Stock

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำไม ‘หุ้นลิสซิ่ง’ ได้ประโยชน์?

ทำไมหุ้นลิสซิ่ง ได้ประโยชน์?  หลังจากครม. มีมติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ สูงสุด 356 บาทต่อวัน และต่ำสุด 328 บาทต่อวัน 

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ สูงสุดที่ 356 บาทต่อวัน และต่ำสุดที่ 328 บาทต่อวัน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.02% ซึ่งเป็นไปตามกลไกลของภาวะเงินเฟ้อ จากการขึ้นดอกเบี้ย ราคาพลังงาน และราคาสินค้าอื่นๆ ที่ขึ้นรอมาก่อนหน้านี้แล้ว

สำหรับการปรับขึ้นค่าแรงนั้น จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามพื้นที่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ค่าแรงขั้นต่ำ

ค่าแรงขั้นต่ำ 9 ระดับแตกต่างกันไปตามพื้นที่

ช่วงที่ 1 : ค่าแรงขั้นต่ำ 354 บาท ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต

ช่วงที่ 2 : ค่าแรงขั้นต่ำ 353 บาท ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

ช่วงที่ 3 : ค่าแรงขั้นต่ำ 345 บาท ได้แก่ ฉะเชิงเทรา

ช่วงที่ 4 : ค่าแรงขั้นต่ำ 343 บาท ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา

ช่วงที่ 5 : ค่าแรงขั้นต่ำ 340 บาท ได้แก่ ปราจีนบุรี หนองคาย อุบลราชธานี พังงา กระบี่ ตราด ขอนแก่น เชียงใหม่ สุพรรณบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ลพบุรี และสระบุรี ช่วงที่ 6 : ค่าแรงขั้นต่ำ 338 บาท ได้แก่ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร สมุทรสงคราม จันทบุรี และนครนายก

 

ช่วงที่ 7 : ค่าแรงขั้นต่ำ 335 บาท ได้แก่ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี บึงกาฬ ชัยนาท นครพนม พะเยา สุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย พัทลุง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก อ่างทอง สระแก้ว บุรีรัมย์ และเพชรบุรี

ช่วงที่ 8 : ค่าแรงขั้นต่ำ 332 บาท ได้แก่ อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตรัง ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุทัยธานี ลำปาง ลำพูน ชุมพร มหาสารคาม สิงห์บุรี สตูล แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร ราชบุรี ตาก นครศรีธรรมราช ชัยภูมิ ระนอง และพิจิตร

ช่วงที่ 9 : ค่าแรงขั้นต่ำ 328 บาท ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน และอุดรธานี

ค่าแรงขั้นต่ำ

จับตาหุ้นลิสซิ่งได้ประโยขน์

จะเห็นว่าหลังการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ราคาหุ้นในกลุ่มลิสซิ่งหลายตัวปรับตัวขึ้นโดดเด่น มีนักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรกันอย่างหนาแน่น คำถามคือทำไมหุ้นกลุ่มนี้ถึงได้ประโยชน์ มาดูกัน

1. กำลังซื้อผู้มีรายได้น้อยเพิ่มขึ้น
การปรับขึ้นค่าแรงย่อมส่งผลบวกต่อจำนวนเงินกระเป๋าของประชาชน และเนื่องจากไม่ได้ปรับขึ้นมานาน จึงมองว่าจะเป็นปัจจัยหนุนกำลังซื้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อย ทำให้มีโอกาสในการขยายพอร์ตสินเชื่อมากขึ้น

2. ความสามารถในการชำระหนี้ดีขึ้น
ในทางกลับกันแนวโน้มความเสี่ยงด้านเครดิตของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยก็จะต่ำลงด้วย เนื่องจากผลบวกของรายได้ที่เพิ่มขึ้น

สำหรับตลาดหุ้นไทยมีหุ้นลิสซิ่งในกลุ่มสินเชื่อเงินสดและสินเชื่อเช่าซื้อที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ประกอบด้วย
‘TIDLOR’ หรือ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)
‘SINGER’ หรือ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
‘SAWAD’ หรือ บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
‘MTC’ หรือ บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
‘SAK’ หรือ บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
‘HENG’ หรือ บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
‘NCAP’ หรือ บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)

ถือว่าเป็นปัจจัยบวกที่เข้ามาได้จังหวะพอดีสำหรับหุ้นกลุ่มลิสซิ่ง เพราะในช่วงที่ผ่านมาเจอกับปัจจัยเสี่ยงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นเข้าไปเต็มๆ เพราะทำให้แนวโน้มต้นทุนการเงินของกลุ่มเช่าซื้อสูงขึ้น จากโครงสร้างหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยจ่ายบางส่วนเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว แต่อัตราดอกเบี้ยที่ปล่อยกู้ให้ลูกค้าเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ทั้งหมด ประกอบกับการที่ลูกค้าอาจจะชะลอการขอสินเชื่อ รวมถึงผลต่อความสามารถในการใช้หนี้อีกด้วย อย่างไรก็ดี การที่ประกาศขึ้นค่าแรงแบบนี้ จึงทำให้ลดผลกระทบดังกล่าวไปได้พอสมควร

 ค่าแรงขั้นต่ำ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน