World News

เปิดรายละเอียด ‘ไทย’ คว้าอันดับ 5 โลก ‘ความมั่นคงสุขภาพ’ รั้งที่ 1 เอเชีย ‘เฝ้าระวัง-ตรวจจับโรค’

เปิดอันดับดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพ “จีเอชเอส อินเด็กซ์” พบ ไทยได้คะแนนรวม 68.2 คะแนน ติดอันดับ 5 ความมั่นคงด้านสุขภาพมากสุดของโลก จากการจัดอันดับทั้งหมด 195 ประเทศ รั้งอันดับ 1 ในเอเชีย ด้านการเฝ้าระวัง ตรวจจับโรค และระบบติดตามผู้ป่วย 

ศูนย์ความมั่นคงด้านสุขภาพ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพกินส์ ของสหรัฐ จัดอันดับดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก “จีเอชเอส อินเด็กซ์” (GHS Index) ประจำปี 2564 ซึ่งร่วมกับ โครงการริเริ่มภัยคุกคามนิวเคลียร์ (Nuclear Threat Initative) องค์กรไม่หวังผลกำไร ที่มุ่งเน้นไปยัง การลดภัยคุกคามทางนิวเคลียร์ และชีวภาพที่คุกคามมนุษยชาติ และ ดิ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (The Economist Intelligence Unit-EIU) หน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจของนิตยสารดิ อิโคโนมิสต์ โดยไทยติดอยู่ในอันดับ 5 จากการจัดอันดับทั้งหมด 195 ประเทศ

a333333

10 ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน 

  1. สหรัฐอเมริกา 79.5 คะแนน
  2. ออสเตรเลีย 71.1 คะแนน
  3. ฟินแลนด์ 70.9 คะแนน
  4. แคนาดา 69.8 คะแนน
  5. ไทย 68.2 คะแนน
  6. สโลวาเนีย 67.8 คะแนน
  7. สหราชอาณาจักร 67.2%
  8. เยอรมนี 65.5 คะแนน
  9. เกาหลีใต้ 65.4 คะแนน
  10. สวีเดน 64.9 คะแนน

ทั้งนี้ การประเมินจะวิเคราะห์ผลจาก 37 ตัวชี้วัด ที่อยู่ใน 6 หมวดหมู่ โดยไทย ได้คะแนนรวมความมั่นคงด้านสุขภาพ 68.2 คะแนน เป็นคะแนนสูงสุดอันดับที่ 5 ของโลก แม้ว่าจะขยับอันดับสูงขึ้นจากปี 2562 ที่อยู่อันดับที่ 6 แต่คะแนนรวมลดลง 0.7 คะแนน

g1

 ไทยยังเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชีย ในกลุ่มที่มีประชากร 50-100 ล้านคน และกลุ่มประเทศรายได้สูง

เมื่อแบ่งตาม 6 ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ พบว่า ไทยได้คะแนนสูงสุดในโลก ด้านการเฝ้าระวัง ตรวจจับโรค และระบบติดตามผู้ป่วย ที่ 91.5 คะแนน

ขณะที่ คะแนนด้านการป้องกันการแพร่ระบาดอยู่ที่ 59.7 คะแนน การรับมือต่อการแพร่ระบาด 67.3 คะแนน ระบบสาธารณสุข 64.7 คะแนน การปฏิบัติตามมาตรฐานสากล 68.9 คะแนน และการจัดการกับความเสี่ยงด้านการเมือง/เศรษฐกิจ/สังคม 57.2 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกทั้งหมด

คะแนนด้านการป้องกันการแพร่ระบาดในปี 2564 ลดลงจากปี 2562 โดยเฉลี่ย 4.2 คะแนน แบ่งเป็น คะแนนการป้องกันการดื้อยาของเชื้อโรค (AMR) โรคที่ติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ความปลอดภัยทางชีวภาพ จริยธรรมด้านการวิจัย เทียบเท่าปี 2562

แต่คะแนนด้านการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนลดลง 25 คะแนน เหลือ 75 คะแนน จาก 100 คะแนนเต็ม

คะแนนด้านการตรวจจับโรค และระบบติดตามผู้ป่วย เพิ่มขึ้นจากเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการจัดอันดับครั้งแรก โดยเฉลี่ย 8.3 คะแนน แบ่งเป็น คะแนนประสิทธิภาพของห้องปฏิบัติการ การจัดการห่วงโซ่อุปทานของห้องปฏิบัติการ การเข้าถึงข้อมูลการเฝ้าระวัง และการมีบุคลากรด้านระบาดวิทยา เทียบเท่าปี 2562 แต่คะแนนการรายงานการเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น 25 คะแนน ได้รับ 100 คะแนนเต็ม และคะแนนการสอบสวนโรคเพิ่มขึ้น 25 คะแนน รวมเป็น 75 คะแนน

คะแนนด้านการรับมือกับการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ลดลงโดยเฉลี่ย 11.3 คะแนน แบ่งเป็น คะแนนการวางแผนเตรียมความพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน การวางแผนการออกกำลังกาย การอนุมัตินโยบายฉุกเฉิน การเชื่อมโยงด้านสาธารณสุขและความมั่นคง และการสื่อสารจัดการความเสี่ยง เทียบเท่าปี 2562

คะแนนการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารลดลง 3.8 คะแนน เหลือ 79.7 คะแนน และคะแนนการจำกัดการเดินทางลดลงเหลือ 0 คะแนน

a2 3

คะแนนระบบสาธารณสุขเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.4 คะแนน แบ่งเป็น คะแนนการบริหารจ้ดการระบบสุขภาพและบุคลากรการแพทย์ มาตรการทางการแพทย์และการปรับใช้บุคคลากร การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสื่อสารกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ความสามารถในการทดสอบและอนุมัติมาตรการรับมือทางการแพทย์ใหม่ เทียบเท่าปี 2562 แต่คะแนนความสามารถด้านสุขภาพของคลินิก โรงพยาบาล และศูนย์ดูแลชุมชนเพิ่มขึ้น 16.6 คะแนน รวมเป็น 56.2 คะแนน

คะแนนการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.4 คะแนน แบ่งเป็น การปฏิบัติตามมาตรฐานสากล IHR เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคระบาด ข้อตกลงการข้ามพรมแดนเกี่ยวกับการรับมือเหตุฉุกเฉินสาธารณะ และสาธารณสุข ความมุ่งมั่นในการแบ่งปันข้อมูลและตัวอย่างทางพันธุกรรมและชีวภาพ เทียบเท่าปี 2562

คะแนนข้อตกลงระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 6.3 คะแนน รวมเป็น 96.9 คะแนน และคะแนนการเงินเพิ่มขึ้น 8.3 รวมเป็น 75 คะแนน

คะแนนการจัดการกับความเสี่ยงด้านการเมือง/เศรษฐกิจ/สังคม ลดลงโดยเฉลี่ย 1.7 คะแนน โดยคะแนนความเสี่ยงทางการเมือง และความมั่นคงเพิ่มขึ้นเป็น 41.6 คะแนน ความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้นเป็น 63.1 คะแนน ความเพียงพอของโครงสร้างพื้นฐาน 50 คะแนน จุดอ่อนด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้น 70.7 คะแนน และความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมลดลงเหลือ 60.4 คะแนน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo