COVID-19

เฟดชี้ ‘การจ้างงาน’ ในสหรัฐยังไม่ฟื้น รอจนกว่าถึงปี 2023

จ้างงานในสหรัฐไม่ฟื้น “เฟด” ชี้อาจจะไม่ฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่ จนกว่าจะถึงปี 2023 คาดวัคซีนโควิด-19 เริ่มพร้อมใช้งานกลางถึงปลายปีหน้า

จ้างงานในสหรัฐไม่ฟื้น สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า แพทริก ฮาร์เกอร์ ประธานธนาคารกลางประจำนครฟิลาเดลเฟียของสหรัฐ เปิดเผยว่า แม้เศรษฐกิจสหรัฐจะกลับมาฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังเผชิญภาวะหดตัวครั้งใหญ่ในไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ของปีนี้ แต่การจ้างงานในสหรัฐ อาจจะไม่ฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่จนกว่าจะถึงปี 2023

“แนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจที่ผมพูดมานั้น ขึ้นอยู่กับอัตราผู้ป่วยใหม่ที่ลดลงอย่างมีเสถียรภาพ  อาจเป็นผลจากการสวมหน้ากากอนามัย อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะพื้นที่ในร่ม ทำให้การระบาดครั้งใหม่เกิดขึ้นเพียงประปราย” ฮาร์เกอร์กล่าว ระหว่างการประชุมออนไลน์ ที่จัดโดยการประชุมสถาบันการเงินและเงินตราทางการ (OMFIF)

“เราคาดว่าวัคซีนจะเริ่มพร้อมใช้งานเป็นวงกว้าง ในช่วงกลางถึงปลายปีหน้า แต่โรคโควิด-19 นั้นยังยากจะควบคุม” ฮาร์เกอร์ กล่าว พร้อมเสริมว่าทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับทิศทางการระบาดของโรค

ฮาร์เกอร์ ชี้ว่าแม้เศรษฐกิจจะยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และสามารถหลีกเลี่ยงการระบาดรอบใหม่ได้ แต่หลายภาคธุรกิจอย่างการท่องเที่ยว และการบริการจะยังคงซบเซาไปอีกนาน ฉุดให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และการเติบโตของการจ้างงานโดยรวมลดลงตามไปด้วย

จ้างงานในสหรัฐไม่ฟื้น

“โชคร้ายที่การจ้างงานอาจไม่กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่จนกว่าจะถึงปี 2023” ฮาร์เกอร์กล่าว พร้อมเรียกร้องฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐ  พิจารณาการสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติมในเร็ววัน เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคโควิด-19

“เนื่องจากสหรัฐ ไร้ความสามารถควบคุมไวรัส ทำให้ยอดผู้ป่วยเสียชีวิตในประเทศครองสัดส่วนราว 21% ของยอดผู้ป่วยเสียชีวิตทั่วโลก แม้ประชากรของประเทศจะครองสัดส่วนเพียง 4% ของประชากรโลกก็ตาม” ฮาร์เกอร์ กล่าว

ทั้งนี้ ฮาร์เกอร์ ออกมาแสดงความคิดเห็นหลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเดโมแครต เปิดเผยมาตรการเยียวยาโรคโควิด-19 มูลค่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 69 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นความพยายามกดดันทำเนียบขาวและพรรครีพับลิกันบรรลุข้อตกลงดังกล่าวก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน

จ้างงานในสหรัฐไม่ฟื้น หลายธุรกิจปลดคน

ด้านแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ  และมาร์ก มีโดวส์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ต่างแสดงความหวังว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาโรคโควิด-19 หลังการเจรจาที่หยุดชะงักกลับมาดำเนินการต่ออีกครั้ง

ขณะที่การจ้างงานในสหรัฐเมื่อเร็วๆนี้ สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า นายจอช ดามาโร ประธานกรรมการบริหารดิสนีย์ พาร์ก ได้ส่งบันทึกภายในถึงพนักงาน แจ้งให้ทราบถึงการตัดสินใจเลิกจ้างดังกล่าว  ในกลุ่มธุรกิจ Parks, Experiences and Products  โดยระบุว่า บริษัทต้องดำเนินการตัดสินใจอย่างยากลำบากในหลายๆ ด้าน ในช่วงเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึง ยุติการจ้างงานพนักงานเป็นจำนวนมากราว 67% ของพนักงานที่ดิสนีย์วางแผนจะเลิกจ้างทั้งหมด 28,000 คนนั้น เป็นพนักงานชั่วคราว (พาร์ทไทม์) ซึ่งนายดามาโร ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดถึงการเลิกจ้างแบบแยกเป็นรายสวนสนุก

จ้างงานในสหรัฐไม่ฟื้น

“การตัดสินใจเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายหนัก ซึ่งทุกคนคงนึกภาพออก โดยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คณะบริหารของเราพยายามทำงานอย่างหนัก เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้องมีใครสักคนเดินจากไป เราลดค่าใช้จ่าย ระงับโครงการต่างๆ และปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของเราให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เราก็ยังไม่สามารถที่จะรักษาพนักงานทั้งหมดเอาไว้ได้ ในช่วงเวลาที่ยังทำธุรกิจได้อย่างจำกัด”

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจ Parks, Experiences and Products ถือเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับธุรกิจของดิสนีย์ โดยเมื่อปีที่แล้ว ทำรายได้คิดเป็นสัดส่วน 37% ของรายได้โดยรวมของบริษัทที่ 69,600 ล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ดี พนักงานที่ถูกเลิกจ้าง 2 ใน 3 จะได้รับการว่าจ้างพนักงานชั่วคราว โดยในรายงานของดิสนีย์ พาร์ก ระบุด้วยว่า การที่ทางการรัฐแคลิฟอร์เนียยังไม่อนุญาตให้ดิสนีย์แลนด์ ที่เมืองแอนาไฮม์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาใหญ่ที่สุดของดิสนีย์ พาร์ก กลับมาเปิดดำเนินการได้ “มีผลอย่างมาก” ต่อการตัดสินใจเลิกจ้างครั้งนี้

นายดามาโร บอกด้วยว่าผู้บริหารต่างเสนอแนวทางการป้องกันต่างๆ ให้กับทางการรัฐแคลิฟอร์เนีย เช่นเดียวกับ สวนสนุกของดิสนีย์ ในฟลอริดา ปารีส เซี่ยงไฮ้ ญี่ปุ่น และ ฮ่องกง จนสามารถกลับมาเปิดได้ แม้จะมีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวก็ตาม แต่ก็ดูเหมือนจะไม่มากพอ ที่จะทำให้สวนสนุกในแคลิฟอร์เนีย กลับมาเปิดได้อีกครั้ง

ก่อนหน้านี้ ดิสนีย์ได้สั่งปิดสวนสนุกทั่วโลกในช่วงที่โรคโควิด-19 เริ่มระบาด ก่อนจะกลับมาทยอยเปิดให้บริการอีกครั้งในบางแห่ง โดยจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และนำมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดต่างๆ เข้ามาใช้  เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การสั่งอาหารทางออนไลน์ และจ่ายเงินทางออนไลน์ เพื่อเป็นการรักษาระยะห่าง

ขณะที่ซีเอ็นเอ็น รายงานอ้างการเปิดเผย ของเชนร้านอาหารอายุ 62 ปีแห่งนี้ว่า บริษัทต้องยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์สิน ภายใต้มาตรา 11 เพราะว่า “โควิด-19” ที่ทำให้บริษัทต้องปิดให้บริการร้านอาหารต่างๆ ชั่วคราว และยังมีปัญหาในเรื่องการจ่ายค่าเช่าที่ด้วย

จ้างงานในสหรัฐไม่ฟื้น

การยื่นล้มละลายดังกล่าว จำกัดเฉพาะร้านซิซซ์เล่อร์ 14 สาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของในสหรัฐเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในต่างประเทศ หรือร้านที่ขายแฟรนไชส์ออกไป ที่ปัจจุบันมีอยู่มากกว่า 90 สาขาทั่วสหรัฐ

ซิซซ์เล่อร์ อธิบายด้วยว่า บริษัทใช้กระบวนการล้มละลายนี้ เพื่อลดปริมาณหนี้ และเปิดเจรจาต่อรองราคาค่าเช่าใหม่

“สถานการณ์ทางการเงินของเราในปัจจุบัน เป็นบทสรุปโดยตรง จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เพราะต้องปิดร้านอาหาร ไม่ให้ผู้คนเข้ามานั่งกินภายในร้านเป็นเวลานาน ทั้งเจ้าของที่ดิน ก็ยังปฏิเสธที่จะลดหย่อนค่าเช่าลงมา”

บริษัทตั้งเป้าว่า จะออกจากกระบวนการล้มละลายให้ได้ภายใน 120 วัน โดยในระหว่างนี้ ร้านสาขาที่เป็นของบริษัท ก็จะยังให้บริการต่อไปเหมือนเดิม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight