเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อคือ ราคาอาหารทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นกว่า 30% ในช่วงปีที่ผ่านมา รวมถึงราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนเพิ่มแรงกดดันต่อครอบครัวที่ยากจน”

จอร์จีวากระตุ้นทุกประเทศเร่งกระบวนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้บรรลุเป้าหมายที่กองทุนฯ และสถาบันระหว่างประเทศอื่นๆ ได้กำหนดไว้ ซึ่งคือการฉีดวัคซีนให้อย่างน้อย 40% ของประชากรทุกประเทศภายในสิ้นปี 2021 และ 70% ภายในครึ่งแรกของปี 2022

“หากเราไม่บรรลุเป้าหมายนี้ ประชาชนส่วนมากของโลกจะยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งทำให้โศกนาฏกรรมของมนุษยชาติดำเนินต่อไปและฉุดรั้งการกระบวนการฟื้นฟู” จอร์จีวา กล่าว พร้อมเสริมว่าค่าความเสียหายของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ระดับโลกอาจสูงแตะ 5.3 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 179.88 ล้านล้านบาท) ในช่วง 5 ปีข้างหน้า

get 10 4 2 e1633522900558

กองทุนฯ จะเผยแพร่รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ฉบับใหม่ในสัปดาห์หน้า โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม กองทุนฯ คงตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2021 ไว้ที่  6% โดยแต่ละประเทศมีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันยิ่งขึ้น

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการบริหารของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาของมาตรการคุมภาระหนี้สินต่ออีก 6 เดือนเป็นรอบที่ 2 แก่ 28 ประเทศที่มีรายได้น้อย ท่ามกลางการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

แถลงการณ์จากไอเอ็มเอฟเมื่อวันจันทร์ (5 ต.ค.) ระบุว่า “มาตรการคุมภาระหนี้สินจะช่วยให้ประเทศเหล่านี้นำทรัพยากรทางการเงินที่แทบจะไม่เพียงพออยู่แล้วไปใช้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่สำคัญและการบรรเทาสถานการณ์อื่นๆ ขณะต่อสู้กับผลกระทบจากโรคระบาดใหญ่” พร้อมเสริมว่ามติครั้งนี้มีขึ้นหลังจากคณะกรรมการฯ อนุมัติมาตรการคุมภาระหนี้สิน ระยะ 6 เดือน รอบแรก เมื่อเดือนเมษายน ภายใต้โครงการกองทุนพื่อการควบคุมและบรรเทาหายนะ (CCRT)

การอนุมัติครั้งล่าสุดนี้จะช่วยให้สามารถเบิกเงินช่วยเหลือจากโครงการซีซีอาร์ที สำหรับการชำระหนี้สินที่มีกำหนดจ่ายคืนแก่ไอเอ็มเอฟระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม 2020 ถึงวันที่ 13 เมษายน 2021

ซึ่งคาดว่าจะคิดเป็นเงินราว 227 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 7 พันล้านบาท)

คริสตาลินา จอร์เจียวา กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ เผยผ่านทวิตเตอร์ว่า “ดิฉันภูมิใจที่ไอเอ็มเอฟเห็นชอบขยายระยะเวลาของมาตรการคุมภาระหนี้สินให้ 28 ประเทศยากจนที่สุดจนถึงเดือนเมษายนปีหน้า ซึ่งจะช่วยให้ประเทศเหล่านั้นสามารถจัดสรรเงินสนับสนุนเศรษฐกิจและประชาชนเพื่อผ่านพ้นวิกฤตนี้ และขอขอบคุณประเทศสมาชิกผู้มีส่วนสนับสนุนโครงการซีซีอาร์ที”

get 27 3 e1633522920268

จอร์เจียวาได้ออกมาตรการระดมทุนเร่งด่วน ซึ่งทำให้โครงการซีซีอาร์ทีสามารถจัดสรรเงินสนับสนุนการผ่อนผันชำระหนี้ได้สูงสุด 2 ปี พร้อมกับมีเงินทุนสำรองเพียงพอต่อความจำเป็นอื่นในอนาคต โดยไอเอ็มเอฟระบุว่าโครงการซีซีอาร์ทีต้องการเงินราว 1 พันล้านตามสิทธิพิเศษถอนเงิน (SDR – ราว 4.45 หมื่นล้านบาท) ซึ่งปัจจุบันมีผู้บริจาคเงินแล้ว 360 ล้านเอสดีอาร์ (ราว 1.6 หมื่นล้านบาท)

ที่มา: สำนักข่าวซินหัว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight