World News

‘นักวิทยาศาสตร์’ ไขคำลวง ‘โควิด-19’ ถูกสร้างในห้องแล็บ?

ปักกิ่ง – ห้วงเวลาของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่แพร่ไปทั่วโลก และคร่าชีวิตผู้คนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ใครหลายคน เกิดคำถามคาใจว่าเจ้าไวรัสร้ายมีต้นกำเนิดจากแห่งหนใดกัน??

เมื่อไม่นานนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ลงความเห็นว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่ ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ‘ไม่ใช่’ ไวรัสที่ถูกสร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือถูกดัดแปลงอย่างมีวัตถุประสงค์แอบซ่อน

วารสารเนเจอร์ เมดิซิน (Nature Medicine) เผยแพร่บทความชื่อ ‘จุดกำเนิดใกล้เคียงของซาร์ส-ซีโอวี-2’ (The proximal origin of SARS-CoV-2) เมื่อวันอังคาร (17 มี.ค.) ซึ่งเปิดเผย การวิเคราะห์ลักษณะต่างๆ ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

XxjpbeE007498 20200311 PEPFN0A001

คริสเตียน แอนเดอร์เซนรองศาสตราจารย์ด้านภูมิคุ้มกันวิทยาและจุลชีววิทยา สถาบันวิจัยสคริปปส์ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ จาก มหาวิทยาลัยทูเลน มหาวิทยาลัยซิดนีย์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ และ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เป็นคณะผู้ทำการศึกษาดังกล่าว

การวิเคราะห์อ้างอิง ข้อมูลลำดับพันธุกรรมของโรคโควิด-19 ที่นักวิทยาศาสตร์จีนถอดรหัสได้หลังเกิดการระบาดไม่นาน โดยวิเคราะห์แม่แบบพันธุกรรมของ โปรตีนหนาม (spike protein) หรือเกราะด้านนอกที่ไวรัสฯ ใช้โจมตีเซลล์ของมนุษย์และสัตว์

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้มุ่งศึกษา โปรตีนหนามและสันหลัง (backbone) ของไวรัสฯ จนพบว่าไวรัสฯ นี้ มีประสิทธิภาพสูงเมื่อแพร่สู่ร่างกายมนุษย์ แต่มีลักษณะต่างจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักแล้ว โดย คล้ายคลึงกับไวรัสโคโรนาที่พบในค้างคาวและตัวนิ่ม

บทความระบุว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นไวรัสโคโรนาลำดับที่ 7 ที่พบว่าทำให้เกิดการติดเชื้อในหมู่มนุษย์ ซึ่งถือเป็น “หลักฐานชัดเจนว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ไม่ได้เป็นผลผลิตจากการดัดแปลงอย่างมีวัตถุประสงค์”

หากมีการดัดแปลงทางพันธุกรรม ก็น่าจะพบการใช้ เทคนิค reverse-genetic กับ เบตาโคโรนาไวรัส (betacoronavirus) แต่ข้อมูลทางพันธุกรรมบ่งชี้อย่างมิอาจหักล้างว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ไม่ได้มาจากสันหลังของไวรัสที่ถูกใช้ก่อนหน้านี้

Rumor Buster Is COVID 19 a laboratory construct 3 1

ผลการศึกษาครั้งนี้ถูกเผยแพร่ในวันเดียวกับที่ นักการเมืองชาติตะวันตก บางส่วนเรียกโรคโควิด-19 ว่า ‘ไวรัสจีน’ (Chinese virus) ซึ่งสร้างความเข้าใจผิดแก่สาธารณชน

ไมเคิล ไรอัน — ผู้อำนวยการบริหารโครงการภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวถึงการเรียกเช่นนั้นว่า “สิ่งสำคัญคือเราต้องระมัดระวังภาษาที่เราใช้ เพื่อมิให้นำไปสู่การเชื่อมโยงบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับไวรัส”

“นี่เป็นเวลาที่ต้องจับมือและก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อต่อสู้กับไวรัสนี้ด้วยกัน”

ที่มา: สำนักข่าวซินหัว

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight