World News

ย้อนรอย 4 เดือน ‘ฮ่องกง’ เดือด

การชุมนุมประท้วงของกลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกง ที่เริ่มขึ้นมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น ทำให้ดินแดนอดีตอาณานิคมแห่งนี้ของอังกฤษ ตกอยู่ในภาวะวิกฤติครั้งหนักสุด นับแต่ที่กลับเข้าไปอยู่ภายใต้การปกครองของจีน เมื่อปี 2540

hzhk0831h

วันชาติจีน เมื่อวานนี้ (1 ต.ค.) เป็นวันที่ฮ่องกงตำอยู่ท่ามกลางความรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่้ง และยังเป็นครั้งแรกที่ตำรวจใช้กระสุนจริงยิงเข้าใส่ผู้ประท้วง จนได้รับบาดเจ็บสาหัส

The Bangkok Insight มีสรุปให้ดูว่า ตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นบ้าง

การปะทะครั้งแรก

เหตุชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่สุดของเกาะฮ่องกง นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ที่ผู้จัดการชุมนุมอ้างว่า มีผู้มาเข้าร่วมด้วยมากกว่า 1 ล้านคนนั้น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน เพื่อแสดงพลังต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ที่เปิดทางให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปดำเนินคดีในจีนได้ และความรุนแรงเกิดขึ้น เมื่อผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งปะทะกับตำรวจ

000 1JA6RW

การชุมนุมรอบใหม่ในวันที่ 12 มิถุนายน ยังเกิดเหตุปะทะกันครั้งเลวร้ายสุด นับแต่การส่งมอบฮ่องกงคืนให้จีน โดยตำรวจใช้ทั้งแก๊สน้ำตา กระสุนยาง และไม้กระบอง ในความพยายามที่จะสลายฝูงชน ซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก และเสียชีวิต 1 ราย เพราะตกจากหลังคา ขณะพยายามขึ้นไปแขวนป้ายของกลุ่มต่อต้านคณะเจ้าหน้าที่บริหารเกาะฮ่องกง

ผู้ประท้วง 2 ล้านคน

แคร์รี หลำ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารเกาะฮ่องกง ระงับการนำเสนอร่างกฎหมาย เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน แต่กลุ่มผู้ประท้วงก็กลับมาใหม่ในวันรุ่งขึ้น เรียกร้องให้คณะเจ้าหน้าที่บริหารยกเลิกไป

กลุ่มผู้จัดการชุมนุม บอกว่า มีประชาชนราว 2 ล้านคนเข้าร่วมงานนี้

000 1I53VB

ในวันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบการกลับคืนสู่การปกครองของจีนนั้น ผู้ประท้วงหลายร้อยคนพากันบุกเข้าไปในอาคารที่ทำการสภานิติบัญญัติฮ่องกง ทำลายสิ่งของเสียหายจำนวนมาก

ทางการเอาจริง

วันที่ 21 กรกฎาคม ผู้สนับสนุนคณะเจ้าหน้าที่ฮ่องกง กลุ่มหนึ่ง ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นกลุ่มอันธพาล สวมหน้ากาก และใช้ไม้ เข้ารุมทำร้ายผู้ประท้วงภายในสถานีรถไฟ
จากนั้นในวันที่ 27 และ 28 กรกฎาคม เกิดการปะทะอย่างต่อเนื่องระหว่างตำรวจปราบจลาจลกับผู้ประท้วง

รัฐบาลปักกิ่ง และฮ่องกง เอาจริงมากขึ้น จับกุมผู้ประท้วงหลายสิบคน

im 101112
ภาพ : เอเอฟพี

ป่วนสนามบิน

การท่าอากาศยานฮ่องกงต้องยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมด ในวันที่ 12 สิงหาคม หลังผู้ประท้วงหลายพันคนบุกเข้าไปในสนามบิน

วันที่ 15 สิงหาคม กำลังทหารหลายพันนายทำการฝึกซ้อมที่เมืองเสิ่นเจิ้น ที่มีชายแดนติดฮ่องกง

000 1JI3DS

ยิงปืนครั้งแรก

วันที่ 25 สิงหาคม ตำรวจฉีดน้ำ และยิงกระสุนจริงเตือนเป็นครั้งแรก หลังในการปะทะระหว่าง 2 ฝ่าย กลุ่มผู้ประท้วงขว้างปาก้อนอิฐ และระเบิดขวดเข้าใส่เจ้าหน้าที่
ฮ่องกงจับกุมนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยชื่อดังหลายคน รวมถึง โจชัว หว่อง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม

wwww

ยกเลิกเสนอร่างกฎหมาย

วันที่ 4 กันยายน แคร์รี หลำ ประกาศถอนการนำเสนอร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนฉบับปรับปรุงใหม่ แต่ไม้ได้รับความสนใจจากบรรดานักเคลื่อนไหว ที่ได้เพิ่มข้อเรียกร้องเป็น 5 ข้อก่อนหน้านี้แล้ว รวมถึง การมีเสรีภาพมากขึ้น เรียกร้องให้สอบสวนตำรวจ และอภัยโทษให้ผู้ประท้วงที่โดนจับไปมากกว่า 1,000 คน

หาเสียงต่างชาติ

กลุ่มผู้ประท้วงพากันเดินขบวนไปยังสถานกงศุลสหรัฐ ในฮ่องกง เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา ขณะที่โจชัว หว่อง แกนนำนักเคลื่อนไหว เดินทางไปยังเยอรมนี ต่อด้วยสหรัฐ เพื่อหาเสียงสนับสนุน สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลจีนอย่างมาก

Hong Kong protests

วันที่ 15 กันยายน ผู้ประท้วงหลายหมื่นคนเมินคำสั่งห้ามชุมนุมของทางการ ส่วนหนึ่งไปชุมนุมด้านหน้าสถานกงสุลอังกฤษ เรียกร้องขอความคุ้มครอง สถานการณ์ที่ยิ่งสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลปักกิ่ง

รุนแรงเพิ่มขึ้น

วันที่ 22 กันยายน กลุ่มผู้ประท้วงพากันเข้าไปในห้างสรรพสินค้า บางส่วนบุกเข้าไปในสถานีรถไฟใต้ดิน ทำลายธงชาติจีน

หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารเกาะฮ่องกง ต้องเผชิญกับการแสดงความไม่พอใจอยู่นานเกือบ 2 ชั่วโมง ระหว่างการพบกับผู้แทนชุมชน 150 คน ในการเปิดเจรจาครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กันยายน

1x 1 2

วันที่ 29 กันยายน การเผชิญหน้ากันของตำรวจปราบจลาจล กับผู้ประท้วงรุนแรงที่สุดในรอบหลายสัปดาห์ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตา กระสุนยาง และฉีดน้ำ ต่อผู้ประท้วงที่มีก้อนอิฐ และระเบิดขวดเป็นอาวุธ

ผู้ประท้วงโดนยิง

shot

วันที่ 1 ตุลาคม ตำรวจใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ประท้วงเป็นครั้งแรก จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะเกิดเหตุปะทะกันทั่วเกาะฮ่องกงครั้งเลวร้ายสุดในรอบปี
อังกฤษ ระบุว่า การใช้กระสุนจริง ถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม

เหตุรุนแรงครั้งล่าสุดนี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังงานฉลองครบรอบ 70 ปี การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในกรุงปักกิ่ง

Avatar photo