World News

จีนยกระดับเตือนภัย ‘กาฬโรค’ หลังพบผู้ป่วยติดเชื้อรายแรกของปี

จีนยกระดับการเตือนภัย “กาฬโรค”  หลังจากเมืองแห่งหนึ่งในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ยืนยันการพบผู้ป่วยติดเชื้อกาฬโรครายแรกของปีนี้

รายงานระบุว่า ผู้ป่วยรายนี้ซึ่งมีอาชีพเป็นคนเลี้ยงสัตว์ในเมืองบายันนูร์ อยู่ระหว่างถูกกักตัว และอาการป่วยทรงตัว โดยเขาเป็นผู้ป่วยรายแรกที่ได้รับการยืนยัน หลังมีผู้ป่วยต้องสงสัยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมือง

กาฬโรค

กาฬโรค เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยถึงตายได้ แต่สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับผู้ป่วยรายนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าติดเชื้อจากแหล่งใด

การเตือนภัยของทางการจีนครั้งนี้ เป็นการเตือนภัยระดับ 3 จากความรุนแรงทั้งหมด 4 ระดับ ทางการสั่งห้ามการล่าสัตว์ หรือรับประทานสัตว์ ที่อาจเป็นพาหะนำเชื้อกาฬโรค และให้ประชาชนรายงานเหตุต้องสงสัยที่คาดว่าเกี่ยวกับการติดเชื้อของโรคนี้

ปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยกาฬโรคเป็นระยะจากทั่วโลก เช่น ที่มาดากัสการ์ พบผู้ติดเชื้อกว่า 300 คน ในช่วงที่เกิดการระบาดเมื่อปี 2560  ขณะที่เมื่อเดือน พฤษภาคมปีที่แล้ว พบว่ามีผู้ป่วย 2 คน เสียชีวิตด้วยกาฬโรคที่มองโกเลีย โดยเป็นการติดเชื้อภายหลังรับประทานเนื้อกระรอกดินดิบ

สำนักงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในเมืองอูลันบาตอร์ เมืองหลวงของมองโกเลีย เปิดเผยว่า ผู้บริโภคมีความเชื่อว่า เนื้อกระรอกดิบ และไตของมัน เป็นยาพื้นบ้านที่ดีต่อสุขภาพ แต่สัตว์ชนิดนี้เป็นพาหะของแบคทีเรียกาฬโรค ซึ่งที่ผ่านมาพบความเชื่อมโยงกับผู้ป่วยหลายรายในประเทศ อีกทั้งการล่ากระรอกดินก็เป็นสิ่งผิดกฎหมาย

ผู้รับเชื้อกาฬโรคจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต แต่ในการติดเชื้อระยะแรกจะยากแก่การวินิจฉัย เพราะมักจะพบว่ามีอาการ 3-7 วัน หลังจากติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อที่ศูนย์สุขภาพสแตนฟอร์ดในอังกฤษ บอกกับสำนักข่าวเฮลธ์ไลน์ว่าไม่มีแนวโน้มที่การพบผู้ติดเชื้อกาฬโรคหรือที่ถูกเรียกว่า “มรณะสีดำ” จะนำไปสู่การระบาด ซึ่งต่างจากการระบาดในศตวรรษที่ 14 เนื่องจากตอนนี้การแพทย์มีความก้าวหน้าเท่าทันภาวะการติดต่อของโรคชนิดนี้ และรักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ

กาฬโรค หรือ “มรณะสีดำ” ทำให้ผู้คนในแถบแอฟริกา เอเชีย และยุโรป กว่า 50 ล้านคนเสียชีวิต เมื่อศตวรรษที่ 14 เคยระบาดในกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักรเมื่อปี พ.ศ. 2208 คร่าชีวิตคนไป 1 ใน 5 ขณะที่ในจีน และอินเดีย เคยเกิดการระบาดในศตวรรษที่ 19 มีผู้เสียชีวิตกว่า 12 ล้านคน

กาฬโรค

กาฬโรค คืออะไร

กาฬโรค เป็นโรคระบาดร้ายแรง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis สัตว์หลายชนิดรวมทั้งคนสามารถติดเชื้อนี้ได้ โดยอาจเกิดอาการได้หลายลักษณะ เช่น ต่อมน้ำ เหลืองโต ความผิดปกติในระบบหายใจ และถึงตายได้  โดยโรคนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้ประชากรในยุโรป เสียชีวิตไปมากถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดในช่วงยุคมืด

เชื้อกาฬโรค ยังเป็นเชื้อโรคชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำไปใช้เป็นอาวุธชีวภาพ เพื่อก่อการร้าย

  • สัตว์ชนิดใดเป็นกาฬโรคได้บ้าง

สัตว์มากกว่า 200 ชนิด สามารถติดเชื้อกาฬโรคได้ โดยเชื้อกาฬโรคเป็นเชื้อที่พบตามธรรมชาติ ในสัตว์ฟันแทะในป่า เช่นกระรอก กระจง หนู และแมว สามารถติดเชื้อได้ง่าย สัตว์ชนิดอื่นที่สามารถติดเชื้อได้ ได้แก่ กระต่าย สัตว์ป่าที่กินเนื้อ แพะ แกะ และอูฐ

ส่วนใหญ่สัตว์ติดเชื้อได้จากการถูกหมัดที่มีเชื้อกาฬโรคกัด แต่สัตว์กินเนื้อสามารถติดเชื้อได้จากการกินสัตว์ฟันแทะ ที่ติดเชื้ออยู่แล้วได้ด้วย ซึ่งหากติดเชื้อโรคนี้ สัตว์ฟันแทะเชื้อ มักจะมีอาการป่วยแบบไม่รุนแรง แต่อาจทำให้สัตว์ตาย หากเกิดการระบาดของโรค

ส่วนสัตว์ป่าที่กินเนื้อจะไม่แสดงอาการป่วย ในขณะที่แมว และสัตว์ชนิดอื่นอาจมีไข้ต่อมน้ำ เหลืองบวม และเป็นฝีในอวัยวะภายใน หรืออาจตายโดยฉับพลัน

  • คนติดกาฬโรคได้หรือไม่

คนสามารถติดเชื้อได้ 3 วิธีคือ ติดจากการถูกหมัดกัดซึ่งพบได้มากที่สุด ติดจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ  เช่น นายพรานไปสัมผัสอวัยวะภายในของสัตว์ที่ล่าได้หรือติดจากการหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ร่างกาย

unnamed

อาการของกาฬโรคมีสามรูปแบบ

  • กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (bubonic) ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด เกิดหลังจาก ถูกหมัดกัด อาการได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ต่อมน้ำ เหลืองบวมอักเสบและปวดมาก
  • กาฬโรคชนิดโลหิตเป็นพิษ (septicemic) อาจเกิดหลังจากกาฬโรคต่อมน้ำ เหลือง
  • กาฬโรคปอด (pneumonic) เป็นชนิดที่พบได้น้อยกว่าแต่อันตรายที่สุด เกิดจากการติดเชื้อที่ปอดหลังจากได้รับเชื้อทางการหายใจหรือจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้โดยการไอ อาการที่พบคือ มีไข้ หนาวสั่น ปวดหัว และไอเป็นเลือด ผู้ป่วยต้อง ได้รับการรักษาภายใน 24 ชั่วโมง มิฉะนั้นอาจเสียชีวิตได้

วิธีป้องกัน

ไม่ควรปล่อยให้สุนัขและแมวอยู่อย่างอิสระหรือไปล่าสัตว์ในป่าโดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะและกระต่าย และควรกำจัด และป้องกันหมัดในสุนัขและแมว ควบคุมจำ นวนสัตว์ฟันแทะในบริเวณบ้าน ที่ทำ งาน และสถานที่พักผ่อน

ในคนนั้น ต้องป้องกันตัวไม่ให้ถูกหมัดกัด ควบคุมหมัดสุนัขและแมวที่เลี้ยงไว้เป็นประจำ ควรใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดไม่ให้
หมัดสามารถเข้าถึงร่างกายได้ ใส่ถุงมือเมื่อต้องจับตัวสัตว์หรือสัตว์ที่มีแผลแฉะ ไม่สัมผัสตัวสัตว์ป่า หลีกเลี่ยงบริเวณ
ที่มีสัตว์ฟันแทะตายเป็นจำ นวนมาก

ที่มา : บีบีซี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo