Stock

เจาะกลยุทธ์ หุ้นเครื่องดื่ม ‘SAPPE vs ICHI’ มุ่งเติบโต ตลาดต่างประเทศ

อุตสาหกรรมเครื่องดื่มในประเทศไทยเคยมีอัตราการเติบโตอย่างร้อนแรง ก่อนที่จะชะลอการเติบโตลง เพราะได้รับผลกระทบจากมาตรการเก็บภาษีความหวาน ซึ่งเริ่มครั้งแรกในปี 2560 และจะเก็บในอัตราก้าวหน้าทุก 2 ปีไปจนถึงปี 2567 ประกอบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจสะดุดลง ทำให้การบริโภคในประเทศลดลง เพราะมองว่าเครื่องดื่มบางชนิดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย 

ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มในประเทศ เริ่มมองหาช่องทางที่จะขยับไปสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ และลดผลกระทบจากดีมานในประเทศที่ค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว ซึ่งจะเห็นว่าหนึ่งในสินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ก็คือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือ Functional Drink 

ปัจจุบันเราสามารถแบ่ง Functional Drink เป็น 5 ประเภท ได้แก่ Sport Drink เครื่องดื่มเกลือแร่ สำหรับการออกกำลังกาย, Energy Drink เครื่องดื่มที่เสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย เติมสารอาหาร เช่นวิตามิน และกรดอะมิโน, Enriched Drink เครื่องดื่มที่ช่วยเสริมสุขภาพ เติมสารอาหารที่ประโยชน์ต่อร่างกาย, Herbal Drink เครื่องดื่มสมุนไพร ช่วยป้องกันโรคต่างๆ และ Beauty Drink เครื่องดื่มสำหรับความสวยความงามโดยเฉพาะ

shutterstock 2000819237.jpg222

ทั้งนี้ จะเห็นว่ามีบริษัทเครื่องดื่มในตลาดหุ้นไทย 2 ตัว ที่หันมาปลุกกระแส Functional Drink ด้วยการมุ่งเน้นกลยุทธ์เพิ่มพอร์ตรายได้จากตลาดต่างประเทศมากขึ้น นั่นคือหุ้น SAPPE หรือ บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) และหุ้น ICHI หรือ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

SAPPE ปั้น “Mogu Mogu” ครองตลาดในเกาหลีใต้

SAPPE เป็นหนึ่งในเจ้าตลาด Functional Drink ในไทยมายาวนาน ซึ่งมีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จมากมาย อาทิ เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ (Sappe Beauti Drink) ออล โคโค (All Coco) และโมกุ โมกุ (Mogu Mogu) น้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าวที่ประสบความสำเร็จกับการตีตลาดต่างประเทศ พิสูจน์จากส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในกลุ่มเครื่องดื่มผลไม้ในร้านสะดวกซื้อของ 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

sappe logo 1

ปัจจุบัน SAPPE มีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเกือบ 80% ประกอบด้วย ยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลาง โดยมีรายได้ในประเทศไทย เพียง 20% เป็นผลมาจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของปริมาณการขายและราคาขายที่สูงกว่าในประเทศไทย ประกอบกับการประสบความสำเร็จในการทำ Online marketing ทำให้สินค้าบริษัทติดตลาดและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในหลายประเทศ

กลยุทธ์การเติบโตต่อไปของ SAPPE ยังคงมุ่งเน้นตลาดต่างประเทศต่อเนื่อง เน้นเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายมากขึ้นในเอเชีย ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ รวมทั้งมีแผนปรับราคาขายขึ้นในบางประเทศ วางแผนปรับแบรนด์ Mogu Mogu ให้เป็นแบรนด์สมัยใหม่และเป็นส่วนนึงของชีวิตประจำวัน ซึ่งจะหนุนให้บริษัทมียอดขาย 10,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี 

ICHI กับโอกาสครั้งใหม่ในฟิลิปปินส์

ขณะที่ ICHI ผู้ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มชื่อดังอย่างชาเขียว อิชิตัน กรีนที, เครื่องดื่มชาเขียวแบบพรีเมี่ยม ชิซึโอกะ, เครื่องดื่มสมุนไพร เย็นเย็น และล่าสุดได้ขยายเข้าสู่ตลาด Functional Drink ได้แก่ น้ำด่าง PH Plus 8.5, เครื่องดื่มผสมวิตามิน C&E – C200 และเครื่องดื่มวิตามินซีสูง Vitt CC

แม้ปัจจุบัน ICHI ยังมีสัดส่วนรายได้ในประเทศเป็นหลักถึง 87% ของรายได้รวม และอีก 13% มาจากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV โดยมีกัมพูชาเป็นตลาดหลัก (ประมาณ 90%) นอกจากนี้ จะมีธุรกิจ JV ในอินโดนีเซียที่จะรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเข้ามา ซึ่งช่วงครึ่งปีแรก 2565 สามารถรับรู้กำไรอยู่ที่ 45 ล้านบาท เป็นผลจากการเติบโตของสินค้ากลุ่มหลักอย่าง Thai Milk Tea และ Thai Brown Sugar

50449623 2129867227036686 4053031109611487232 o1

อย่างไรก็ดี จะเห็นว่าด้วยศักยภาพในการผลิตและความสามารถในการพัฒนาสินค้าของ ICHI ทำให้มีโอกาสเติบโตได้อีกมากในตลาดต่างประเทศ  บริษัทก็เปิดเกมรุกเต็มที่ ประกาศกลยุทธ์ New Market รุกตลาดส่งออกไปยัง CLMV ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พร้อมขยายไปเปิดตลาดใหม่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ผ่าน Alfamart กว่า 1,300 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ ซึ่งเชื่อจะเป็นการสร้างฐานกำไรส่งกลับมาให้ ICHI อย่างมีนัยสำคัญ วางเป้ารับรู้ส่วนแบ่งกำไรกลับขั้นต่ำที่ราว 75 ล้านบาทในปี 2565 

Capture.JPG3333

 อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน