The Bangkok Insight

ส่อง 3 เทคโนโลยีมาแรง ปี 64 ‘คลาวด์-เอไอ-ซัพพลายเชนระบบดิจิทัล’

3 เทคโนโลยีมาแรง ปี 64 อินฟอร์ ชี้ คลาวด์ช่วยมอบประสบการณ์รับชม เอไอ เข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการจ้างงาน และการพัฒนาดิจิทัลซัพพลายเชน

นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานบริษัท อินฟอร์ อาเชียน เปิดเผยถึง 3 เทคโนโลยีมาแรง ปี 2564 เริ่มจาก เทคโนโลยีคลาวด์ ที่จะมาสร้างประสบการณ์ใหม่ ให้กับการจัดการแข่งขันต่าง ๆ เห็นได้จาก การจัดแข่งขันเทนนิสยูเอสโอเพ่นปีนี้ ที่ประสบความสำเร็จในการนำระบบคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ยกระดับประสบการณ์เสมือนจริง ให้กับเหล่าแฟนคลับ ที่ไม่สามารถอยู่ในสนามแข่งขันจริงได้

3 เทคโนโลยีมาแรง

ต่อจากนี้ จะได้เห็นการจัดงานต่าง ๆ ที่ต้องจัดในสถานที่ หันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อมอบประสบการณ์ที่เหมาะสม กับผู้รับชมแต่ละรายมากขึ้น

การแข่งขันสำคัญหลายรายการที่วางแผนไว้ในปีหน้า (2564) จะดึงดูดความสนใจผู้คนจากทั่วโลก เช่น การแข่งขันโอลิมปิคฤดูร้อนที่กรุงโตเกียว และการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน และแน่นอนว่าเทคโนโลยีคลาวด์ก็พร้อมพลิกโฉมประสบการณ์ในการชมการแข่งขันที่แฟน ๆ ทั่วโลกเคยได้รับอยู่ในปัจจุบัน ด้วยการสร้างประสบการณ์การรับชมรูปแบบใหม่อย่างเต็มรูปแบบ

ความเป็นไปได้ ในการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ มาทรานส์ฟอร์มการจัดงานต่าง ๆ นั้นมีมากมายมหาศาล เช่น การวิเคราะห์ความตื่นเต้นของกลุ่มผู้ชมแบบเรียลไทม์ เพื่อนำเสนอเป็นไฮไลท์ และจัดการเรื่องการโฆษณา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ, การฟีดรายการสดได้ ด้วยความหน่วง (latency) ที่ต่ำมาก และการโต้ตอบกับกลุ่มผู้ชมที่เลือกไว้ และแน่นอนว่า การทำกิจกรรมทั้งหมดนี้ โฮสต์อยู่บนแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ทรงพลัง

Infographic 3 Predictions TH

นอกจากนี้ การใช้โซลูชั่น multi-tenant คลาวด์ จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ อัปเดตโซลูชั่นต่าง ๆ ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด โดยไม่ต้องกังวลว่า จะต้องทำการอัปเดตแบบแมนนวลด้วยตนเองหรือต้องเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ เพื่อให้รองรับแอปพลิเคชั่น หรือเวิร์กโหลดใหม่ ๆ

การที่เรากำลังจะก้าวเข้าสู่ปีใหม่ ที่ดูเหมือนจะมีความไม่แน่นอนมากขึ้น โซลูชั่น multi-tenant cloud จะเป็นเทคโนโลยีสำคัญ ที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจมีความคล่องตัว และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ และช่วยให้ธุรกิจเข้าใกล้เป้าหมาย ด้านความยั่งยืนมากขึ้น

AI จะทำให้กระบวนการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไป

ตลาดแรงงานปี 2564 ที่ไม่สามารถคาดการณ์ใด ๆ ได้ ทำให้องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไปช่วยในการเฟ้นหาผู้สมัคร ที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน

AI จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคล ทำงานเชิงรุกในการจ้างงานได้มากขึ้น และช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ว่า ผู้สมัครใดเข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กรของบริษัท ด้วยการใช้ข้อมูล เพื่อวัดคุณภาพของการจ้างงานแต่ละครั้ง

 

Recruitment Pic

นวัตกรรมต่าง ๆ เช่น ซอฟต์แวร์ในการคัดกรองอัจฉริยะ ที่สามารถคัดกรองใบสมัครได้แบบอัตโนมัติ แชทบอทที่ทำหน้าที่เป็นผู้สรรหาพนักงาน ที่สามารถนัดหมายกับผู้สมัคร ได้แบบเรียลไทม์ และการสัมภาษณ์แบบดิจิทัลที่ทำผ่านออนไลน์ ซึ่งช่วยให้สามารถประเมินความเหมาะสม ของผู้สมัครแต่ละรายได้ จะเริ่มกลายเป็นวิธีการทำงานปกติของแผนกทรัพยากรบุคคล

AI ยังมีศักยภาพสูงมาก ในการสร้างเวิร์กสเปซ ที่หลากหลายและครบวงจร สามารถลดอคติ และเพิ่มความเป็นกลาง ในการตัดสินใจเรื่องการจ้างงาน ผ่านอัลกอริทึ่มต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งจะแยกแยะคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันของผู้สมัครแต่ละคนออกมาให้เห็น

ตลอดปี 2564 จะมีการนำ AI ไปใช้กับการดูแลสุขภาพ ในหลายด้านอย่างรวดเร็ว การใช้แมชชีนเลิร์นนิ่ง กับชุดข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกได้แบบเรียลไทม์ จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ สามารถติดตามการสัมผัสระหว่าง เจ้าหน้าที่ กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้อย่างละเอียด

ขณะเดียวกัน ยังช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ, ใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ในการติดตามอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (personal protective equipment: PPE), จัดสรรบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาการให้วัคซีนให้มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนมากขึ้น

ซัพพลายเชนจะกลายเป็นระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็ว

โควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรง ทำให้ดิจิทัลซัพพลายเชน พัฒนาอย่างรวดเร็วในปี 2564 มุมมองเดิม ๆ ของผู้รับผิดชอบด้านซัพพลายเชน ที่เกี่ยวกับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น คือ เน้นไปที่เรื่องของประสิทธิภาพและค่าใช้จ่าย แต่ปัจจุบัน จะเปลี่ยนไปเน้นในเรื่องของ ความคล่องตัว และความยืดหยุ่น

ขนส่ง

นั่นคือ จุดที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้อง ดิจิทัลซัพพลายเชน จะช่วยให้ธุรกิจหนึ่ง ๆ ที่ประกอบด้วยองค์กรหลายแห่งทำงานร่วมกัน (multi-enterprise) สามารถเห็น และรับรู้ความเป็นไปในการทำงาน ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ สามารถวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ได้ดีขึ้น และใช้ระบบอัตโนมัติ ที่ชาญฉลาดได้มากขึ้น

ขณะที่ ผู้รับผิดชอบด้านซัพพลายเชน จะสามารถปรับ และใส่ความยืดหยุ่น ให้กับระบบซัพพลายเชนของตนได้ตามความต้องการของตลาด และใช้ระบบนิเวศด้านพันธมิตร ให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น

เครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ เหล่านี้ ครอบคลุมตั้งแต่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยี ที่ผสานระหว่างโลกความจริง และความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน (AR) และการทำงานอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ ที่มนุษย์เป็นผู้ออกแบบ กระบวนการและขั้นตอน รวมถึงการตัดสินใจต่าง ๆ (robotic process automation: RPA) และคาดว่าจะยกระดับศักยภาพที่มีอยู่ในช่วงต้นให้เป็นการนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่น่าสนใจและมีอิทธิพลต่อลูกค้าเป็นอย่างมาก

การถูกดิสรับ (disruptions) ของระบบซัพพลายเชน อย่างไม่น่าเชื่อที่เกิดขึ้นในปี 2563 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การจับคู่ความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการ ที่มีในตลาด ณ ขณะใดขณะหนึ่งเข้าด้วยกันได้ แบบเรียลไทม์ และการคาดการณ์ต่าง ๆ ไม่ใช่งานที่มนุษย์จะทำได้สำเร็จเพียงลำพังอีกต่อไป มันไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไปที่จะมาคาดหวังให้ผู้รับผิดชอบด้านซัพพลายเชนทำการคาดการณ์ถึงการปิด-เปิดของตลาดในประเทศใดประเทศหนึ่งอย่างฉับพลัน หรือให้มาอธิบายถึงวัสดุ และค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยคาดเดาไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ ขอบเขตและข้อจำกัดด้านการขนส่งและการเดินทางของภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ในปี 2564 เราจะได้เห็นผู้บริหารด้านซัพพลายเชนเร่งนำ AI มาใช้เพิ่มพูนประสบการณ์ และเสริมความมั่นใจในการทำงานให้กับพนักงาน, ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์เกี่ยวกับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงให้กับพนักงานของตน เพื่อให้สามารถคาดการณ์อุปสงค์ และอุปทานแบบเรียลไทม์ได้อย่างแม่นยำ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo