COVID-19

ด่วน! ‘ล็อกดาวน์’ พื้นที่สีแดง งดเดินทาง 14 วัน เริ่มพรุ่งนี้

ศบค. เคาะมาตรการ  ‘ล็อกดาวน์’ งดเดินทาง 14 วัน เริ่มตั้งแต่วันพรุ่งนี้

วันนี้ (9 ก.ค.)  พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 9/2564 ผ่านระบบวิดีโอทางไกล

ที่ประชุม ศบค.ยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 ล็อกดาวน์ในพื้นที่เสี่ยงสูง จำกัดการเดินทางเป็นเวลา 14 วัน โดยพร้อมกำหนดเป้าหมายลดผู้ป่วยภายใน 2-4 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (10 ก.ค.)

ล็อกดาวน์

สำหรับร่างมาตรการที่ ศบค. เสนอให้นายกฯ พิจารณาในวันนี้ คือ การจำกัดการเดินทางออกจากบ้าน และไปในสถานที่เสี่ยง เพื่อลดการเคลื่อนที่ของประชาชน  ขอให้เวิร์คฟอร์มโฮม (WFH) 100 % ยกเว้นงานบริการที่จำเป็น และงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค และขอให้ประชาชน งดการเดินทางโดยไม่จำเป็น ยกเว้น เดินทางไปซื้ออาหาร ไปโรงพยาบาล และฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

ขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่เสียง 6 จังหวัด ไม่ออกนอกเคหะสถานช่วงเวลา 22.00-04.00 เว้นแต่มีความจำเป็น แต่จะไม่ประกาศเป็นเคอร์ฟิว

ห้างสรรพสินค้าจะอนุญาตให้เปิดได้เฉพาะส่วนซูเปอร์มาเก็ต แผนกขายยา แผนกอาหาร แผนกสินค้าเบ็ดเตล็ด ส่วนร้านสะดวกซื้อ จะมีกำหนดเวลาเปิดปิด

สำหรับโรงพยายาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านอาหารในส่วนที่ไม่ใช่สถานบันเทิง หรือสถานบริการ และแผงจำหน่ายอาหาร ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ร้านค้าทั่วไป ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ตลาดและตลาดนัดส่วนอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงรส อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ และสินค้าเบ็ดเตล็ด แก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส การให้บริการขนส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้า รวมทั้งบริการส่งสินค้า และอาหารตามสั่ง เปิดได้ตามปกติ

นอกจากนี้ ยังเน้นมาตรการป้องกันส่วนบุคคล การสวมหน้ากากอนามัย งดการคลุกคลีใกล้ชิดกัน หรือรับประทานอาหารร่วมกัน ทั้งในที่บ้าน และสถานที่ทำงาน

ทั้งนี้รายงานข่าวจากที่ประชุม ศบค. เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรค โควิด-19 สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (นครปฐมนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร) โดยให้มีการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ยึดหลักการ ประกอบด้วย

1. จำกัดการเดินทางของประชาชน ทั้งออกจากบ้านและข้ามจังหวัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยขอให้เวิร์คฟอร์มโฮม ( WFH) ให้มากที่สุด ยกเว้นงานบริการประชาชนและงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค  ขอความร่วมมือจากประชาชนงดการเดินทางโดยไม่จำเป็นยกเว้นการจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค การไปโรงพยาบาล ฉีดวัคซีนหรือมีความจำหรือมีความจำเป็นที่จะต้องออกไปทำงาน จำกัดการเดินทางข้ามจังหวัด ขอความร่วมมือ ผู้ประกอบการ ลดการจัดบริการยานพาหนะของ ขนส่งสาธารณะ ที่ต้องเดินทางจากพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งบกและอากาศการ ขนส่งยกเว้นการขนส่งสินค้า ลดการรวมตัวทำกิจกรรมร่วมกันทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน เช่นงดการจัดอบรด งดจัดประชุม งดจัดสอบหรือกลับเข้าสถานศึกษา

ล็อกดาวน์กรุงเทพฯ

2. ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคได้แก่ ปิดสถานที่เสี่ยงการติดโรค เช่น นวดแผนโบราณ ( ยกเว้นนวดเท้า) สปา สถานเสริมความงาม

ร้านสะดวกซื้อ ปิดเวลา 21.00-04.00 น. ห้างสรรพสินค้า เปิดได้เฉพาะร้านอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภค เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร ร้านเครื่องมือสื่อสาร ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ โดยเปิดได้จนถึงเวลา 21.00 น. ร้านอาหารเปิดขายได้แต่ห้ามบริโภคในร้าน ห้ามจำหน่ายสุราเปิดได้ไม่เกิน 21.00 น. ส่วนระบบขนส่งสาธารณะปิดเวลา 23.00-03.00 น. กำหนดเวลาปิดสวนสาธารณะ ในเวลา 21.00 น. 

3. ปรับแผนการฉีดวัคซีนไปต่างจังหวัด  และระดมการฉีดวัคซีนที่มีอยู่ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและโรคเรื้อรังในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

4. ปรับระบบบริการบริการตรวจคัดกรองและรักษาพยาบาล ให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดเร่ง เพิ่มบริการตรวจคัดกรอง และปรับระบบการบริการรักษาพยาบาลโดยเร่งให้มีการจัดบริการแบบ โฮม ไอโซเรชั่น และคอมมูนิตี้ ไอโซเรชั่น ให้เหมาะสมและเพียงพอกับสถานการณ์และเชื่อมโยงกับหน่วย บริการปฐมภูมิ เช่น คลินิกบริการอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร โดยมี สปสช. ในการจัดบริการ รวมทั้งให้หน่วยบริการจัดช่องทางด่วนในการตรวจคัดกรองและรักษาให้กับกลุ่มผู้สูงอายุผู้มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรัง

5. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐเอกชนภาคประชาสังคมและประชาชนในการป้องกันตนเองตรวจคัดกรองและดูแลรักษาพยาบาล ดังนี้ ขอความร่วมมือให้ประชาชนทุกคนเน้นมาตรการป้องกันส่วนบุคคลสวมหน้ากากอนามัยงดคลุกคลีใกล้ชิดกัน หรือรับประทานอาหารร่วมกันทั้งในบ้านและสถานที่ทำงาน  ภาคประชาสังคมในการจัดบริการในการจัดบริการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาพยาบาล

 

ล็อกดาวน์

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า  ระหว่างการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ได้พูดขึ้นว่า จะไม่รับเงินเดือนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อเอาเงินก้อนนี้ไปช่วยเหลือประชาชน

สำหรับอัตราเงินเดือนของนายกรัฐมนตรี อยู่ที่ 75,590 บาท บวกกับเงินประจำตำแหน่งต่อเดือน 50,000 บาท รวม 125,590 บาท ดังนั้น เมื่อนายกฯ ประกาศไม่รับเงิน3เดือน จะเท่ากับเงินจำนวนทั้งสิ้น 376,770 บาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo