สถาบันสุขภาพและสวัสดิการแห่งออสเตรเลีย เผยแพร่ผลการศึกษาภาระโรคของออสเตรเลียประจำปี 2567 พบการมี “น้ำหนักตัวเกิน” กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ที่ทำให้เกิดโรคภัยในออสเตรเลียเป็นครั้งแรก
สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า ผลการศึกษาภาระโรคฉบับล่าสุดนี้ พบว่า 36% ของการสูญเสียชีวิตที่มีสุขภาพดี หรือที่เรียกว่าภาระโรคอาจหลีกเลี่ยง หรือลดลงเพราะปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
โดยการมีน้ำหนักเกิน รวมถึงโรคอ้วน กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อันดับ 1 แทนการใช้ยาสูบที่มีภาระโรคลดลง 41% นับตั้งแต่ปี 2546 เพราะความชุกของการสูบลดลง
ทั้งนี้ การมีน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงราว 8.3% ของภาระโรคทั้งหมดของออสเตรเลียในปีouh ตามด้วยการใช้ยาสูบ 7.6% และ 4.8% จากความเสี่ยงทางโภชนาการทั้งหมด โดยรายงานก่อนหน้านี้ของทางสถาบัน พบว่า เมื่อปี 2565 ผู้ใหญ่ราว 66% และ 26% ของเด็กและวัยรุ่นในออสเตรเลีย มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
ขณะเดียวกันผลการศึกษาล่าสุด ยังแสดงให้เห็นว่า มะเร็งยังคงเป็นกลุ่มโรคที่ก่อให้เกิดภาระโรคมากที่สุดในปี 2567 คิดเป็น 16.4% ของการสูญเสียชีวิตที่มีสุขภาพดีของออสเตรเลีย ขณะปัญหาสุขภาพจิต การฆ่าตัวตาย และการทำร้ายตัวเอง เป็นปัจจัยส่งเสริมการเกิดภาระโรคมากที่สุดในหมู่คนหนุ่มสาวชาวออสเตรเลีย
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- ‘คนอ้วน’ ระวัง! วิจัยพบน้ำหนักเกินเสี่ยงป่วยโควิด-19 ขั้นรุนแรง
- วิจัยพบ ‘อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง’ เอี่ยว ‘โรคอ้วน’ เพิ่มสูงในออสเตรเลีย
- ‘จีน’ เปิดคู่มือ ‘ตรวจคนน้ำหนักตัวเกิน’ ตั้งเป้าแก้ ‘วิกฤติโรคอ้วน’
ติดตามเราได้ที่
เว็บไซต์: https://www.thebangkokinsight.com/
Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
X : https://twitter.com/BangkokInsight
Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg