Environmental Sustainability

(คลิป) กระบวนการสร้างความมั่นใจในโรงไฟฟ้าชีวมวล

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อม มีฐานการผลิตจากภาคเกษตรกรรม ในแต่ละปีจึงมีผลผลิตทางการเกษตรในปริมาณมาก เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น การแปรรูปผลผลิตเหล่านี้ จะมีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหลือมาจำนวนหนึ่ง สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตพลังงานไฟฟ้าได้

รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลมาตั้งแต่ ปี 2532 ตามนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจาก ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (Small Power Producers: SPP) ที่มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนร่วม โดยนำพลังงานความร้อนที่เหลือจากกระบวนการผลิต ไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายเข้าระบบจำหน่ายของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

การมีส่วนร่วมของชุมชน กระบวนการสร้างความมั่นใจในโรงไฟฟ้าชีวมวล

ความสำเร็จจากนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทำให้ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าชีวมวล 220 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้วกว่า 1,200 เมกะวัตต์ จำหน่ายให้กับการไฟฟ้า

ภาพลักษณ์อีกด้าน คือเกิดการต่อต้านจากชุมชนทุกครั้งที่มีโครงการเกิดขึ้น มีการร้องเรียนจากชุมชน ถึงความเดือดร้อนจากมลพิษทางอากาศ กลิ่น และ เสียง ทั้งจากโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เปิดดำเนินการ และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง สะท้อนถึงการขาดความเชื่อมั่นจากชุมชน โดยปัญหาที่พบ คือ การขาดการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม แม้จะมีกฎระเบียบกำหนดไว้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

การสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นหัวใจสำคัญ ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งในทางปฏิบัติมีความซับซ้อน มีขั้นตอน และใช้เวลา

การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมของ นับเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของโรงไฟฟ้าชีวมวล ทำให้เกิดความเข้าใจ การยอมรับ และมีส่วนร่วมในการจัดหาเชื้อเพลิงชีวมวล

ท้ายที่สุดทั้งผู้ประกอบการ และชุมชน ก็จะได้ประโยชน์จากโรงไฟฟ้า เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและชุมชน นับเป็นการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานอย่างแท้จริง

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight