Stock

เปิดพอร์ตศูนย์การค้าของ ‘แอสเสท เวิรด์’ หุ้นอสังหาฯ เครือ ‘เจริญ สิริวัฒนภักดี’

เปิดพอร์ตศูนย์การค้าของ “แอสเสท เวิรด์” หุ้นอสังหาฯ เครือ”เจริญ สิริวัฒนภักดี” ทุ่มกว่า 4,000 ล้านบาท  ซื้อสิทธิสัญญาเช่า ศูนย์การค้า เกทเวย์ เอกมัย

หลังจากที่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” ได้ประกาศทุ่มเงินกว่า 4,000 ล้านบาท เข้าซื้อสิทธิสัญญาเช่าศูนย์การค้า  เกทเวย์ เอกมัย (Gateway Ekamai) จากบริษัท ทิพย์พัฒน อาร์เขต จำกัด เพื่อเดินหน้าขยายพอร์ตธุรกิจศูนย์การค้าของบริษัทให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น 

ความน่าสนใจก็คือโครงการเกทเวย์ เอกมัย นับเป็นกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าโครงการที่ 9 ของ AWC แล้ว บทความนี้เราเลยถือโอกาสมาพามาดูกันว่า ปัจจุบัน AWC มีศูนย์การค้าอะไรอยู่ในมือบ้าง และแต่ละแห่งมีจุดเด่นอย่างไร

แอสเสท เวิรด์

 อาณาจักร “แอสเสท เวิรด์”

1. ศูนย์การค้าเกทเวย์ เอกมัย (Gateway Ekamai)

โครงการล่าสุดที่ AWC เข้าลงทุน ศูนย์การค้าครบวงจรที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ และชีวิตประจำวันของทุกคนในครอบครัว ภายใต้คอนเซปต์ “SIMPLY COMPLETE YOUR URBAN HAPPINESS” ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองบนถนนสุขุมวิท ย่านเอกมัย แหล่งธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ และเป็นศูนย์รวมที่พักอาศัยของชาวไทยและชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ยังพร้อมด้วยการเดินทางที่สะดวกสบายติดรถไฟฟ้า 

ทำให้ AWC ตั้งเป้าสร้างรายได้กระแสเงินสดเพิ่มจากโครงการนี้กว่า 1,000 ล้านบาทใน 5 ปี พร้อมวางแผนยกระดับใน 3 ส่วนหลัก ประกอบด้วย

1. The Master in Food แหล่งรวมร้านอาหารชั้นนำที่รวบรวมเมนูเด่นจากทั่วทุกมุมโลก

2. The Master in Fashion ศูนย์รวมแฟชั่นรูปแบบใหม่ ด้วยสินค้าแบรนด์แฟชั่นทันสมัยที่หลากหลายจากทั้งแบรนด์ไทยและแบรนด์ต่างประเทศ

3. The Master in Family สถานที่ที่ตอบโจทย์ทุกกิจกรรมของทุกคนในครอบครัว 

2. ศูนย์การค้าเกทเวย์ แอท บางซื่อ  (Gateway At Bangsue)

ศูนย์การค้าครบวงจรแห่งเดียวย่านบางซื่อ ด้วยคอนเซ็ปต์ “Family Quality Time” มุ่งเน้นความหลากหลายของสินค้าและบริการ ถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบางโพ สถานีเตาปูน และสถานีกลางบางซื่อ รวมถึงท่าเรือบางโพที่จะเชื่อมต่อทุกช่องทางการเดินทาง 

3. โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ (Asiatique The Riverfront)

หนึ่งในแลนด์มาร์กของประเทศไทย ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้แนวคิด “Heritage Alive” เพื่อรองรับและตอบทุกโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

แอสเสท เวิรด์
ภาพ: https://www.facebook.com/Asiatique.Thailand/photos

4. ลาซาล อเวนิว (Lasalle’s Avenue)

คอมมูนิตี้มอลล์แนวคิดใหม่ที่เป็นศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ตั้งอยู่ใน Prime Location ของลาซาลที่ถือเป็นทำเลแห่งอนาคต อยู่ท่ามกลางสถานศึกษานานาชาติ สำนักงาน ที่พักอาศัย และแวดล้อมด้วยพื้นที่สีเขียว

5. ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน (Pantip Ngamwongwan)

ศูนย์การค้าที่ผสมผสานระหว่างผู้นิยมสะสมของเก่าและความทันสมัยไว้ได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นศูนย์พระเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตลาดนัดติดแอร์ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดนนทบุรี สินค้าไอทีที่ครบครันและราคาถูก ตั้งอยู่ทำเลใจกลางเมืองบนถนนเศรษฐกิจในย่านงามวงศ์วาน

6. ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ เชียงใหม่  (Pantip Chiangmai)

แหล่งรวมสินค้าไอทีของเชียงใหม่ ครอบคลุมทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แก็ดเจ็ต ของเล่น เกมต่าง ๆ ศูนย์ซ่อมที่มีคุณภาพและบริการด้านเทคโนโลยีครบวงจร พร้อมด้วย E-Sport Arena สนามแข่งขันเกมออนไลน์แห่งแรกและแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ 

“แอสเสท เวิรด์” กับ 4 กลุ่มธุรกิจ

7. ศูนย์การค้าตะวันนา บางกะปิ (TAWANNA)

คอมมูนิตี้มาร์เก็ตใหญ่ที่สุดในย่านบางกะปิ มีความหลากหลายของร้านค้าและบริการ พร้อมสินค้าคุณภาพดีในราคาคุ้มค่า พร้อมด้วยศูนย์รวมร้านอาหารและสตรีทฟู้ดอีกมากมาย คงไว้ซึ่งบรรยากาศความเป็นไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตที่จําหน่ายสินค้าในราคาคุ้มค่าที่ลูกค้าสามารถจับต้องได้

8. ศูนย์การค้าโอ.พี. เพลส (O.P. PLACE)

คอมมูนิตี้ชอปปิ้งมอลล์ซึ่งจำหน่ายสินค้าของเก่าและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ร้านขายผลงานศิลปะและร้านเครื่องประดับอัญมณี ซึ่งมีการตกแต่งสไตล์นีโอคลาสสิก ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสินและโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล

9. เดอะ ล้ง 1919 ริเวอร์ไซด์ เฮอริเทจ เดสติเนชั่น (LHONG 1919)

จุดนัดพบใหม่ริมเจ้าพระยา ด้วยแลนด์มาร์กของอาคารสถาปัตยกรรมจีนโบราณอันทรงคุณค่า ย่านคลองสาน ซึ่งรวมไลฟ์สไตล์กิจกรรมหลากหลาย และยังมีร้านค้าหลากหลายเข้ามาเปิดให้บริการ

ปัจจุบัน โครงสร้างการดำเนินธุรกิจของ AWC ประกอบด้วย 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ สัดส่วนรายได้ประมาณ 39% กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงาน สัดส่วนรายได้ประมาณ 37% กลุ่มธุรกิจศูนย์การค้า สัดส่วนรายได้ประมาณ 20%  และกลุ่มธุรกิจค้าส่ง สัดส่วนรายได้ประมาณ 4%

แอสเสท เวิรด์
ภาพ: https://www.facebook.com/Lhong1919/photos

สำหรับผลประกอบการงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 AWC มีรายได้รวม 3,613.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีรายได้รวม 2,089.77 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ จำนวน 1,421.57 ล้านบาท พลิกจากที่ขาดทุนสุทธิ 792.49 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิงวด 6 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 39.34% 

 อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน