World News

จับตาวิกฤติพลังงานซ้ำเติมโควิด ฉุดเศรษฐกิจโลกรอบใหม่

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรงตัวที่ดับ 78 ดอลลาร์/บาร์เรล สูงสุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ราคาพลังงานสูงขึ้นในช่วงที่ความต้องการเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจและเข้าสู่ฤดูหนาวในยุโรป

การปรับขึ้นของราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันและก๊าซ ทำให้หลายประเทศ ทั้งสหรัฐและอินเดีย ผู้ใช้รายใหญ่กดดันให้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และพันธมิตร เพิ่มการผลิตน้ำมันออกสู่ตลาด

ราคาน้ำมัน

กลุ่มโอเปก จะมีการประชุมในวันจันทร์นี้ โดยจะมีประเด็นการพิจารณาเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน หลังจากลดกำลังการผลิตลงตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ทรงตัว ขยับขึ้น 97 เซ็นต์ หรือ 1.2% เคลื่อนไหวอยู่ที่ 79.28 ดอลลาร์ และน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 85 เซ็นต์ อยู่ที่ 75.88 ดอลลาร์ โดยราคาน้ำมันขยับต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 6

นักวิเคราะห์กล่าวว่าหากกลุ่มโอเปกและพันธมัตร หรือ โอเปกพลัส คงกำลังการผลิตไว้ตามเดิม คาดว่าราคาจะวิ่งไปแตะ 90 ดอลลาร์/บาร์เรล และหากผลิตเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 600,000 บาร์เรล/วัน ราคาน้ำมันก็จะขยับขึ้นเช่นเดียวกัน แต่อาจจะน้อยกว่ากรณีไม่เพิ่มกำลังการผลิต

นักลงทุนในตลาดน้ำมันคาดว่าความต้องการใช้กับกำลังการผลิจในขณะนี้ห่างกันมากเกินไป และนั่งก็เสี่ยงจะนำไปสู่วิกฤติพลังงาน ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวจากโควิด-19

ด้านคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) กล่าวว่าในวันจันทร์ บรรดารัฐมนตรีคลังของยูโรโซนจะร่วมหารือกันเกี่ยวกับราคาพลังงานที่พุ่งขึ้น เนื่องจากพวกเขาวิตกว่า ราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นอาจจะส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจชะลอลง ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุน และส่งผลกระทบต่อกลุ่มประชาชนที่ยากจนที่สุด

การรับมือด้านนโยบายใด ๆ นั้น จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกว่าราคาพลังงานที่ปรับตัวขึ้นนั้นเป็นเพียงชั่วคราวหรือถาวร

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดว่าราคาก๊าซ น้ำมันและไฟฟ้าที่แพงขึ้นนั้นเป็นเพียงชั่วคราว และจะลดลงในปี 2565 ซึ่งรัฐบาลจำนวนมากในยูโรโซนก็เชื่อเช่นนั้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo