World News

‘บัวแก้ว’ ย้ำ ไทยกังวล-เสียใจ เรื่องเมียนมา พรุ่งนี้! อพยพคนเที่ยวแรก

กระทรวงการต่างประเทศ ยืนยัน กังวลอย่างมาก ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมา ย้ำท่าทีตามแถลงการณ์อาเซียน เรียกร้องทุกฝ่าย หาทางออกโดยสันติวิธี ขณะ 15 ชาติสมาชิก ยูเอ็นเอสซี ออกแถลงการณ์ร่วม ประณามกองทัพเมียนมา ต่อการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ประท้วงต้านรัฐประหาร

วันนี้ (11 มี.ค.)  นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ  แถลงการณ์แสดงท่าทีของไทย ต่อสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในเมียนมา โดยเรียกร้องให้ทางการเมียนมาปล่อยผู้ที่ถูกควบคุมตัวหลังการรัฐประหาร 1 กุมภาันธ์ ะร้อมกับแสดงความ “เสียใจ” ต่อการเสียชีวิตในเหตุรุนแรง

ee1bccc33169a6b2af2a7b7d408e2ab96c0428e10525ab28f8f54e9c0082e8f4

ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน โดยมีพรมแดนร่วมกันเป็นระยะทางยาว และประชาชนไทย กับประชาชนเมียนมา มีการปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ในหลากหลายมิติ ไทยยังคงติดตามสถานการณ์ในเมียนมา ด้วยความห่วงกังวลอย่างมาก

เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ เราเสียใจต่อการเสียชีวิต และความทุกข์ยากต่าง ๆ ของประชาชนเมียนมา จากสถานการณ์ความรุนแรงที่ยกระดับมากขึ้น

ไทยสนับสนุนความพร้อมของอาเซียน ในการให้ความช่วยเหลือในเชิงบวก อย่างสันติ และสร้างสรรค์แก่เมียนมา ซึ่งเป็นสมาชิกของครอบครัวอาเซียน

ไทยขอย้ำท่าทีตามแถลงการณ์ของบรูไน ในฐานะประธานอาเซียนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 และ 2 มีนาคม 2564 ซึ่งเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในเมียนมาใช้ความอดทน อดกลั้น และมีความยืดหยุ่นอย่างถึงที่สุด

“เราเรียกร้องให้มีการคลี่คลายสถานการณ์ และการปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัว รวมทั้งขอกระตุ้นให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หาทางออกร่วมกันโดยสันติวิธี ด้วยการพูดคุยกันผ่านช่องทางที่สร้างสรรค์ใด ๆ เพื่อเมียนมา และประชาชนเมียนมา”

นอกจากไทยแล้ว ก่อนหน้านี้ มี 4 ชาติสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่ออกมาเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัว

เตรียมอพยพคนไทยจากเมียนมา เที่ยวบินแรกพรุ่งนี้

โฆษก กต. กล่าวถึงคนไทยในเมียนมาว่า นับตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สถานเอกอัครราชทูต ณ นครย่างกุ้ง ได้จัดเตรียมกำหนดการเที่ยวบินอพยพคนไทยไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเที่ยวบินแรกมีการจองที่นั่งเต็มแล้ว และจะดำเนินการบินมายังไทยด้วยสายการบินเมียนมา แอร์เวยส์ อินเตอร์เนชั่นแนลในวันพรุ่งนี้ (12 มี.ค.)

ส่วนเที่ยวบินที่สอง เปิดให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์แล้วตั้งแต่วันนี้ (11 มี.ค.) โดยจะทำการบินด้วยสายการบินเมียนมา เนชั่นแนล แอร์ไลนส์ ในวันที่ 16 มีนาคมนี้

โฆษก กต. กล่าวถึงคนไทยในเมียนมาว่า นับตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สถานเอกอัครราชทูต ณ นครย่างกุ้ง ได้จัดเตรียมกำหนดการเที่ยวบินอพยพคนไทยไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเที่ยวบินแรกมีการจองที่นั่งเต็มแล้ว และจะดำเนินการบินมายังไทยด้วยสายการบินเมียนมา แอร์เวยส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในวันพรุ่งนี้ (12 มี.ค.)

ส่วนเที่ยวบินที่สองเปิดให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์แล้วตั้งแต่วันนี้ (11 มี.ค.) โดยจะทำการบินด้วยสายการบินเมียนมา เนชั่นแนล แอร์ไลนส์ ในวันที่ 16 มี.ค. นี้

shutterstock 1931676311

 15 ชาติยูเอ็นเอสซีประณามใช้ความรุนแรง

ท่าทีดังกล่าวของกระทรวงการต่างประเทศ มีขึ้นหลังจากที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) ออกแถลงการณ์ประณามกองทัพเมียนมา ต่อการใช้ความรุนแรงกับผู้ประท้วง รวมถึง เรียกร้องให้กองทัพ แสดงความยับยั้งชั่งใจต่อการใช้กำลัง แต่ไม่ได้แถลงตำหนิกองทัพเมียนมา ต่อการก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันสมาคมช่วยเหลือนักโทษทางการเมืองเมียนมา (เอเอพีพี) ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามของเจ้าหน้าที่มากกว่า 60 ราย และราว 1,800 คนถูกจับกุมคุมขัง

แถลงการณ์ร่วมของสมาชิก 15 ประเทศ ยูเอ็นเอสซี ประกอบด้วยสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐ และสมาชิกไม่ถาวรอีก 10 ประเทศ กล่าวประณามอย่างยิ่งยวด ต่อการใช้ความรุนแรงกับผู้ประท้วงที่ชุมนุมอย่างสันติ ครอบคลุมผู้หญิง เยาวชน และเด็ก

“คณะมนตรีความมั่นคงฯ ขอเรียกร้องให้กองทัพใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างเต็มที่ และย้ำว่า คณะมนตรีความมั่นคงฯ กำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด”

รายงานข่าวระบุด้วยว่า เดิมนั้น แถลงการณ์ร่วม ไม่เพียงแต่จะประณามกองทัพเมียนมา แต่ยังระบุว่า กำลังพิจารณาใช้มาตรการคว่ำบาตรขั้นต่อไป แต่เพราะผู้แทนจากจีน รัสเซีย อินเดีย และเวียดนาม เสนอปรับร่างแถลงการณ์ ส่งผลให้ไม่มีการพูดถึงเรื่องคว่ำบาตร หรือตำหนิเกี่ยวกับการทำรัฐประหารแต่อย่างใด

ยูเอ็นเอสซี ยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับการจำกัดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ภาคประชาสังคม สมาชิกสหภาพแรงงาน และสื่อมวลชน  พร้อมแสดงจุดยืนสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยในเมียนมา ความจำเป็นในการรักษาสถาบัน และกระบวนการอันเป็นประชาธิปไตย ยุติการใช้ความรุนแรง เคารพสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างสมบูรณ์ และรักษาหลักนิติธรรม

ขณะที่นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็ฯ)  แสดงความหวังว่า แถลงการณ์ของยูเอ็นเอสซี จะผลักดันให้กองทัพเมียนมาตระหนักว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่นักโทษทางการทุกคนต้องได้รับการปล่อยตัว และกองทัพต้องเคารพผลการเลือกตั้ง ที่ประชาชนเป็นผู้เลือกแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563

W020200702349378040834
จาง จุน

จีนลั่น ถึงเวลาต้องลดวิกฤติ

เช่นเดียวกับนายจาง จุน เอกอัครราชทูตจีนประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องลดวิกฤติในเมียนมา

“ตอนนี้คือเวลาของการลดระดับความรุนแรง นี่คือเวลาของการทูต นี่คือเวลาของการเจรจา” นายจาง ระบุภายหลังคณะมนตรีความมั่นคงฯ ออกแถลงการณ์ร่วม และว่ารัฐบาลจีนได้เข้าร่วมการเจรจา เพื่อออกแถลงการณ์ร่วมอย่างสร้างสรรค์ นับเป็นสิ่งสำคัญที่สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงฯ จะเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกัน และหวังว่าข้อความนี้จะนำไปสู่การผ่อนคลายสถานการณ์ในเมียนมา

“ประชาคมโลกควรสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเมียนมา ได้จัดการกับความแตกต่างภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญและกฎหมาย นโยบายมิตรภาพของจีนที่มีต่อเมียนมามีไว้สำหรับประชาชนชาวเมียนมาทุกคน จีนพร้อมจะมีส่วนร่วมและติดต่อสื่อสารกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีบทบาทที่จะทำให้สถานการณ์ปัจจุบันทุเลาลง”

ทางด้านกระทรวงการคลังสหรัฐ แถลงเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรลูก 2 คนของพล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้นำการรัฐประหารเมียนมา ได้แก่ นายออง ปเย โซน และนางขิ่น ติรี เต๊ต โมน ซึ่งทั้งคู่เป็นนักธุรกิจ และมีบริษัทหลายแห่งในเครือ รวมถึงบริษัทมายเทล ผู้ให้บริการโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของเมียนมา

นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงเตือนกองทัพเมียนมาด้วยว่า อาจมีการลงโทษเพิ่มเติม

“เราจะไม่ลังเลที่จะดำเนินการเพิ่มเติม กับผู้ที่ใช้ความรุนแรง และปราบปรามเจตจำนงของประชาชน” นายบลิงเคนระบุ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo