COVID-19

‘สุรเกียรติ์’ แนะจับคู่ความต่าง ดันอาเซียน ‘ศูนย์กลางอาหาร-การแพทย์’ หลังยุค ‘โควิด-19’

หนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ ของสิงคโปร์ ฉบับวันนี้ (6 พ.ค.) ตีพิมพ์บทความแสดงความคิดเห็นของ ศ.พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในหัวข้อ “Challenges and opportunities for S-E Asia in post-Covid-19 world” หรือ “ความท้าทายต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในโลกหลังยุคโควิด-19” โดยชี้ว่า วิกฤติที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

HON 0331

แต่การระบาดครั้งใหญ่นี้ ยังมีโอกาสที่จะสร้างความได้เปรียบให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ สิ่งที่จำเป็นคือ ความร่วมมือ และความต้องการที่จะปรับตัว

ศ.พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ ขึ้นต้นบทความว่า “โลกที่เรารู้จักจะไม่เหมือนเดิมอีกตลอดไป” พร้อมให้รายละเอียดว่า โลกจะสามารถควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เอาไว้ได้ แต่การระบาดนี้ จะทิ้งแผลเป็นเอาไว้ทั้งต่อภาคธุรกิจ และต่อวิธีการบริหารจัดการของรัฐบาล

สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น การระบาดของไวรัสโควิด-19 จะทำให้เกิดประเด็น และแนวโน้มสำคัญบางอย่างขึ้นในอนาคต ซึ่งบรรดาผู้นำในภูมิภาคจำเป็นต้องระมัดระวัง และหาทางแก้ไข ถ้าต้องการที่จะเอาชนะความท้าทายต่างๆ ที่รออยู่

ความมั่นคงด้านอาหาร และสุขภาพ

ความมั่นคงด้านอาหาร และสุขภาพ จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในทุกเวทีระหว่างประเทศ ที่มีการกำหนดนโยบาย และแผนการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นที่ประชุมผู้นำอาเซียน การเจรจากับชาติพันธมิตร การประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย แปซิฟิค หรือ การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก

ประเด็นเรื่องความปลอดภัย และความมั่นคงทางอาการ รวมถึง เทคโนโลยีทางการแพทย์ และความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้านการจัดหาต่างๆ จะกลายมาเป็นหัวข้อที่ถูกหยิบขึ้นมาพูดถึงในที่ประชุมของกลุ่มอาเซียนเช่นกัน

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังจะกระตุ้นให้สถาบันวิชาการในภูมิภาคทำงานร่วมกัน เพื่อผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดต่างๆ เช่น ห้องแรงดันลบ หน้ากากอนามัย หรือหุ่นยนต์ขนส่ง ทั้งโรคระบาดนี้ ยังส่งผลกระทบด้านบวกในการเร่งให้เกิดเทคโนโลยีท้องถิ่นในด้านนี้อย่างรวดเร็ว รวมถึงความร่วมมือด้วย อาทิ การร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรม กับการแพทย์ และระหว่างสถาบันวิชาการ กับภาคเอกชน

เรื่องเหล่านี้ จะผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่รัฐบาลประเทศต่างๆ มีแนวโน้มที่จะได้รับบทเรียนสำคัญ จากความเจ็บปวดของการล็อกดาวน์ และการหยุดชะงักของการจัดหา อันจะทำให้เกิดการหันมามุ่งเน้นถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจท้องถิ่น และหาทางพึ่งพาตัวเองในหลายด้าน อย่างเช่น อาหาร และสุขภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนขึ้น หากเกิดวิกฤติขึ้นในอนาคต

จับคู่ความต่าง

แม้ความรู้สึกดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ก็จะเป็นสิ่งที่ฉลาดยิ่งขึ้นไปอีกสำหรับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคนี้ ถ้าจะร่วมมือกันสร้างความแแข็งแกร่งให้กับความั่นคงทางอาหาร และสุขภาพ

ตัวอย่างเช่น ไทย ที่ผลิตอาหารได้จำนวนมหาศาล และสิงคโปร์ ที่มีเทคโนโลยี และการบริหารจัดการที่ก้าวหน้า ควรร่วมมือกันยกระดับความมั่นคงด้านอาหาร และสุขภาพ ให้กับทั้ง 2 ประเทศ และในภูมิภาค

ประเทศที่มีความได้เปรียบที่แตกต่างกันในอาเซียน สามารถจับคู่กัน เพื่อร่วมมือกันในหลายๆ ด้าน ผลักดันทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นศูนย์กลางความมั่นคงทางอาหาร และสุขภาพ

asean

ระวังชาตินิยม

อย่างไรก็ดี ศ.พิเศษ ดร.สุรเกียรติ เตือนว่า แม้ชาติสมาชิกอาเซียนยังคงมีการติดต่อใกล้ชิดกันดี แต่ชาติสมาชิกแต่ละประเทศต่างดำเนินการรับมือกับวิกฤติโควิด-19 ด้วยวิธีของตัวเอง เช่น บางประเทศปิดพรมแดน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่ได้ทำ หรือบางประเทศปิดเมือง โดยที่ประเทศอื่นไม่ได้ทำด้วย และบางประเทศก็ห้ามการเดินทางข้ามชาติ ขณะที่อีกหลายประเทศไม่ได้ใช้วิธีนี้

นอกจากนี้ โควิด-19 ยังทำให้เกิดกระแสชาตินิยมเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งแม้จะไม่ใช่เรื่องผิดที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการอยู่รอดของประเทศตัวเองก่อนในช่วงเวลาที่เกิดวิกดฤติเช่นนี้ แต่ข้อเท็จจริงก็คื ความร่วมมือระหว่างประเทศ กำลังโดนผลักให้ห่างออกไป ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงความซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นในโลกยุคหลังโควิด-19

ในกรณีนี้ เราจะต้องตอกย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อต่อสู้กับโรคระบาด จะต้องใช้บทบาทของพหุภาคีเข้ามาต่อสู้กับเชื้อโรคที่สามารถกระจายไปอย่างไร้เขตแดน

เศรษฐกิจโลก

รัฐบาลประเทศต่างๆ กำลังพยายามหาสมดุลที่ถูกต้องระหว่างนโยบายสาธารณสุข และเศรษฐกิจอยู่ เพราะหากจัดการไม่ดี ก็เสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบที่มากเกินกว่าจะรับได้ ทั้งต่อประชาชน และภาคธุรกิจ

ในอนาคต ยังอาจเห็นประเทศต่างๆ ต้องดิ้นรนอััดฉีดเงิน เพื่อให้มาตรการด้านการเงิน และการคลัง ที่ประกาศใช้ เพื่อสู้กับไวรัสโควิด-19 สามารถเดินหน้าต่อไปได้

การขึ้นภาษี เป็นหนึ่งในตัวเลือก แต่ความท้าทายสำหรับเรื่องนี้ อยู่ตรงที่ว่า จะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้เพิ่มภาระต่อกลุ่มคนยากจน คนที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการ และกลุ่มคนตกงาน

Avatar photo