World News

ทำความรู้จัก ’10 ชาติเศรษฐกิจ’ คุมความมั่งคั่งโลก

เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ล้วนแต่ต้องเผชิญกับวัฏจักรขาขึ้น และลงแตกต่างกันออกไป แต่ก็ยังมีความน่าสนใจอยู่ว่า บรรดาประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ 10 ชาติเศรษฐกิจ ขนาดใหญ่สุดของโลกนั้น สามารถรักษาตำแหน่งตัวเองเอาไว้ โดยที่ไม่ถูกโค่นลงไปได้ง่ายๆ

ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่แต่ละราย ล้วนแต่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของ 10 ชาติเศรษฐกิจ ขนาดใหญ่สุดของโลกนั้น คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 66% ของมูลค่าจีดีพีโลก

10 ชาติเศรษฐกิจ คุมความมั่งคั่งโลก

cover 10 เศรษฐกิจใหญ่สุดโลก

มาดูกันว่า 10 ชาติใหญ่เหล่านี้ มีประเทศอะไรกันบ้าง ที่กำลังควบคุมความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของโลกไว้ในมือ

สหรัฐ

สหรัฐครองตำแหน่ง ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกมาตั้งแต่ปี 2414 โดยเมื่อปี 2562 เศรษฐกิจสหรัฐมีมูลค่ากว่า 21 ล้านล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะขยายตัวถึง 22.32 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2563

เศรษฐกิจสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนราว 20% ของผลิตผลโลก และยังคงมีขนาดใหญ่กว่าจีนอย่างมาก โดยภาคบริการ ที่พัฒนาไปอย่างมาก และภาคเทคโนโลยี ที่ซับซ้อน คิดเป็นสัดส่วนราว 80% ของผลผลิตเศรษฐกิจในประเทศทั้งหมด ส่งผลให้บริษัทขนาดใหญ่สุด และบริษัทที่มีบทบาทสำคัญบนเวทีโลก ในด้านการนำเสนอบริการต่างๆ ทั้ง ค้าปลีกเทคโนโลยี การเงิน และดูแลสุขภาพ มักจะมาจากแดนอเมริกัน

10 ชาติเศรษฐกิจ

จีน

ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างเฟื่องฟูมาก หลังจากการทลายกำแพงต่างๆ ของเศรษฐกิจแบบปิด และพัฒนาจนกลายมาเป็นศูนย์กลางการผลิต และส่งออกของโลก

จีนมักถูกเรียกขานว่า “โรงงานโลก” เนื่องจากเป็นฐานการผลิต และการส่งออกขนาดมหึมา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาคบริการเริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และการผลิต ที่ข่วยสร้างจีดีพี ลดลงมากพอสมควร

เมื่อปี 2523 จีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก มีมูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 305,350 ล้านดอลลาร์ เทียบกับสหรัฐ ที่ในขณะนั้น มีมูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 2.86 ล้านล้านดอลลาร์

แต่เมื่อจีนเริ่มปฏิรูปตลาดในปี 2521 เศรษฐกิจของยักษ์ใหญ่เอเชียรายนี้ก็อัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 10% ต่อปี และแม้ว่า ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนจะมีอัตราการเติบโตชะลอตัวลง แต่ก็ยังถือว่าสูงอยู่ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยเมื่อปีที่แล้ว จีนมีมูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 9.2 ล้านล้านดอลลาร์

GettyImages 1265520427

ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ด้วยมูลค่าจีดีพีในปี 2562 ที่ 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยในช่วงทศวรรษ 60, 70 และ 80 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตรวดเร็วมาก

วิกฤติการเงินปี 2551 ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นสั่นคลอนอย่างหนัก และทำให้เกิดช่วงเวลาอันท้าทายสำหรับเศรษฐกิจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยวิกฤติการเงินโลกทำให้เกิดภาวะถดถอย ตามมาด้วย ความต้องการในประเทศที่อ่อนแอ และหนี้สาธารณะก้อนโต

เมื่อเศรษฐกิจเริ่มที่จะฟื้นตัว ญี่ปุ่นก็ต้องรับมือกับการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่ส่งผลกระทบทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ  ในเวลาต่อมา เมื่อสามารถจัดการกับภาวะเงินฝืดที่เกาะติดประเทศมาเป็นเวลานานได้แล้ว แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ยังหยุดนิ่ง

10 ชาติเศรษฐกิจ

เยอรมนี

นอกจากจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในยุโรปแล้ว เศรษฐกิจเยอรมนี ยังแข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาคนี้ด้วย โดยในระดับโลกนั้น เยอรมนี มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับสี่ ในแง่ของจีดีพี ที่ 4 ล้านล้านดอลลาร์

เยอรมนี พึ่งพาการส่งออกสินค้าทุนเป็นหลัก และต้องประสบกับภาวะถดถอยในการส่งออก หลังวิกฤติการเงินโลกปี 2551 ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 2.2% และ 2.5% ในปี 2559 และ 2560 ตามลำดับ

ในความพยายามที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการผลิต ในสถานการณ์โลกยุคปัจจุบันนี้ เยอรมนีได้ประกาศนโยบาย “อุตสาหกรรม 4.0” การริเริ่มเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างประเทศ ให้เป็นผู้นำตลาด และเป็นผู้จัดหาบริการโซลูชั่นการผลิตขั้นสูง

GettyImages 1253671523

อินเดีย

อินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดล้านล้านดอลลาร์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยเมื่อปี 2562 อินเดียแซงหน้า สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก ด้วยมูลค่าจีดีพีที่ 2.94 ล้านล้าน

เมื่อปี 2523 เศรษฐกิจอินเดียมีมูลค่าเพียง 189,438 ล้านดอลลาร์ อยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาคการผลิต และบริการ ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง จนปัจจุบัน อินเดียกลายมาเป็นประเทศที่มีธุรกิจบริการเติบโตเร็วสุดในโลก คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 60% ของเศรษฐกิจประเทศ และคิดเป็นสัดส่วน 28% ของการจ้างงานทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ภาคการผลิต ก็ยังเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ ที่รัฐกำลังผลักดันอย่างหนัก ผ่านการริเริ่มต่างๆ อาทิ “Make in India”  ขณะที่ภาคการเกษตรนั้น แม้จะมีสัดส่วนในจีดีพีลดลงมาอยู่ที่ราว 17% แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับชาติตะวันตก

จุดแข็งของเศรษฐกิจอินเดีย อยู่ที่การพึ่งพาการส่งออกอย่างจำกัด อัตราการออมเงินในประเทศสูง และชนชั้นกลางที่กำลังขยายตัวมากขึ้น

10 ชาติเศรษฐกิจ

สหราชอาณาจักร

มูลค่าจีดีพีที่ 2.83 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้สหราชอาณาจักรมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก  ซึ่งแม้เศรษฐกิจจะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มขาขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาส มาตั้งแต่ปี 2535 จนถึง 2551

แต่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักก็ลดลงอย่างต่อเนื่องถึง 5 ไตรมาสติดต่อกัน และต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี กว่าที่จะฟื้นตัวขึ้นไปอยู่ในระดับก่อนหน้าที่จะเจอภาวะเศรษฐกิจถดถอย

เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรขับเคลื่อนโดยภาคบริการเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 75% ของจีดีพี ขณะที่ภาคการผลิต เป็นตัวขับเคลื่อนรองลงมา ตามด้วยภาคการเกษตร

GettyImages 1136167933
ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส ประเทศที่มีผู้เดินทางไปเยือนมากสุดในโลก มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป และใหญ่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก ด้วยมูลค่าจีดีพีที่ 2.78 ล้านล้านดอลลาร์

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจฝรั่งเศสชะลอการเติบโตลงมา ผลจากอัตราการว่างงานที่พุ่งสูงขึ้น กดดันให้รัฐบาลต้องจัดหามาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

นอกจากการท่องเที่ยว ที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญอย่างมากสำหรับเศรษฐกิจแล้ว ฝรั่งเศสยังเป็นผู้นำในการเกษตร มีพื้นที่เพาะปลูกโดยรวมคิดเป็น 1 ใน 3 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดในยุโรป และเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่สุดอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐ

ภาคการผลิต ก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศ ครอบคลุมถึง อุตสาหกรรมเคมี รถยนต์ และกลาโหม

อิตาลี

ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก ด้วยมูลค่าจีดีพีที่ 2.07 ล้านล้านดอลลาร์ โดยในช่วงไม่กี่ปีมานี้ อิตาลีต้องเผชิญกับความวุ่นวายอย่างหนักทั้งด้านการเมือง และเศรษฐกิจ อัตราว่างงานยังคงทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยตัวเลขสองหลัก

ขณะที่หนี้สาธารณะก็ยังทรงตัวในระดับสูงถึง 132% ของจีดีพี

อย่างไรก็ดี การส่งออก และการลงทุนทางธุรกิจ ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขึ้นมา

10 ชาติเศรษฐกิจ

บราซิล

บราซิล เป็นประเทศที่ประชากรมากสุด และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดของลาตินอเมริกา และด้วยมูลค่าจีดีพีที่ 1.87 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้บราซิล มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 9 ของโลก

ก่อนที่จะเกิดวิกฤติการเงินโลกปี 2551 นั้น เศรษฐกิจบราซิลขยายตัวในระดับ 3.4% มาอย่างต่อเนื่อง และหลังจากหดตัวไปในระยะสั้นๆ เมื่อปี 2552 เศรษฐกิจบราซิล ก็ฟื้นตัวขึ้นมาในปี 2553 ด้วยการเติบโตที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 7.5%

กระนั้นก็ตาม ปัญหาภายในประเทศ อย่างการคอร์รัปชัน และภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้านการลงทุน และการทำธุรกิจ ยังคงสร้างแรงกดดันต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่นอยู่

GettyImages 1221662215 1
แคนาดา

แคนาดา แซงหน้ารัสเซีย ขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดอันดับ 10 ของโลก เมื่อปี 2558 โดยมีมูลค่าจีดีพีล่าสุดอยู่ที่ 1.71 ล้านล้านดอลลาร์ และคาดว่า จะขยายตัวถึง 2.13 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2566

แคนาดา ประสบความสำเร็จใจการควบคุมอัตราการว่างงาน ที่มีแนวโน้มว่าจะลดลงไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาคบริการ ถือเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ แต่ภาคการผลิต ก็เป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ และมีความสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต

10 ชาติเศรษฐกิจ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo