World News

‘สิงคโปร์’ เตือนแชร์ข้อมูล ‘บัตรเครดิต’ ทำ ‘ธุรกรรมออนไลน์’ เสี่ยงโดนหลอก

“สิงคโปร์” ออกคำเตือนผู้ใช้บัตรเครดิต ระมัดระวังในการเผยแพร่ข้อมูลขณะทำธุรกรรมออนไลน์ เสี่ยงโดนหลอกแบบ “ฟิชชิง” เชื่อมโยง “กระเป๋าเงินดิจิทัล” หลังพบเหยื่ออย่างน้อย 656 ราย ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว 

กรมตำรวจสิงคโปร์ (เอสพีเอฟ) สำนักงานความมั่นคงไซเบอร์สิงคโปร์ (ซีเอสเอ) และธนาคารกลางสิงคโปร์ (เอ็มเอเอส) ได้ออกคำเตือนประชาชน ให้ระมัดระวังในการให้ข้อมูลบัตรเครดิต เพื่อทำธุรกรรมออนไลน์

บัตรเครดิต

การออกคำเตือนข้างต้นมีขึ้น หลังมีรายงานพบการขโมยข้อมูลบัตรด้วยวิธีฟิชชิง (Phishing) ที่เชื่อมโยงกับกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือโมบายล์วอลเล็ต และอีคอมเมิร์ซ อย่างน้อย 656 กรณี ในไตรมาสที่ 4 หรือระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม ปี 2567

การขโมยข้อมูลบัตรเครดิตดังกล่าว รวมถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่มีรายงานว่าเหยื่อโดนขโมยข้อมูลบัตรเครดิต ผ่านเว็บไซต์ฟิชชิงที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ

จากนั้นมิจฉาชีพนำบัตรของเหยื่อ ผูกเข้ากับบัญชีแอปเปิ้ลวอลเลต (Apple Wallet) ของตนเอง และใช้กลลวงให้เหยื่อใส่รหัสโอทีพี (OTP) เพื่อยืนยันการเปิดใช้บัตรบนโมบายล์วอลเล็ตบนมือถือของมิจฉาชีพ

รายงานจากกองกำลังตำรวจ สำนักงานความมั่นคงทางไซเบอร์ และธนาคารกลางของสิงคโปร์ พบว่าเหตุการณ์หลอกลวงอย่างน้อย 502 กรณีนั้นเกี่ยวข้องกับแอปเปิ้ล เพย์ (Apple Pay) จากทั้งหมด 656 กรณีที่มีรายงาน

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า ทางการสิงคโปร์กำลังทำงานร่วมกับธนาคาร ผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัล อาทิ แอปเปิ้ล และผู้ให้บริการบัตร เครดิต เพื่อจัดการกับแนวโน้มอาชญากรรมนี้ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประชาชนไม่แชร์ข้อมูลบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิตกับผู้อื่น และระมัดระวังเมื่อทำธุรกรรมออนไลน์

ทั้งนี้ ฟิชชิง เป็นหนึ่งในการหลอกลวงทางโลกออนไลน์ที่พบได้บ่อยที่สุด และมีหลายรูปแบบ โดยการหลอกลวงประเภทนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการใช้กลอุบายหลอกล่อผู้ใช้งาน และการแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ธนาคาร หรือบัญชีโซเชียลมีเดีย ซึ่งมักจะแตกต่างจากของจริง มีการเปลี่ยนชื่อในลิงก์เพียงเล็กน้อยทำให้ไม่สังเกต

โดยมิจฉาชีพจะส่งอีเมลเพื่อขอให้เหยื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบธนาคาร หรือหน้าบัญชีอื่น ๆ เพื่อตรวจสอบ หรือยืนยันข้อมูลของตัวเอง โดยจะลิงก์ไปยังเพจปลอม 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

เว็บไซต์: https://www.thebangkokinsight.com/
Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
X (Twitter): https://twitter.com/BangkokInsight
Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg

Avatar photo