Videos

Airborne คืออะไร? จริงหรือไม่? ‘โควิด-19’ สามารถติดโรคทางอากาศด้วย Airborne

หลายคนอาจเคยเห็นข้อความแชร์กันว่า ‘โควิด-19’ สามารถติดโรคทางอากาศด้วย Airborne ให้ระวังเชื้อโรคลอยอยู่ในอากาศ!! ความจริงในเรื่องนี้เป็นอย่างไร? ไปฟังคำตอบจาก รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเบื้องต้นกันก่อนดีกว่า…

Airborne คือละอองที่มีขนาดเล็กมาก (น้อยกว่า 5 ไมครอน) หรือละอองน้ำลาย-เสมหะที่ระเหยกระจายไปจนมีขนาดเล็ก และมีเชื้อโรคที่ยังมีชีวิตเกาะอยู่ ละอองนี้จะสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานและไกล เชื้อโรคที่สามารถแพร่เชื้อได้แบบนี้ที่แพทย์รู้จักมีเพียง 4 ชนิด ได้แก่ ไวรัสโรคหัด ไวรัสโรคสุกใส ไวรัสงูสวัด และแบคทีเรียวัณโรค

องค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องประกาศ ‘โควิด-19’ เป็น Airborne เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 โดยระบุว่า องค์การอนามัยโลก เตือนเฉพาะ ‘บุคลากรทางการแพทย์’ หลังจากมีการศึกษาใหม่พบว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Covid-19) มีชีวิตรอดในอากาศได้ใน ‘บางสถานการณ์’ จริงๆแล้วแทบไม่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวันได้เลย

ที่ องค์การอนามัยโลก ต้องออกมาเตือน บุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล เพราะว่าขั้นตอนการดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลบางขั้นตอนสามารถเปลี่ยน Droplet ให้กลายเป็น Airborne ได้ โดยขั้นตอนนั้นเรียกว่า ‘Aerosol-generating procedure’ หรือหัตถการที่ทำให้ เกิดละอองลอย (Aerosol) ซึ่งสามารถฟุ้งอยู่ในอากาศได้นาน

ที่มา: Facebook Page Mahidol Channel

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight