COVID-19

ชี้ ‘อาเซียน’ ต้องดิ้นรนหนัก ดันเศรษฐกิจโต อุตฯ ท่องเที่ยวดิ่ง ฉุด ‘ไทย’ รุนแรง

“โนมูระ” มองสถานการณ์ เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้เกือบทุกประเทศต้องดิ้นรนอย่างมาก เพื่อการเติบโต แม้ว่าบางชาติ จะประสบความสำเร็จ ในการควบคุมการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ตาม

นายยูเบน ปารากัวเยส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาเซียน ของโนมูระ กลุ่มสถาบันการเงินชั้นนำของญี่ปุ่น แสดงความเห็นว่า บางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบความสำเร็จ ในการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ภาวะไร้เสถียรภาพ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“โดยทั่วไปแล้ว สำหรับภูมิภาคนี้ การฟื้นตัวอย่างดีที่สุด อาจจะอยู่ในรูปของตัวยู (U) เพราะยังมีความไม่แน่นอนอยู่อย่างมาก และผมคิดว่า ความเสี่ยงต่างๆ ยังคงเอนเอียงไปในด้านลบ”

ตามปกติแล้ว การฟื้นตัวในรูปตัวยูนั้น จะหมายความถึงการที่เศรษฐกิจต้องใช้เวลาที่ยาวนานขึ้น กว่าจะพ้นจากจุดต่ำสุดของภาวะถดถอย ก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

นายปารากัวเยส ซึ่งให้สัมภาษณ์ในรายการ “สตรีท ไซน์ส เอเชีย” ของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี ยังบอกว่า แม้ดูเหมือนว่าไทย จะประสบความสำเร็จด้านการควบคุมไวรัสโควิด-19 ได้

แต่เศรษฐกิจไทย ยังต้องเผชิญกับ “แรงฉุดครั้งใหญ่” จากภาวะซบเซาในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งผลกระทบในเรื่องนี้ มีแนวโน้มที่จะเกาะติดไปตลอด จนกว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมชายแดน หรือมีวัคซีนออกสู่ตลาด ซึ่งจะทำให้ผู้คนสามารถเดินทางได้อีกครั้ง

เมื่อเดือนที่แล้ว ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้า และการพัฒนา (อังค์ถัด) เปิดเผยรายงาน ที่ระบุว่า ไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากสุด จากการสูญเสียนักท่องเที่ยว

หากมองในแง่ดีที่สุดแล้วนั้น ไทยอาจมีมูลค่าความเสียหายราว 47,700 ล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)

นายปารากัวเยส บอกด้วยว่า ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่นั้น กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของไทย มีอยู่อย่างเดียวคือ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมเกี่ยวข้อง

“เมื่อคุณเอามันออกไปแล้ว ก็จะเหลือเครื่องมืออยู่อีกไม่กี่อย่าง ที่จะช่วยหนุนเศรษฐกิจได้จริงๆ”

เมื่อเดือนที่แล้ว ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้า และการพัฒนา (อังค์ถัด) เปิดเผยรายงาน ที่ระบุว่า ไทย เป็นหนึ่งในประเทศ ที่อาจได้รับผลกระทบ ทางเศรษฐกิจมากสุด จากการสูญเสียนักท่องเที่ยว

หากมองในแง่ดีที่สุดแล้วนั้น ไทยอาจมีมูลค่า ความเสียหายราว 47,700 ล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)

เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นายปารากัวเยส บอกด้วยว่า ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่นั้น กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของไทย มีอยู่อย่างเดียวคือ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมเกี่ยวข้อง

“เมื่อคุณเอามันออกไปแล้ว ก็จะเหลือเครื่องมืออยู่อีกไม่กี่อย่าง ที่จะช่วยหนุนเศรษฐกิจได้จริงๆ ”

ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ออกมาระบุ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะลดลงไปติดลบ 8%  โดยมองว่า ยังมีความเสี่ยงด้านต่ำ ที่เศรษฐกิจ ยังเผชิญแรงกดดันอยู่ ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสโควิด-19 จะกลับมาระบาดรอบ 2 ในประเทศ ที่ยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ได้เพิ่มเติม

อย่างไรก็ดี ธปท.มองว่าเศรษฐกิจไทย ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ในไตรมาส 2/63 และจะค่อยๆ ดีขึ้น ในช่วง 2 ไตรมาส ที่เหลือของปีนี้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยง ที่จะเกิดจากการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบ 2 เพราะยังไม่รู้ว่า ถ้ามาอีกรอบ จะมาเป็นขนาดเล็ก หรือใหญ่

ขณะเดียวกัน สิงคโปร์ ก็ได้ผ่อนคลาย มาตรการล็อกดาวน์บางส่วน มานานกว่า 1 เดือนแล้ว แต่การระบาดรอบใหม่ ของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก อาจกลายเป็นภัยคุกคาม  ต่อความต้องการบริการ และสินค้า ของสิงคโปร์ในต่างประเทศ

ส่วนอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ 2 ประเทศ ที่มีประชากรมากสุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ยังคงประสบความยากลำบาก ในการควบคุม การแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19  โดยเป็นเพียง 2 ประเทศ ในภูมิภาคนี้ ที่่มียอดสะสมผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่งเกิน 100,000 คน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo