World News

ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำชี้ โลกเผชิญความท้าทายยุคใหม่ แนะพลิกวิกฤตเป็นโอกาส

อนาคตของเศรษฐกิจโลก และความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับประเทศต่างๆ คือประเด็นที่นักการเมือง นักเศรษฐศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และนักลงทุนระดับแนวหน้า อภิปรายร่วมกันที่การประชุม Astana Economic Forum ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม ณ กรุงนูร์-ซุลตัน เมืองหลวงของคาซัคสถาน ภายใต้ธีม “ส่งเสริมการเติบโตของผู้คน เมือง และเศรษฐกิจ”

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ “Economic Research Institute” ได้จัดพิมพ์เผยแพร่บทวิเคราะห์ เรื่อง “คาซัคสถานกับโลกโลกาภิวัตน์: ความท้าทายและโอกาส” ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับการประชุม AEF โดยบทวิเคราะห์ดังกล่าวครอบคลุมถึงข้อเสนอแนะและมาตรการเชิงปฏิบัติเพื่อช่วยให้โลกเผชิญหน้ากับความท้าทายยุคใหม่

โลกร้อน1

ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญเกือบทุกท่านเห็นพ้องกันว่า โลกกำลังประสบกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก อันเนื่องมาจากสงครามการค้า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของตลาดแรงงานซึ่งมีสาเหตุมาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม แม้มีความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ถึงกระนั้นก็เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องหาปัจจัยการเติบโตให้พบ และมองหาทางออกให้กับวิกฤตการณ์เหล่านี้

สำหรับความเสี่ยงที่โลกเผชิญ รวมถึงสงครามการค้า การแข่งขันทางด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยคุกคามจากการพึ่งพาไซเบอร์ ความไม่เสมอภาคที่เพิ่มขึ้น และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย ส่งผลให้รัฐต่าง ๆ ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน

ทางออกในการแก้ไขปัญหานี้ เหล่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า โลกจำเป็นต้องเติบโตให้ได้อย่างยั่งยืนและทั่วถึงมากขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนทั่วโลก ความเป็นผู้ประกอบการแบบเกื้อกูลสังคมถือเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับความก้าวหน้าทางสังคม-เศรษฐกิจ เพราะช่วยสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ สำหรับธุรกิจ ตลอดจนปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

นอกจากนี้ยังให้ความเห็นว่า เมืองที่มีการจัดการและการวางแผนที่ดี สามารถใช้ประโยชน์จากความเป็นเมือง เพื่อสร้างการเติบโตและรักษาการเติบโตได้ เพราะเศรษฐกิจสมัยใหม่ไม่ได้มาพร้อมความเสี่ยงเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งโอกาสสำหรับการเติบโตด้วย โดยทุนมนุษย์ และเมืองสมัยใหม่ที่พัฒนาแล้ว สามารถสร้างการเติบโตในสภาวการณ์เหล่านี้ได้

เมืองอัจฉริยะ

นายมอริซ ออบส์เฟลด์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และอดีตหัวหน้านักเศรษฐกรของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า พลวัตทางการเมืองในปัจจุบันก่อให้เกิดวงจรของปัญหา ซึ่งหากไม่มีมาตรการดำเนินการร่วมกัน สภาพเศรษฐกิจและสังคมจะเสื่อมถอย

นางคริสทีน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการ IMF ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงและการบูรณาการทางเทคโนโลยีนำมาซึ่งประโยชน์ต่าง ๆ ผ่านการเพิ่มผลิตภาพและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันก็สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก และส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงาน

นายแร ควอน ชุง ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ กล่าวว่า ช่องว่างที่กว้างขึ้นระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความสมานฉันท์ทางสังคม และการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานคาร์บอนต่ำ นับเป็นปัญหาร้ายแรงที่เราไม่เคยเผชิญมาก่อน

 

Avatar photo