The Bangkok Insight

สศช.เผยโควิดกระทบหนัก ไตรมาสแรกว่างงาน-หนี้ครัวเรือนพุ่ง

สศช.เผยโควิด-19 ระบาดกระทบหนัก การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น อัตราการว่างงานสูงขึ้น หนี้สินครัวเรือนเพิ่ม และ หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ยังอยู่ในระดับสูง

ภาวะสังคม

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคแห่งชาติ(สศช.) รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2564
การนาเสนอภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2564 พบว่า สถานการณ์แรงงานไตรมาสหนึ่ง ปี 2564 กำลังแรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 38.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.5 จากการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้อยู่นอกกำลังแรงงานอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ ผู้มีงานทำมีจานวนทั้งสิ้น 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม ที่ดูดซับแรงงานบางส่วนที่ถูกเลิกจ้างจากภาคเศรษฐกิจอื่นมาตั้งแต่ปี 2563 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตร มีการปรับตัวสูงขึ้นมาก จูงใจให้แรงงานย้ายเข้ามาทางานในภาคเศรษฐกิจนี้เพิ่มขึ้น โดยผู้มีงานทำภาคเกษตรกรรม มีจานวนทั้งสิ้น 11.07 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรม การจ้างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.6 โดยสาขาการผลิตอุตสาหกรรมมีการจ้างงานลดลงร้อยละ 2.2

สำหรับการว่างงานของแรงงานในระบบ พบว่า ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มีจำนวน 3.46 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.1 ของผู้ประกันตนมาตรา 33 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่การระบาดยังไม่รุนแรง แต่ปรับตัวลดลงจากครึ่งปีหลัง โดยเป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ ประมาณ 0.8 แสนคน ในเดือนมีนาคม 2564 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง และลูกจ้างของสถานประกอบการที่ขอใช้ มาตรา 75 ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 82,346 คน ลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกันกัน

หนี้ครัวเรือนขยายตัว ขณะที่คุณภาพสินเชื่อปรับตัวดีขึ้น แต่ยังเฝ้าระวังเนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อ ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ยังอยู่ในระดับสูงไตรมาสสี่ ปี 2563 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.02 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89.3 ต่อ GDP เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว

แม้หนี้ครัวเรือนจะขยายตัวในอัตราที่ช้าลง สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนยังระมัดระวังในการก่อหนี้ ด้านความสามารถในการชำระหนี้ ของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นแต่ยังต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ) ยังอยู่ในระดับสูง โดยในไตรมาสสี่ ปี 2563 สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ ร้อยละ 2.84 ลดลงจากร้อยละ 2.91 ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการดาเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วง ที่ผ่านมาของสถาบันการเงิน

อย่างไรก็ตาม สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษยังอยู่ในระดับสูง หรือมีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวม ร้อยละ 6.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน สะท้อนถึงความสามารถในการชาระหนี้ของครัวเรือนบางกลุ่มด้อยลง และมีโอกาสที่จะกลายเป็นหนี้เสียมากขึ้น

แนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนในปี 2564 คาดว่าสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP จะยังคงอยู่ในระดับสูง จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับไปในระดับก่อน COVID-19 ประกอบกับตลาดแรงงานอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของแรงงานและทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมากขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อย ทำให้ปี 2564 ครัวเรือนจะระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะการชะลอการซื้อสินค้าในกลุ่มสินค้าคงทน ทำให้ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยและรถยนต์ชะลอตัวลง

ขณะที่ความต้องการสินเช่ือบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลอาจปรับตัวเพิ่มขึ้น จากปัญหาการขาดสภาพคล่อง รวมทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ อาทิ ธนาคารออมสิน

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างเหมาะสม ควบคุมดูแลการให้สินเชื่อให้สอดคล้องกับ ระดับรายได้ รวมทั้งเฝ้าระวังการก่อหนี้นอกระบบโดยเฉพาะกับครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ควบคู่ไปกับการส่งเสริม การจ้างงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้ และสามารถรักษาระดับการบริโภคไว้ในระดับเดิม

อ่านเพิ่มเติม:

Avatar photo