World News

งานวิจัยออสเตรเลียชี้ ‘วัคซีนโควิด-19’ ยังมีประสิทธิผลแม้เจอ ‘ไวรัสกลายพันธุ์’

ข่าวดี! งานวิจัย “ออสเตรเลีย” ชี้ ไวรัสกลายพันธุ์ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ “วัคซีนโควิด-19” ชี้โลกกำลังเข้าใกล้ความสำเร็จ

องค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) หน่วยงานวิทยาศาสตร์แห่งชาติของประเทศออสเตรเลีย ได้เผยแพร่การค้นพบที่ชี้ว่า การกลายพันธุ์ของไวรัสนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีศักยภาพต้านโรคโควิด-19

ออสเตรเลีย วัคซีนโควิด-19

ผลการวิจัย ออสเตรเลีย ดังกล่าวได้ขจัดความหวาดกลัวที่ว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ได้จะไม่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (2019-nCoV) ที่แบ่งออกเป็นหลายสายพันธุ์ และเป็นไวรัสที่ล้วนก่อให้เกิดโรคโควิด-19

การศึกษาระบุว่า วัคซีนที่อยู่ระหว่างการทดลองส่วนใหญ่มีต้นแบบการผลิตมาจากไวรัส “สายพันธุ์ดี” (D-strain) ที่พบมากในการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ไวรัสดังกล่าวได้กลายพันธุ์จนเกิดเป็น “สายพันธุ์จี” (G-strain) หรือ “ดี614จี” (D614G) ซึ่งขณะนี้มีสัดส่วนอยู่ที่ 85% ของจีโนมไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)

ทีมวิจัยขององค์การฯ ได้ทำการทดสอบไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์ในเลือดของพังพอนที่ถูกฉีดวัคซีน “ไอเอ็นโอ-4800” (INO-4800) อันเป็นวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัทอิโนวิโอ ฟาร์มาซูติคัลส์ (Inovio Pharmaceuticals) และพบว่าวัคซีนมีประสิทธิผลต่อทั้งสายพันธุ์ D และ G

โลกเข้าใกล้วัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการปกป้องและช่วยชีวิตผู้คนไปอีกก้าว” แลร์รี มาร์แชล ผู้บริหารสูงสุดขององค์การฯ แถลง

ออสเตรเลีย โควิด-19

“การวิจัยด้วยความรวดเร็วเช่นนี้ ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันในเชิงลึกร่วมกับพันธมิตรทั้งในออสเตรเลียและทั่วโลกเท่านั้น”

ผู้เขียนหลักของการศึกษา เอส.เอส.วาซาน (S.S. Vasan) จากทีมแดนเจอรัส พาโธเจนส์ (Dangerous Pathogens) ขององค์การฯ กล่าวว่า การค้นพบนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับวัคซีนหลายร้อยตัวที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทั่วโลก

“วัคซีนโรค โควิด-19 ที่อยู่ระหว่างการทดลองส่วนใหญ่มุ่งเป้าที่สไปก์โปรตีนหรือโปรตีนหนาม ซึ่งเป็นโครงสร้างชั้นนอกของไวรัส เนื่องจากสไปก์โปรตีนจะไปจับกับตัวรับชนิดเอซีอี2 (ACE2) ที่อยู่ในปอดและทางเดินหายใจของเรา ซึ่งเป็นจุดที่เชื้อจะเข้าสู่เซลล์” วาซานกล่าว

“แม้ยีนกลายพันธุ์ ‘D614G’ จะเกิดขึ้นที่สไปก์โปรตีน แต่เราได้ดำเนินการทดลองและการสร้างแบบจำลองหลายครั้งจนยืนยันได้แน่ชัดว่าวัคซีนจะยังคงมีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัส

นอกจากนี้เรายังพบแนวโน้มว่าไวรัสสายพันธุ์ G ไม่จำเป็นต้องใช้ “วัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยเฉพาะ” อยู่บ่อยครั้งเหมือนกับไวรัสหลายสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดตามฤดูกาลและจำเป็นต้องมีการพัฒนาวัคซีนใหม่ๆ อย่างไข้หวัดใหญ่

วัคซีน 3

ยุโรปเซ็นสัญญาซื้อ เรมเดซิเวียร์สู้ โควิด-19

วานนี้ (8 ต.ค. 63) คณะกรรมาธิการยุโรปได้ลงนามสัญญากรอบการจัดซื้อร่วมกับ กิลเลียด (Gilead) บริษัทเภสัชภัณฑ์สัญชาติอเมริกัน เพื่อจัดซื้อ “ยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)” จำนวน 500,000 ชุด

การลงนามเกิดขึ้น หลังสัญญาฉบับก่อนหน้าที่ทำกับกิลเลียด เพื่อจัดซื้อยาเวคเลอรี (Veklury) ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าของยาเรมเดซิเวียร์ จำนวน 33,380 ชุด ถูกแจกจ่ายทั่วสหภาพยุโรป (EU) และสหราชอาณาจักร ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

คำแถลงจากคณะกรรมาธิการฯ ไม่ได้เปิดเผยราคาจัดซื้อ แต่กล่าวเพียงว่าสัญญาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากหน่วยงานช่วยเหลือฉุกเฉิน (ESI) ของคณะกรรมาธิการฯ มูลค่ารวม 70 ล้านยูโร หรือราว 2.5 พันล้านบาท

สำหรับสัญญาฉบับใหม่นี้ นอกจากครอบคลุม 27 ประเทศในสหภาพยุโรปแล้ว ยังรวมถึงนอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สหราชอาณาจักร ตลอดจนกลุ่มประเทศพันธมิตรบอลข่านตะวันตก 6 แห่งของสหภาพยุโรป โดยทุกประเทศที่กล่าวมาสามารถสั่งซื้อยาเวคเลอรีโดยตรงได้แล้วในขณะนี้

“เราเติบโตอย่างแข็งแกร่งมาด้วยกันตลอด และนี่แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของยุโรปในการรับมือโรค โควิด-19” สเตลลา คีเรียคิเดส กรรมาธิการด้านสุขภาพและความปลอดภัยอาหารแห่งยุโรปกล่าว

เวคเลอรีเป็นยาตัวเดียวในตอนนี้ที่ได้รับรองการขึ้นทะเบียนตำรับยาในสหภาพยุโรป เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

ทั้งนี้ ขณะทั่วโลกกำลังดิ้นรนเพื่อควบคุมโรคโควิด-19 มีหลายประเทศทั่วโลก อาทิ เยอรมนี จีน รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ ต่างแข่งขันกันแสวงหาวัคซีนป้องกันโรคระบาดใหญ่ดังกล่าว

เว็บไซต์องค์การอนามัยโลก (WTO) ระบุว่า ทั่วโลกมีการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 จำนวน 193 รายการ เมื่อนับถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2563 โดยวัคซีน 42 รายการอยู่ในขั้นการทดลองทางคลินิกแล้ว

สำหรับสถานการณ์ โควิด-19 วันนี้ (9 ต.ค. 63) นับถึงเวลา 09.00 น. ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ที่ 36,744,349 คน รักษาตัวหายแล้ว รวม 27,663,555 คน และมียอดสะสมผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 1,066,819 ราย

9OCT WorldTop10

ที่มาสำนักข่าวซินหัว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo