The Bangkok Insight

กนง.ชี้โควิด-19 ระลอก 3 กระทบหนัก ‘คนตกงาน-เสี่ยงผิดชำระหนี้’ เพิ่ม

เปิดรายงานกนง. ประเมินเศรษฐกิจไทยกระทบหนักจาก COVID-19 ระลอกที่ 3 กระทบแรงงานอิสระและภาคบริการ ขณะที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการชำระหนี้

กนง.

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอจากการระบาด COVID-19 ระลอกที่ 3 กระทบหนักแรงงาน และการชำระหนี้ของครัวเรือนและเอสเอ็มอี

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงมากจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 3 ที่รุนแรงกว่าระลอกที่ 2 ซึ่งกระทบการใช้จ่ายในประเทศและแนวโน้มการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจากผลของมาตรการควบคุมการระบาดและการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ระบาดเป็นวงกว้างง่ายขึ้น ส่งผลให้การควบคุมการแพร่ระบาดทาได้ยากขึ้นและระยะเวลาที่ใช้ในการฉีดวัคซีนให้ถึงระดับสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) นานขึ้น

Screen Shot 2564 05 19 at 11.16.26

ขณะที่ตลาดแรงงานมีแนวโน้มเปราะบางขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างในภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพ อิสระที่มีรายได้ลดลง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยมีแรงขับเคลื่อนสาคัญจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดี ทุกหมวดและทุกตลาดส่งออกตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้า แต่การส่งออกสินค้าที่ปรับดีขึ้นส่งผลดีต่อ การจ้างงานจากัด เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่เลือกการเพิ่มชั่วโมงทำงานแทนการจ้างงานเพิ่ม อีกทั้งธุรกิจส่งออกมีสัดส่วนการจ้างงานไม่มากเมื่อเทียบกับกาลังแรงงานทั้งหมด

นอกจากนี้ มาตรการเยียวยาและมาตรการ การเงินเพิ่มเติมของภาครัฐจะมีส่วนสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้น แม้แรงกระตุ้นภาครัฐใน ปีงบประมาณ 2565 อาจลดลงบ้างจากการเร่งเบิกจ่าย พ.ร.ก. กู้เงินในปีงบประมาณปัจจุบันเพื่อเยียวยาผลกระทบจากการระบาดระลอกที่ 3

สาหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเร่งขึ้นชั่วคราวในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 จากฐานราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ด้านการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย 

มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความเสี่ยงสำคัญ ได้แก่

  • การจัดหาและกระจายวัคซีน รวมถึงประสิทธิผลของวัคซีนที่จะส่งผลต่อระยะเวลาที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
  • การฟื้นตัวที่แตกต่างกันและไม่ทั่วถึงมากขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ส่งผลให้ตลาดแรงงานเปราะบางมากขึ้นจากแรงงานบางส่วนที่ว่างงานนานขึ้น ซึ่งจะกระทบศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวหลังการระบาดสิ้นสุดลง (scarring effects)
  • ฐานะการเงินที่เปราะบางเพิ่มเติม โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และธุรกิจท่องเที่ยวที่มีความสามารถในการชาระหนี้ลดลงตามรายได้ที่ลดลง อีกทั้ง บางธุรกิจที่ฐานะการเงินเปราะบางอยู่ก่อนแล้วและถูกซ้ำเติมจากการระบาดระลอกใหม่อาจมีสภาพคล่อง ไม่เพียงพอ
  • ความต่อเนื่องของแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ 

กระทบหนักรายได้ เสี่ยงผิดชำระมากขึ้น

เสถียรภาพระบบการเงินที่เปราะบางอยู่ก่อนแล้วได้รับผลกระทบเพิ่มเติมภาคครัวเรือนไทยเปราะบางมากขึ้นจากที่มีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้สูงอยู่ก่อนแล้วและสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้อุปโภคบริโภคที่อัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้ภาระผ่อนชำระต่อเดือนสูง

นอกจากนี้ ภาคครัวเรือนมีสัดส่วนเงินออมต่อรายได้ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระและลูกจ้างในภาคบริการ ทำให้สามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้ลดลง

หนี้ครัวเรือน

มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่จะซ้ำเติมรายได้และ ฐานะทางการเงินของลูกหนี้ที่เปราะบางอยู่แล้ว ทำให้ลูกหนี้มีความเสี่ยงในการชาระคืนหนี้ (debt at risk) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

Screen Shot 2564 05 19 at 11.17.13

ทั้งนี้ หากไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังมูลหนี้อื่น (cross default) ได้ อย่างไรก็ดี การประเมินพบว่าผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวต่อเสถียรภาพระบบการเงินในภาพรวมยังมีจำกัด แต่ยังต้องติดตามคุณภาพหนี้ครัวเรือนที่อาจด้อยลง รวมถึงความเสี่ยงที่สถาบันการเงินอาจชะลอการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคครัวเรือนและธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตสูงขึ้น ในระยะข้างหน้า 

การดำเนินนโยบายการเงิน 

คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง 

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงมากจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 3 ซึ่งส่งผลให้ฐานะทางการเงินของภาคเอกชนบางกลุ่มโดยเฉพาะ SMEs และภาคครัวเรือนเปราะบางมากขึ้น จึงควรเน้นมาตรการช่วยเหลือที่ตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับปัญหา

โดยประเด็น สำคัญของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องของระดับอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในระดับต่ำแล้ว

โจทย์สำคัญคือการกระจายสภาพคล่องในระบบธนาคารที่มีอยู่มากไปสู่ธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่ให้ทั่วถึง จึงควรใช้มาตรการด้านการเงินและสินเชื่อควบคู่กับกลไกการค้าประกันสินเชื่อ รวมทั้งเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะช่วยลดภาระทางการเงินได้อย่างตรงจุดมากกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำและ อาจช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ไม่มาก

Screen Shot 2564 05 19 at 11.16.52

คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ในการประชุมครั้งนี้ และรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัดเพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด 

คณะกรรมการฯ จะติดตามตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพิจารณาความ จำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

นอกจากนี้ แม้คณะกรรมการฯ ประเมินว่าแรงกดดันต่อค่าเงินบาทลดลงตาม แนวโน้มการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2564 แต่เห็นควรให้ผลักดันนโยบายการปรับ FX ecosystem อย่างต่อเนื่องเพื่อปรับโครงสร้างของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนไทยในระยะยาว โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าการส่งเสริมให้กลุ่มนักลงทุนสถาบันของไทยออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มขึ้นจะช่วยสนับสนุนเงินทุนเคลื่อนย้ายขาออกและทาให้เงินทุนเคลื่อนย้ายของไทยไหลเข้าออกอย่างสมดุลมากขึ้น 

คณะกรรมการฯ เห็นว่าความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการระบาดระลอกใหม่ โดยควรเร่งมาตรการจัดหาและกระจายวัคซีนเพื่อควบคุมไม่ให้การระบาดยืดเยื้อและลดต้นทุนต่อเศรษฐกิจ มาตรการการคลังควรรักษาความต่อเนื่องของแรงกระตุ้นทางการคลังและลดผลกระทบของการระบาด โดยเฉพาะการเร่งอนุมัติและเบิกจ่ายภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ยังเหลือ นโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟู ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่ออกมาเพิ่มเติมควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดเพื่อลดภาระหนี้และสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง

วัคซีนโควิด

นอกจากนี้ ภาครัฐควรร่วมกันผลักดันนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจกับภาคเอกชนเพื่อปรับรูปแบบธุรกิจและยกระดับทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลัง COVID-19 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจใน ระยะยาว 

ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน

คณะกรรมการฯ ยังคงให้น้าหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยจะติดตามสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 3 ประสิทธิผลและการกระจายวัคซีน การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ความเปราะบางในตลาดแรงงาน รวมทั้งความต่อเนื่องและความเพียงพอของมาตรการภาครัฐและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ออกมาแล้วใน การดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น 

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo