World News

ย้อนรอย ‘รัฐประหาร’ เมียนมา

ชื่อของ “เมียนมา” กลับมาได้รับความสนใจจากประชาคมโลกอีกครั้ง หลังเช้าตรู่วันนี้ (1 ก.พ.) ทั่วโลกพากันตีข่าว กองทัพเมียนมา ทำ “รัฐประหาร” บุกควบคุมตัว “อองซาน ซูจี” ที่ปรึกษาแห่งรัฐ บุคคลผู้เป็นสัญลักษณ์ประชาธิปไตยของประเทศ รวมถึง บรรดาแกนนำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล สถานการณ์ที่มีแนวโน้มจะทำให้เมียนมา กลับคืนสู่ “วังวน” แย่งชิงอำนาจทางการเมืองแบบเดิม ๆ  ที่เผชิญมานานหลายปี 

เมียนมา หรือ พม่า ในอดีตนั้น หลังจากตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่ปี  2367 นั้น ในปี 2484-2486 กลุ่ม 30 สหาย หรือตรีทศมิตร (BIA) ภายใต้การนำของนายอองซาน ร่วมกับกองทัพญี่ปุ่น ปลดปล่อยพม่า จากอังกฤษ

เมียนมา

ต่อมาญี่ปุ่น เข้าปกครองพม่า และรัฐฉาน และนายอองซาน ได้ขึ้นเป็นนายพล พร้อมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม กระทั่งญี่ปุ่นให้เอกราชแก่พม่า

ในปี 2488 อังกฤษกลับมายึดครองพม่าอีกครั้ง นายพลอองซานจัดตั้งสันนิบาตเสรีชน ต่อต้านฟาสซิสต์ พร้อมตัดความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น  อีก 2 ปีต่อมา ในปี 2490 อังกฤษลงนามคืนเอกราชให้พม่า ในสนธิสัญญา “แอตลี่อองซาน” นายพลอองซานเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของ “สหภาพพม่า” ลงนามข้อตกลง ที่เวียงปินหล่ง ยอมให้ชนกลุ่มน้อยในพม่าแยกตัวเป็นอิสระได้ ภายหลังรวมกับพม่าครบ 10 ปี

เมียนมา

เดือนกรกฎาคม 2490  นายพลอองซานถูกบุกยิง เสียชีวิตที่อาคารรัฐสภา จากฝีมือของอู ซอ อดีตกลุ่ม 30 สหาย ก่อนที่ในเวลาต่อมานายพลอองซาน จะได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งเอกราชของพม่า”

วันที่ 4 มกราคม 2491 พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษอย่างเป็นทางการ หลังถูกปกครองอยู่ถึง 63 ปี โดยมี อู นุ ซึ่งเป็นอดีตกลุ่ม 30 สหาย ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรก ต่อมาในปี   2500  อู นุ ปฏิเสธไม่ให้ชนกลุ่มน้อยแยกตัวเป็นอิสระตามข้อตกลง ที่เวียงปินหล่ง จึงเกิดกบฏชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าง ๆ ตามแนวชายแดนขึ้นมา

อีก 5 ปีต่อมา นายพลเนวิน 1 ในกลุ่ม 30 สหาย ก่อรัฐประหารวันที่ 2 มีนาคม 2505 จากนั้นประกาศปกครองพม่า แบบเผด็จการสังคมนิยม พร้อมปิดประเทศ ไม่ติดต่อกับโลกภายนอก และเป็นจุดเริ่มต้น ที่กองทัพพม่า เข้าปกครองประเทศนานถึง 26 ปี

ก่อนที่ในวันที่ 18 กันยายน 2531 จะเกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งประวัติศาสตร์ “8.8.88” ที่กองทัพพม่า ปราบปราม กวาดล้างประชาชน ที่ลุกฮือขึ้นมาเรียกร้องประชาธิปไตย ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และถูกจับกุมเป็นจำนวนมาก

เมียนมา

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ รัฐบาลนายพลเนวินประกาศจัดตั้ง “สภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติ” หรือ “สลอร์ค” (SLORC) โดยสัญญาว่า จะจัดให้มีการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย  และในปีเดียวกันนี้ “อองซาน ซูจี” ก็ประกาศตั้งพรรคเอ็นแอลดีขึ้นมา

แม้กองทัพพม่า จะยอมทำตามสัญญา จัดการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี ในปี 2533  ซึ่งพรรคของซูจี ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่สภาสลอร์คไม่ยอมรับ และไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน พร้อมสั่งกักบริเวณนางซูจีในบ้านของตนเอง

บทบาทการเป็นผู้นำเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศบ้านเกิดทำให้ ในปี 2534 ซูจี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรับรางวัล จากนั้นในปี  2535  สลอร์คประกาศเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจจากพุทธสังคมนิยม มาเป็นกึ่งเสรีตามแนว ทุนนิยม เปิดประเทศต้อนรับนักลงทุน นักท่องเที่ยว และเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “พม่า” เป็น “เมียนมา”

ปี 2538 รัฐบาลทหารเมียนมา ยอมให้อิสรภาพแก่ ซูจี หลังจากกักบริเวณมาเป็นเวลาถึง 6 ปี  จากนั้นในปี 2540 รัฐบาลทหาร เปลี่ยนชื่อ “สภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติ” เป็น “สภาแห่งสันติภาพและการพัฒนาประเทศ” มี พล.อ.ตาน ฉ่วย เป็นประธานสภา ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และนายกรัฐมนตรี

21 กันยายน 2543 ซูจี ถูกกักบริเวณ โดยไม่มีการระบุข้อกล่าวหา และความผิด เป็นครั้งที่ 2 นาน 18 เดือน โดยเธอได้รับอิสรภาพ จากการกักบริเวณครั้งนี้ในเดือนพฤษภาคม ปี 2545

jpeg

วันที่ 10 พฤษภาคม 2551 พล.อ.ตาน ฉ่วย  จัดทำประชาพิจารณ์ ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิลงประชามติ รับร่างรัฐธรรมนูญ

ปี 2553  มีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ภายใต้รัฐธรรมนูญปี  2553 โดยพรรคสหสามัคคี และการพัฒนา (ยูเอสดีพี) ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากกองทัพเมียนมา ได้รับชัยชนะ โดยมี พล.อ.เต็ง เส่ง ในฐานะหัวหน้าพรรค ได้รับเลือกจากรัฐสภา ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศ

การเลือกตั้งในอีก 5 ปีต่อมา พรรคเอ็นแอลดี ของซูจี สามารถคว้าชัยชนะมาครองได้ ได้ที่นั่งในสภาไปทั้งหมด 880 ที่ หรือร้อยละ 77.3 จากทั้งหมด 1,139 ที่นั่ง แต่ซูจี ในฐานะหัวหน้าพรรคเอ็นแอลดี กลับไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ เนื่องจากมีข้อห้ามในรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดไม่ให้ผู้ที่มีคู่สมรส และบุตร เป็นชาวต่างชาติดำรงตำแหน่งนี้ โดยสามีของซูจี คือ ไมเคิล อริส และบุตรของเธออีก 2 คน ถือสัญชาติอังกฤษ

ล่าสุด การเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านพ้นไป เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 พรรคเอ็นแอลดี ของซูจี ก็กวาดชัยชนะได้อย่างถล่มทลายอีกครั้ง  ได้ไป 920 ที่นั่ง  ขณะที่พรรคยูเอสดีพี ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งทั้งหมด 1,089 คน และได้รับเลือกเพียง 71 คน สำหรับสภาทั้ง 3 ระดับ โดยแบ่งเป็น 26 ที่นั่งในสภาล่าง 7 ที่นั่งในสภาสูง และ 38 ที่นั่งในสภาภูมิภาคและรัฐ

139499594 16047998463081n

อย่างไรก็ดี ยูเอสดีพี และกองทัพเมียนมา ไม่ยอมรับผลเลือกตั้งดังกล่าวหา โดยกล่าวหาว่าเกิดการทุจริตเป็นวงกว้าง และเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบผลการเลือกตั้ง และดำเนินการตามกฎหมาย และระบุว่า หากไม่ทำตาม กองทัพมีแผนการจะตอบโต้ ก่อนที่จะนำมาซึ่งการก่อรัฐประหาร สะเทือนโลก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo