World News

นักธรณีวิทยาออสเตรเลีย เตือนอาจเกิด ‘ภูเขาไฟระเบิด’ ต่อเนื่อง

นักธรณีวิทยาชั้นนำของออสเตรเลีย คาดการณ์ว่า การระเบิดครั้งใหญ่ ของภูเขาไฟใต้ทะเลนอกชายฝั่งตองกา เมื่อวันเสาร์ (15 ม.ค.) อาจนำไปสู่การระเบิดอย่างต่อเนื่อง ของภูเขาไฟ ขณะสถานีวิทยุเรดิโอ นิวซีแลนด์ เหตุภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิดใน “ตองกา” ดับ 2 ราย 

การปะทุของภูเขาไฟฮังกา ตองกา-ฮังกา ฮายาไป (Hunga Tonga-Hunga Ha’apai) ทำให้เกิดสึนามิ ซัดถล่มกรุงนูกูอาโลฟา เมืองหลวงของตองกา รวมถึงคลื่นขนาดใหญ่พัดขึ้นชายฝั่งภูมิภาคแปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และฮาวาย

โอลิเวอร์ เนเบล รองศาสตราจารย์ด้านธรณีเคมีจากมหาวิทยาลัยโมนาช กล่าวกับ สำนักข่าวซินหัว ว่าภัยพิบัติครั้งนี้เกิดจากภูเขาไฟ ที่ตั้งอยู่ใกล้ขอบแผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่ง โดยเมื่อเวลาล่วงเลยไป แผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งสามารถ “ชน” กับอีกแผ่นหนึ่งได้ ซึ่งทำให้เกิดการปะทุของภูเขาไฟตามแนว “วงแหวนแห่งไฟ” ที่ระเบิดบ่อยครั้งอยู่แล้ว

“การปะทุครั้งล่าสุดของภูเขาไฟลูกนี้ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อน จึงถึงเวลาปะทุใหญ่ และนี่อาจเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น” เนเบลกล่าว พร้อมเสริมว่าการปะทุของภูเขาไฟนอกชายฝั่งตองกาถูกตรวจพบช่วงคริสต์มาส ซึ่งเป็นสัญญาณว่ามีแรงดันก่อตัวขึ้นตามขอบแผ่นเปลือกโลกที่เปราะบาง โดยหินหนืดร้อนสะสมตัวต่อเนื่องในภูเขาไฟ และคาดว่าจะสร้างเถ้าถ่านจำนวนมากและอาจเกิดการปะทุที่รุนแรงพอควร

ภูเขาไฟสร้างแหล่งกักเก็บหินหนืดร้อนใต้ดินเหล่านั้น และเมื่อแหล่งกักเก็บเหล่านี้ว่างเปล่า จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการปะทุขึ้น โดยเมื่อหินหนืดร้อนเคลื่อนตัวออกจากใต้ภูเขาไฟแล้ว ก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดการการปะทุขึ้นอีกเรื่อยๆ แต่เมื่อเกิดการปะทุที่รุนแรงแล้ว การปะทุครั้งถัดไปก็ไม่น่ารุนแรง เนื่องจากหินหนืดร้อนปริมาณมากได้ปะทุออกมาแล้ว ทว่ายังคงไม่เป็นกระบวนการที่สามารถคาดการณ์ได้อย่างชัดเจนว่าจะระเบิดเมื่อใด โดยเฉพาะปัจจุบันที่ยังขาดแคลนข้อมูล

นักธรณีวิทยาออสเตรเลียเตือนอาจเกิด ภูเขาไฟระเบิด ต่อเนื่อง1 e1642525486468

“ขณะนี้เรามีข้อมูลไม่มาก สถานีส่วนใหญ่บนภูเขาไฟอาจถูกทำลาย และแม้เราจะมีข้อมูลดาวเทียม แต่ก็ต้องมีการวัดผลอื่นๆ ในพื้นที่ด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเดินทางไปที่ภูเขาไฟ และหากไม่มีข้อมูลก็เป็นเรื่องยากที่จะประเมินดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟหรือระดับความรุนแรง ณ ที่เกิดได้”

เนเบลกล่าวว่า สึนามิเป็นภัยอันตรายใหญ่ที่สุดของการปะทุใต้น้ำดังกล่าว โดยสึนามิ เมื่อวันเสาร์ (15 ม.ค.) เกิดจากการเคลื่อนตัวของมวลน้ำผ่านแรงดันของวัตถุส่วนลึกใต้พื้นโลกสู่มหาสมุทร และการจมของภูเขาไฟเนื่องจากการเคลื่อนที่ของลาวาด้านล่าง

นอกจากนั้น เนเบลเสริมว่า ระหว่างการปะทุ “ลาวาได้ระเบิดเป็นอนุภาคเล็กๆ ที่ก่อตัวเป็นเถ้าภูเขาไฟ และปฏิกิริยาระหว่างลาวากับน้ำทะเลที่เยือกเย็นจะทำให้ปริมาณเถ้าถ่านรุนแรงขึ้น โดยเถ้าภูเขาไฟนี้ยังทำให้การจราจรทางอากาศต้องหยุดชะงัก เนื่องจากเถ้าภูเขาไฟเป็นอนุภาคเล็กๆ ของหิน ที่แตกต่างกับเถ้าถ่านที่เกิดจากไฟป่า”

เนเบลกล่าวว่า สำหรับตอนนี้สิ่งสำคัญคือการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยหนึ่งสิ่งสำคัญคือการซ่อมแซมสายเคเบิลสื่อสารใต้ทะเลของตองกาที่ถูกตัดขาดระหว่างการปะทุ ซึ่งอาจใช้เวลาซ่อมแซมนานกว่าปกติ และทำให้ผู้อยู่อาศัยในตองกาอาจถูกตัดขาดการสื่อสารกับโลกภายนอก

TONGA NEW ZEALAND AERIAL PHOTO 01 e1642525286387

สถานีวิทยุเรดิโอ นิวซีแลนด์ (RNZ) และกระทรวงต่างประเทศและการค้านิวซีแลนด์ ยืนยันการพบผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย จากเหตุภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อวันเสาร์ (15 ม.ค.) บริเวณเกาะฮังกา-ฮายาไป ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงนูกูอาโลฟาของตองกาไปทางเหนือราว 65 กิโลเมตร

หนึ่งในผู้เสียชีวิตข้างต้น เป็นชาวสหราชอาณาจักรชื่อว่า แองเจลา โกลเวอร์ โดยได้รับแจ้งจากครอบครัวของเธอและคาดว่าเธอเสียชีวิตขณะพยายามช่วยสุนัขที่มูลนิธิสัตว์ซึ่งเธอเป็นผู้ดำเนินการ

ตำรวจตองกาได้แจ้งไปยังสถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ในกรุงนูกูอาโลฟา ว่ายอดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันแล้วอยู่ที่ 2 ราย ทว่ายังคงไม่ทราบจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บที่แน่ชัดเนื่องจากระบบการสื่อสารในตองกาถูกตัดขาด

ขณะเดียว กันมีรายงานระบุว่าตองกา ได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง และคาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้น โดยเคอร์ติส ทุยฮาลังกิงกี รองหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตในออสเตรเลียของตองกา ระบุว่าภาพที่ถ่ายโดยเที่ยวบินลาดตระเวนของกองทัพนิวซีแลนด์ แสดงให้เห็นว่าหมู่บ้านบนเกาะแมงโกถูกทำลายทั้งหมู่บ้าน รวมถึงอาคารจำนวนมากบนเกาะอะตาตาที่อยู่ใกล้เคียงถูกคลื่นซัดหายไป

มีรายงานว่าชายฝั่งตะวันตกของเกาะตองกาตาปู ซึ่งเป็นเกาะหลักของตองกา เผชิญความเสียหายร้ายแรง โดยมีการประกาศภาวะฉุกเฉินแล้ว

เมื่อช่วงบ่ายวันอังคาร (18 ม.ค.) เรือเดินสมุทรของนิวซีแลนด์จำนวน 2 ลำ ซึ่งบรรทุกน้ำจืด สิ่งของช่วยเหลือฉุกเฉิน และทีมนักดำน้ำ เดินทางไปยังตองกาเพื่อให้ความช่วยเหลือ

อนึ่ง เมื่อวันศุกร์และวันเสาร์ (14-15 ม.ค.) ภูเขาไฟฮังกา ตองกา-ฮังกา ฮายาไป (The Hunga Tonga-Hunga Ha’apai) ปะทุขึ้นอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาในตองกา

ภูเขาไฟดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้งตองกา-เคอร์มาเด็กที่มีพลังสูง และเป็นเขตมุดตัวของเปลือกโลกที่ทอดยาวจากทางตอนเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือของนิวซีแลนด์ไปยังฟิจิ โดยภูเขาไฟนี้เกิดการปะทุหลายครั้งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ที่มา:สำนักข่าวซินหัว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight