ผลศึกษาฉบับใหม่ พบ ประชากร “พะยูน” มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มขึ้น โดยจำนวนพะยูนลดลงมาเป็นเวลานับพันปีแล้ว และพะยูนในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกได้สูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมไปเมื่อไม่นานมานี้
สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า การศึกษาครั้งใหม่เกี่ยวกับดีเอ็นเอ (DNA) โบราณจากตัวอย่างพะยูนในพิพิธภัณฑ์ ได้สร้างแผนผังความหลากหลายทางพันธุกรรมของพะยูนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และสร้างแบบจำลองประชากรในอดีตของสัตว์ชนิดนี้
คณะผู้เขียนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ของนิวซีแลนด์ และมหาวิทยาลัยออสโลของนอร์เวย์ ระบุว่า ประชากรพะยูนทั่วโลกกำลังมีความหลากหลายลดลง และเสี่ยงได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น
ดังนั้นการเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับประชากรพะยูนทั่วโลก อาจช่วยให้สามารถบ่งชี้พะยูนกลุ่มเปราะบางพิเศษเพื่อจัดดับความสำคัญในการอนุรักษ์ โดยพะยูนมีความสำคัญทางวัฒนธรรม และเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมาเป็นเวลานับพันปี แต่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากมนุษย์อย่างมาก
คณะผู้เขียนกล่าวว่า กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างประชากรพะยูน ทำให้ไม่สามารถระบุประชากรที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการอนุรักษ์ได้
การศึกษาพบว่าพะยูนตะวันตกมีระดับการแปรผันทางพันธุกรรมต่ำกว่าพะยูนตะวันออก 10 เท่า และความหลากหลายนี้ได้ลดลงในช่วงศตวรรษที่ 20
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- ‘กรมทะเล’ รับซากพะยูนวัยรุ่นเกยตื้น คาดตายเพราะ ‘พิษเงี่ยงปลากระเบน’
- ‘อ.ธรณ์’ เปิด 7 ข้อควรคิดที่ ‘มาเรียม’ ฝากไว้!
- ‘ยูเอ็น’ วอน ‘หยุดทำลายระบบนิเวศ’ พืช-สัตว์ทะเลกว่า 1,550 ชนิดส่อสูญพันธุ์
ติดตามเราได้ที่
- เว็บไซต์: https://www.thebangkokinsight.com/
- Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
- X (Twitter): https://twitter.com/BangkokInsight
- Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
- Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg