COVID-19

เครื่องฟอกอากาศ กรอง PM 2.5 กรองโควิดได้มั๊ย ‘หมอนิธิพัฒน์’ ตอบชัด อ่านด่วน!!

หมอนิธิพัฒน์ ไขข้อข้องใจ เครื่องฟอกอากาศชนิดเคลื่อนย้ายได้ นอกจากกรอง PM2.5 ได้ ยังสามารถลดโอกาสการหมุนเวียนของเชื้อในอากาศของห้องนั้นได้ 80% แนะดูประสิทธิภาพเครื่อง ขนาดห้อง ก่อนซื้อ

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล ตอบข้อสงสัย เครื่องฟอกอากาศชนิดเคลื่อนย้ายได้ กรองเชื้อโควิดได้หรือไม่ โดยระบุว่า

เครื่องฟอกอากาศ

“ไหน ๆ ก็อยู่ในสภาวะจำทน ที่ฝ่ายบริหารสถานการณ์โควิดจัดมาให้ คนไทยคงต้องทนอยู่กันยาวกับโรคระบาดนี้ไปอีกพักใหญ่

ปัญหาที่จะพบเจอกันต่อไปคือ เราจะทำลายเชื้อก่อโรคโควิด-19 ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ ภายในอาคารโรงพยาบาล สถานที่ทำงาน สถานที่สาธารณะ และในบ้านเรือนที่ใช้ระบบปรับอากาศ กันได้อย่างไร

หลังจากปากแข็งมากว่าปี ในที่สุด องค์การอนามัยโลก ก็ยอมรับว่าโรคโควิด-19 สามารถติดต่อกันได้ทางระบบการหายใจ (airborne) โดยการสูดเอาละอองลอย (aerosols) ที่มีไวรัสปนเปื้อนเข้าไป (WHO, 2021b. https://www.who.int/…/novel…/advice-for-public)

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องลดการแพร่กระจายเชื้อ ภายในอาคารที่มีการระบายอากาศแบบระบบปิด

หลายคนสงสัยว่า เครื่องฟอกอากาศชนิดเคลื่อนย้ายได้ (portable air cleaner, PAC) ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับกรอง PM2.5 จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ได้หรือไม่

จากการศึกษาในประเทสสเปน โดยการใช้ PAC ชนิดหนึ่งที่ใช้ HEPA filter ขนาดกรองอนุภาค 0.1 ไมครอน ได้ 99.95% สำหรับใช้ในห้องความจุไม่เกิน 82 ลูกบาศก์เมตร เมื่อตั้งเครื่องทิ้งไว้กลางห้อง (ให้ดูดอากาศได้รอบด้าน) ที่มีผู้ป่วยโควิดอยู่ สามารถลดโอกาสการหมุนเวียนของเชื้อในอากาศของห้องนั้นได้ 80% (Science of the Total Environment 2021 Sep 1;785:147300. doi: 10.1016/j.scitotenv.2021.147300. Epub 2021 Apr 29)

โควิด

อย่างไรก็ตาม ใครที่จะหาเครื่องฟอกอากาศ ไปใช้ลดปริมาณไวรัสโคโรนา-2019 ภายในอาคาร ต้องตรวจสอบให้แน่ใจถึง

1. ประสิทธิภาพของ HEPA filter

2. ความจุของห้อง ที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่อง

ที่สำคัญคือ วิธีการทำความสะอาดหรือการเปลี่ยน HEPA filter อย่างปลอดภัยจากการแพร่กระจายเชื้อที่ติดค้าง เนื่องจากเครื่องสำหรับใช้ที่บ้านนี้ ไม่มีระบบการฆ่าเชื้อที่ผ่านเข้าไปในเครื่องด้วยแสงยูวี เหมือนเครื่องที่ใช้ในโรงพยาบาล

สำหรับระบบระบายอากาศ ในอาคารของโรงพยาบาล และสถานที่สาธารณะ ยิ่งต้องให้ความสำคัญกันมาก เพราะถ้าไม่ทำให้ดีแล้ว จะทำให้ละอองลอยที่มีไวรัสปนเปื้อนฟุ้งกระจายไปได้ง่าย

โควิด1

นอกจากนั้นอาจมีการติด และสะสมตามท่อทางเดินของอากาศ ที่ใช้หมุนเวียนในห้อง จนอาจปนเปื้อนกับอากาศใหม่ที่เติมเข้ามา และถ้าไม่มีระบบการกรองอากาศที่ปล่อยทิ้งออกไปให้ดี ก็จะเกิดอันตรายต่อผู้คนที่อยู่ภายนอกอาคาร

ได้มีการพยายามหาวิธีการเพื่อใช้ทำลายเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ที่หมุนเวียน และไหลออกผ่านระบบระบายอากาศ ในสถานที่นั้น โดยผสมผสานกันระหว่างการใช้ HEPA filter ระบบการสร้างไฟฟ้าสถิต และการใช้แสงยูวี”

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo