COVID-19

WHO ชี้ ‘ไร้การบริจาค’ โครงการ ‘รับมือโควิด’ ทั่วโลกสะดุด

WHO ชี้ ไร้การบริจาค ได้เงินแค่ 5% จากที่ตั้งไว้ 16.8 พันล้านดอลลาร์ โครงการรับมือโควิดทั่วโลกสะดุด แต่ต้องทำต่อโดยที่ไม่รู้ว่าจะล้มลงเมื่อใด เรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยช่วยแบ่งปัน

องค์การอนามัยโลกและกลุ่มให้ความช่วยเหลือต่างๆ ออกมาระบุว่า โครงการริเริ่มระดับโลกในการทดสอบ การรักษา และจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประเทศยากจน ได้รับเงินบริจาคเพียง 5% ของเงินบริจาคที่ตั้งเป้าว่าจะพยายามจะส่งมอบในปีนี้

โครงการเร่งให้มีการเข้าถึงเครื่องมือต่างๆ ของโควิด-19 (Access to COVID-19 Tools Accelerator – เอซีที) ต้องใช้งบประมาณ 23.4 พันล้านดอลลาร์ สำหรับการดำเนินการในเดือนตุลาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 ภายใต้ความคาดหวังว่าเงิน 16.8 พันล้านดอลลาร์จะมาในรูปของเงินช่วยเหลือจากประเทศที่ร่ำรวย

รับมือโควิด

อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้เพิ่งได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะให้เพียง 814 ล้านดอลลาร์เท่านั้น  โดยนอกจากองค์การอนามัยโลกแล้ว โครงการดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ รวมถึง Coalition for Epidemic Preparedness Innovations, The Global Fund และ Bill & Melinda Gates Foundation ด้วย

บริจาคน้อย ได้แค่ 5% 

นายกอร์ดอน บราวน์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นเอกอัครราชทูตโลก สำหรับการหาหางบประมาณ เพื่อสนับสนุนด้านดำเนินการด้านสาธารณสุขององค์การอนามัยโลก และอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า จำนวนเงินดังกล่าวคิดเป็นเป็นสัดส่วนเพียง 5% ที่มีการร้องขอไปเท่านั้น ซึ่งว่าเล็กน้อยมากจากจำนวนที่ต้องการ และว่ามันถึงเวลาที่ต้องปลุกจิตสำนึกของโลกต่อเรื่องนี้

บราวน์เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ให้ทุนสนับสนุนเงินทุนให้กับโครงการ ภายใต้รูปแบบของการแบ่งปันที่ยุติธรรม โดยพิจารณาจากขนาดของเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ คล้ายกับที่ชาติต่างๆ ให้คำมั่นในการให้สนับสนุนเงินแก่กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ

รับมือโควิด
นายกอร์ดอน บราวน์

โครงการเอซีทียังครอบคลุมข้อริเริ่มในการแบ่งปันวัคซีน ภายใต้โครงการโคแวกซ์ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงการจัดหาชุดตรวจทดสอบและการรักษา ให้กับประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง ตลอดจนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (พีพีอี) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

งบไม่พอ รับมือโควิดทั่วโลก สะดุด

บรูซ ไอล์วาร์ด เจ้าหน้าที่อาวุโสขององค์การอนามัยโลก ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในข้อริเริ่มดังกล่าว กล่าวว่า การดำเนินการต่างๆ ติดขัดเนื่องจากขาดเงินทุน ทำให้การตอบสนองต่อโควิดทั่วโลกต้องทำต่อไป ทั้งๆ ที่ไม่เหลือแรง และไม่รู้ว่าจะสะดุดล้มลงเมื่อใด

การขาดเงินทุนเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาด โดยช่องว่างด้านงบประมาณของโครงการก่อนหน้านี้ อยู่ที่ 14.5 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เงินส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้สำหรับวัคซีนโควิด-19 ซึ่งทำให้เป้าหมายอื่นๆ ตั้งแต่การตรวจสอบ รักษา และการจัดหาชุดพีพีอีขาดแคลนงบประมาณ

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า เป้าหมายในการส่งมอบวัคซีนโควิด 2 พันล้านโดสในปี 2564 ยังคงห่างไกล โดยมีเพียง 10% ของคนในประเทศที่มีรายได้ต่ำ ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส เมื่อเทียบกับประเทศร่ำรวย ที่ตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่เกือบ 68%

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo