Stock

จัดทัพ 7 หุ้นปันผล ‘สู้เงินเฟ้อ’

จัดทัพ 7 หุ้นปันผล “สู้เงินเฟ้อ” ขณะ บล. เกียรตินาคินภัทร เผยกลยุทธ์การลงทุนเมื่อเงินเฟ้อสูง นักลงทุนต้องสู้เงินเฟ้อกลับด้วยการ “เพิ่มหุ้นปันผล”

อัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะทรงตัวสูงแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ และยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อขาขึ้นอีกมากมาย เช่น การยุติโครงการเงินอุดหนุนราคาน้ำมัน, ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น, การเพิ่มขึ้นของราคาปุ๋ยและอาหารสัตว์ทั่วโลก ซึ่งจะผลักดันราคาอาหารให้สูงขึ้นเช่นกัน

บล. เกียรตินาคินภัทร (KKP Securities) เปิดเผยว่า กลยุทธ์การลงทุนเมื่อเงินเฟ้อสูง นักลงทุนต้องสู้เงินเฟ้อกลับด้วยการ “เพิ่มหุ้นปันผล” ทาง KKP Securities จึงพิจารณาคัดเลือกหุ้นปันผลดี และเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการมั่นคง เพื่อเป็นทางเลือกการลงทุนในปี 2565 โดยมีการคัดกรองด้วยเงื่อนไข ดังนี้

หุ้นปันผล

1. เป็นหุ้นที่อยู่ในการวิเคราะห์ของ บล. เกียรตินาคินภัทร

2. มีคำแนะนำให้ “ซื้อ” หรือ “เป็นกลาง” (Buy/Neutral)

3. มีอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ไม่ต่ำกว่า 3.5%

พร้อมเน้นหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ ที่จะถูกปรับลดประมาณการณ์กำไร และมีอัตราส่วนเงินกู้ยืมต่อหุ้นทุน (net gearing) ต่ำกว่า 1.2 เท่า โดยหุ้นปันผลแนะนำ (Dividend Stock Pick) 7 บริษัทที่น่าสนใจ ประกอบด้วย TU, OSP, BBL, ADVANC, INTUCH, LH และ AP โดยมีรายละเอียดของแต่ละบริษัท ดังนี้

หุ้นปันผล

เปิด หุ้นปันผล สู้เงินเฟ้อ

1. TU หรือ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
อัตราเงินปันผลตอบแทน 4.30%
คำแนะนำ “เป็นกลาง” ราคาเป้าหมาย 20.30 บาท
ลักษณะธุรกิจ : ผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลสำเร็จรูปแบบครบวงจร ทั้งผลิตภัณฑ์แช่แข็ง บรรจุกระป๋องแบบ อาหารสำเร็จรูป และอาหารว่าง

2. OSP หรือ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)
อัตราเงินปันผลตอบแทน 3.90%
คำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 45 บาท
ลักษณะธุรกิจ : ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ภายใต้แบรนด์ เช่น เอ็ม-150 ลิโพ เป็นต้น เครื่องดื่มเกลือแร่ และกาแฟพร้อมดื่ม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล ภายใต้แบรนด์ เบบี้มายด์ และทเวลฟ์พลัส

3. BBL หรือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
อัตราเงินปันผลตอบแทน 6%
คำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 150 บาท
ลักษณะธุรกิจ : ธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการทางการเงินครบวงจรแก่ธุรกิจทั้งขนาดใหญ่ SME ตลอดจนฐานลูกค้าบุคคล โดยมีสาขาทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และมีเครือข่ายในต่างประเทศ

4. ADVANC หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
อัตราเงินปันผลตอบแทน 3.80%
คำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 250 บาท
ลักษณะธุรกิจ : ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และธุรกิจดิจิทัลเซอร์วิส

หุ้นปันผล

5. INTUCH หรือ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
อัตราเงินปันผลตอบแทน 4.30%
คำแนะนำ “เป็นกลาง” ราคาเป้าหมาย 77 บาท
ลักษณะธุรกิจ : ประกอบธุรกิจถือหุ้นและเข้าไปบริหารงาน (Holding Company) ในธุรกิจประเภทโทรคมนาคม สื่อ เทคโนโลยี และดิจิทัล

6. LH หรือ บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
อัตราเงินปันผลตอบแทน 6.20%
คำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 11 บาท
ลักษณะธุรกิจ : ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย บ้านจัดสรรพร้อมที่ดิน ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม โดยเน้นโครงการที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และตามจังหวัดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น ภูเก็ต เป็นต้น

7. AP หรือ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
อัตราเงินปันผลตอบแทน 4.40%
คำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 13.90 บาท
ลักษณะธุรกิจ : ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ประกอบด้วย ทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียม ซึ่งมีทำเลที่ตั้งในเขตชุมชน เมืองหรือใกล้ศูนย์กลางทางธุรกิจ สามารถเดินทางได้สะดวก

ทั้งนี้ เป็นอัตราเงินปันผลตอบแทนคาดการณ์ ปี 2565 โดย บล. เกียรตินาคินภัทร (Note from Asset Allocation Committee as of 3 May 2022, CIO Office, KKP Securities)

ต้องบอกว่าตอนนี้หลายประเทศกำลังกลับมาได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาเศรษฐกิจเรื้อรังมานาน ซึ่งไทยเองก็จัดอยู่ในกลุ่มที่น่าเป็นห่วง เพราะเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว สินค้าแพง แต่อัตราการว่างงานก็ยังสูงขึ้น ดังนั้น การจัดทัพลงทุนช่วงนี้ จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน