Stock

10 ข้อควรรู้ ‘ไทยออยล์’ ก้าวต่อไป หลังเพิ่มทุนครั้งใหญ่

10 ข้อควรรู้ “ไทยออยล์” ก้าวต่อไปหลัง เพิ่มทุนครั้งใหญ่ เสริมความแข็งแกร่งทางการเงิน ต่อยอดโอกาสพัฒนาธุรกิจในอนาคต

หุ้น TOP หรือ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจโรงกลั่นและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กำลังจะก้าวสู่การเติบโตครั้งใหม่ (New Round of Growth) เตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางการเงิน ต่อยอดโอกาสพัฒนาธุรกิจในอนาคต บทความนี้เราจึงได้สรุปสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับไทยออยล์ และแผนการเพิ่มทุนครั้งสำคัญนี้ว่ามีความน่าสนใจยังไงบ้าง โดยมี นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โดย 10 ข้อควรรู้

10 ข้อควรรู้

10 ข้อควรรู้ หลังเพิ่มทุนครั้งใหญ่

1. หุ้นโรงกลั่นชั้นนำและธุรกิจพลังงานครบวงจร
ไทยออยล์เป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงกลั่นและจำหน่ายนํ้ามันปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 275,000 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นกว่า 22% ของกําลังการกลั่นทั้งหมดในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในโรงกลั่นที่ทันสมัย มีคุณภาพสูงระดับ Top quartile ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ได้เปรียบเชิงต้นทุนการผลิต และขีดความสามารถในการแข่งขัน

นอกจากนี้ ไทยออยล์ ได้ต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจโรงกลั่นไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจปิโตรเคมี ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ธุรกิจไฟฟ้า ธุรกิจสารทําละลาย ธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจโอเลฟิน และธุรกิจผลิตสารตั้งต้นสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาด เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นบริษัทด้านพลังงานและปิโตรเลียมแบบครบวงจรก็ว่าได้

10 ข้อควรรู้
ภาพ:เฟซบุ๊กThaioil

2. กำไรไตรมาส 2/2565 เติบโตทำลายสถิติสูงสุด
ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2565 ไทยออยล์ มีกำไรสุทธิ 25,326 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,093.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 มีกำไรสุทธิ 32,509 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 493% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวโดดเด่นจากธุรกิจโรงกลั่นที่ได้รับผลบวก หลังความต้องการใช้น้ำมันในประเทศฟื้นตัวและค่าการกลั่นปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ ไทยออยล์มีบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้น GPS จำนวน 12,880 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างทางการเงินระยะยาว

3. เป้าหมายก้าวสู่ผู้นำด้านพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน
แม้ธุรกิจโรงกลั่นจะมีความแข็งแกร่งอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยความท้าทายมากมาย จากความผันผวนของตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ไทยออยล์จึงปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ภายใต้กรอบแนวคิด Building on Our Strong Foundation โดยมีเป้าหมายก้าวสู่ผู้นำในธุรกิจพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน ซึ่งบริษัทมีกลยุทธ์หลักที่เรียกว่า 3V ได้แก่
– Value Maximization การต่อยอดคุณค่าจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสู่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
– Value Enhancement การเพิ่มคุณค่าให้ธุรกิจผ่านการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า
– Value Diversification การกระจายการเติบโตเพื่อสร้างความมั่นคงของผลกำไร โดยแสวงหาโอกาสในธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้าง New S-Curve

10 ข้อควรรู้ กับไทยออยล์ ก้าวต่อไป

4. โครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project : CFP)
กลยุทธ์ทั้งหมดจะสำเร็จได้ ต้องมาจากการลงทุนในโครงการที่สำคัญ หนึ่งในนั้นก็คือ โครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังการกลั่นเป็น 400,000 บาร์เรลต่อวัน และรองรับวัตถุดิบได้หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น การเปลี่ยนน้ำมันเตาเป็นน้ำมันอากาศยานและน้ำมันดีเซลที่มีราคาสูงกว่า ส่งผลให้ความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างมาก ปัจจุบันโครงการ CFP คืบหน้าไปแล้วกว่า 86% คาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2567

10 ข้อควรรู้
ภาพ:เฟซบุ๊กThaioil

5. โครงการ PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP)
ก้าวแรกสู่ธุรกิจโอเลฟินของบริษัท ผ่านการลงทุนใน PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) ผู้ผลิตปิโตรเคมีรายใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ซึ่งไทยออยล์เข้าถือหุ้นในสัดส่วน 15% ทั้งนี้ CAP มีกำลังการผลิตรวม 4.23 ล้านตันต่อปี อีกทั้งไทยออยล์ยังสามารถส่งผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่นตัวเองไปใช้เป็นวัตถุดิบให้กับ CAP ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันและอัตรากำไร ที่สำคัญก็คือบริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาการลงทุน CAP2 เพื่อขยายกำลังการผลิตอีกเท่าตัวเป็น 8.10 คาดจะเริ่ม COD ตามแผนได้ในปี 2569

6. ปรับโครงสร้างทางการเงิน เพื่อรองรับการเติบโต
จากแผนการเติบโตทั้งหมดที่กล่าวมา จะไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่มีเงิน ดังนั้น ไทยออยล์จึงต้องการเพิ่มความยืดหยุ่นให้โครงสร้างทางการเงินในระยะยาว ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ตัดสินใจขายหุ้น GPSC ไปแล้ว และระยะถัดไปจึงเป็นการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิมและนักลงทุนรายใหม่ โดยจะทำให้ฐานะทางการเงินแข็งแกร่งขึ้น ดังนี้
1. สามารถชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นจากการที่บริษัทได้ลงทุนซื้อหุ้นใน PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) จำนวน 10,708 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการลงทุนอื่นๆ ที่สร้างมูลค่ามากกว่านี้ในอนาคต
2. ลดระดับหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) อยู่ในระดับที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 เท่า
3. รักษาอันดับ Credit Rating ให้อยู่ในระดับที่น่าลงทุน (Investment grade)

10 ข้อควรรู้
ภาพ:เฟซบุ๊กThaioil

7. สรุปรายละเอียดการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน
ไทยออยล์เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering: PO) และผู้ถือหุ้นเดิมที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้น จำนวนไม่เกิน 192,307,693 หุ้น และอาจมีกรีนชูไม่เกิน 28,846,153 หุ้น กำหนดช่วงราคาเสนอขายหุ้นที่ 52-54 บาทต่อหุ้น โดยจะประกาศราคาเสนอขายสุดท้าย (Final) ในวันที่ 20 กันยายนนี้ ทั้งนี้ แปลว่ามูลค่าการระดมทุนครั้งนี้จะอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท

สำหรับการจองหุ้น แบ่งเป็น 1. สำหรับผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท กำหนดอัตราส่วนการใช้สิทธิ (Ratio) ที่ 11.7681 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นออกใหม่ และ 2. จัดสรรเพื่อเสนอให้แก่ประชาชนทั่วไปแบบ public offering อีกด้วย

10 ข้อควรรู้ เพิ่มทุนครั้งนี้น่าสนใจอย่างไร

8. การเพิ่มทุนครั้งนี้ น่าสนใจอย่างไร
มุมมองส่วนตัวมองว่าเป็นการเพิ่มทุนที่สมารถตอบโจทย์ทั้งตัวไทยออยล์เองและนักลงทุน ดังนี้
1.  บริษัทมีแผนขยายธุรกิจที่ชัดเจนและเหมาะสม ด้วยการมุ่งเน้นต่อยอดสิ่งที่ตัวเองแข็งแกร่ง และขยายไปสู่ธุรกิจอนาคต เพื่อลดความผันผวนและเพิ่มมาร์จิน
2. ประสบการณ์ที่พิสูจน์มาแล้วกว่า 60 ปี สามารถทำกำไรทั้งช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตและในช่วงวัฏจักรขาลง
3. มีความยืดหยุ่นในการกระจายหุ้นเพิ่มทุน คือ ให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นเดิมในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 80% พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนกลุ่มใหม่บางส่วนได้ร่วมลงทุนด้วย เพื่อการขยายฐานนักลงทุนบริษัทให้กว้างขึ้น

9. วิธีจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนไทยออยล์
สำหรับผู้ถือหุ้นเดิมและผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจ สามารถจองซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 9-16 กันยายน 2565 ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
ผู้ถือหุ้นเดิม : จองซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ที่ https://ero.scbs.com หรือสำนักงานใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด (เดิมคือ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด) ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
ผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจ : จองซื้อผ่านบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด และผ่านผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด

10. เป้าหมายในอนาคตของไทยออยล์

ไทยออยล์มีเป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจน ภายในปี 2573 จะมี Net Profit เติบโตเป็น 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมี Return on Invested Capital (ROIC) มากกว่า 12% รวมทั้งจะมีสัดส่วนของกำไรจากธุรกิจปิโตรเลียม 40% ธุรกิจปิโตรเคมี 40% ธุรกิจไฟฟ้า 10% และธุรกิจใหม่ (New S-Curve) อีก 10% ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่ค่อนข้างท้าทายทีเดียว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน