The Bangkok Insight

ทำความรู้จัก ‘โคโรนากลายพันธุ์’ มหันตภัยใหม่จากโควิด ‘ติดง่าย-แพร่เร็ว-รักษายาก’

กระทรวงสาธารณสุขกำลังติดตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งใหม่ในไทย นอกจากการสกัดการแพร่เชื้อในวงกว้างแล้ว ทั้สำคัญขณะนี้คือ การแพร่ระบาดครั้งนี้จะเกิดการกลายพันธุ์หรือไม่ 

โควิดกลายพันธุ์

 

ในช่วงนี้ คำถามที่เจอบ่อยที่สุด คือ จะเกิด”โควิด-19 กลายพันธุ์”ในประเทศไทยหรือไม่ เมื่อการแพร่ระบาดยังไม่สิ้นสุด แต่กลับลุกลามมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับการตั้งสมญานามใหม่ของไวรัสสายพันธุ์โน้นนี่ รวมทั้งที่เรียกกันเล่น ๆ ว่า สายพันธุ์ทองหล่อ

ความวิตกการกลายพันธุ์สร้างความปวดหัวให้กับคนในแวดวงวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ทั่วโลก รวมทั้งผู้ผลิตวัคซีน ว่าจะสามารถรับมือกับการกลายพันธุ์ได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะบรรดาวัคซีนที่ทยอยออกมาจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่

โควิดกลายพันธุ์ต่างไปจากต้นกำเนิดอย่างไร

ตามความรู้ทางการแพทย์ ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ด้วยตัวมันเอง ไวรัสโคโรนาเข้าไปสู่เนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตและใช้สารอาหารในเซลล์ในการดำรงชีวิต ดังนั้นมีโอกาสไม่มากนักที่สารพันธุ์กรรมที่เรียกว่า RNA จะเกิดการบิดเบี้ยว ซึ่งอาการบิดเบี้ยวนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แม้โอกาสไม่มากนัก แต่ก็เกิดขึ้นได้ เราเรียกสิ่งนี้ว่า การกลายพันธุ์

จากการศึกษาพบว่าการกลายพันธุ์มีโอกาสเกิดขึ้นอยู่แล้ว เมื่อการระบาดในวงกว้างออกไป นักวิททยาศาสตร์บางคนบอกว่ามันมีโอกาสกลายพันธุ์ในทุกสองสัปดาห์หลังจากที่เกิดการแพร่เชื้อ แต่บางครั้งในระหว่างการแพร่เชื้อก็มีผลต่อส่วนสำคัญของสารพันธุกรรมของไวรัส ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อไวรัสโคโรนา

องค์การอนามัยโลกเรียกไวรัสกลายพันธุ์นี้ว่า “variants of concern” (VOC) ซึ่งได้ตรวจพบในสหรัชอาณาจักร อแฟริกาใต้และบราซิล

ลักษณะร่วมที่ค้นพบคือ มีส่วนของการกลายพันธุ์ที่มีผลต่อส่วน “เกาะเกี่ยว” ของตัวไวรัส เมื่อสัมผัสกับเนื้อเยื่อของคนเรา ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการกลายพันธุ์ตรงนี้ ทำให้ไวรัสโคโรนาแพร่ระบาดง่ายขึ้น เร็วขึ้น กว่าสายพันธุ์เดิมที่เป็นต้นกำเนิด

ตอนนี้…เราพบการกลายพันธุ์กี่แบบ?

การจัดประเภทของไวรัส “กลายพันธุ์” เป็นไปตามส่วนของสารพันธุ์กรรมข้างต้น นับตั้งแต่มีการระบาดจาก “อู่ฮั่น”

  • สายพันธุ์อังกฤษ

การกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์อังกฤษ ตรวจพบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 และจากนั้นมาก็แพร่ระบาดไปทั่วโลก รวมถึงไทย เป็นสายพันธุ์ที่พบโดยทั่วไปกับคนติดเชื้อในอังกฤษในช่วงหลัง ขนานนามอย่างเป็นทางการว่า “VOC-202012/01.”

สายพันธุ์นี้ เรียกว่า N501Y ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตรงตัว “เกาะเกี่ยว” ของไวรัส ทำให้เกาะเกี่ยวเนื้อเยื่อของคนได้ดียิ่งขึ้น

  • สายพันธุ์อาฟริกาใต้

การกลายพะนธุ์ที่พบในอาฟฟริกา เรียกกันว่า “501Y.V2” มีส่วนที่คลายกับการกลายพันธุ์ N501Y ที่พบในอังกฤษ แต่การกลายพันธุ์ในอาฟริกาใต้ เรียกกันว่า E484K

  • สายพันธุ์บราซิล

สายพนธุ์นี้ เจอครั้งแรกในเดือนมกราคมที่ผ่านมาในพื้นที่กักกันของญี่ปุ่น โดยเป็นผู้โดยสารจากบราซิล มันมีทั้งการกลายพันธุ์ N501Y และ E484K แต่มีลักษณะเหมือนกับการกลายเป็นพันธุ์จากอาฟริกาใต้

  • การหลายพันธุ์อีกหลายประเทศ

การหลายพันธุ์จาก 3 ประเทศข้างต้น สร้างความกังวลให้กับวงการแพทย์และผู้ผลิตวัคซีน เพราะติดเร็วกว่าไวรัสต้นกำเนิด และลดประสิทธิภาพวัคซีนโควิด แต่ก็มีการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลกนับตั้งแต่การระบาด เพราะต้องเข้าใจว่าการกลายพันธุ์เป็นเรื่องปกติของไวรัส เพียงแต่จะรุนแรงแค่ไหน

การกลายพันธุ์ที่เรียกว่า N501Y พบในฟิลิปปินส์ ขณะที่การกลายพันธุ์ E484K ตรวจพบในญี่ปุ่น รวมถึงการกลายพันธุ์อื่น ๆ ยังตรงพบในสหรัฐ ยิ่งคนติดเชื้อมากขึ้น โอกาสการกลายพันธุ์ก็ยิ่งมากขึ้น

ล่าสุด วงการแพทย์บอกว่ามีการกลายพันธุ์ในอินเดีย ซึ่งขณะนี้กำลังรอการตรวจสอบของบรรดานักวิทยาศาสตร์และแวดวงทางการแพทย์ถึงระดับความรุนแรงว่าจะมากแค่ไหน เมื่อเทียบกับการกลายพันธุ์ที่อื่น

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo