The Bangkok Insight

มาตรการ “พักทรัพย์ พักหนี้” เหมาะกับลูกหนี้ธุรกิจแบบใด

มาตรการ “พักทรัพย์ พักหนี้” เป็นหนึ่งในมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่จะเหมาะกับลูกหนี้ธุรกิจแบบใด

พักทรัพย์ พักหนี้

ตามมติคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564 อนุมัติหลักการของร่างพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 (พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ) ซึ่งประกอบด้วย 2 มาตรการช่วยเหลือ ได้แก่ (1) มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) และ (2) มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (โครงการพักทรัพย์ พักหนี้)

กระทรวงการคลัง และ แบงก์ชาติได้เตรียมความพร้อมกับสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถกระจายเม็ดเงินไปสู่ลูกหนี้ได้อย่างรวดเร็ว โดยขอให้สถาบันการเงินรับคำขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือจากลูกหนี้ได้ตั้งแต่ พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ) มีผลบังคับใช้ 

ตามมาตรการ “พักทรัพย์ พักหนี้” จึงเหมาะกับธุรกิจที่มีสินทรัพย์ใช้เป็นหลักประกันกับสถาบันการเงิน โดยตามมาตรการนี้สถาบันการเงินจะรับโอนทรัพย์ ซึ่งเจ้าของหลักทรัพย์มีสิทธิในการซื้อคืนภายหลัง

ตามมาตรการนี้ ลูกหนี้จะจ่ายเป็น “ค่าเช่า” ระหว่างที่ทำสัญญาตามมาตรการ ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมในเรื่องการดูแลหลักทรัพย์ไว้ และข้อดีของมาตรการนี้ ลูกหนี้สามารถซื้อหลักทรัพย์คืนได้ โดยเอาค่าเช่าที่จ่ายไปแล้วหักได้ด้วย

พักหนี้

สำหรับลูกหนี้ที่ต้องการเข้ามาตรการนี้ สามารถติดต่อสถาบันการเงินได้

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปัจจุบันที่มีความไม่แน่นอนสูง และยังคงแพร่ระบาดเป็นวงกว้างนั้น แบงก์ชาติไม่ได้นิ่งนอนใจ อยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบในด้านต่าง ๆ โดยพร้อมที่จะออกมาตรการช่วยเหลือที่จำเป็นเพิ่มเติมจากมาตรการฟื้นฟูฯ ในครั้งนี้

นอกจากนี้ สำหรับการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย แบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และหารือกับผู้ให้บริการทางการเงิน สมาคม ชมรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลลูกหนี้รายย่อยผ่านมาตรการการให้ความช่วยเหลือและมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้อย่างต่อเนื่อง 

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo