Stock

3 จุดวิเคราะห์ ‘หุ้นลิสซิ่ง’ โอกาสการเติบโตปี 2565

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา อาจจะมีธุรกิจจำนวนมากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างซบเซา แต่กลับเป็นจังหวะที่ดีของ “ธุรกิจลิสซิ่ง” หรือผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อย ที่เน้นกลุ่มผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ผู้มีรายได้ไม่แน่นอน และพนักงานประจำที่มีฐานเงินเดือนต่ำ

ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ประกอบด้วย สินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้การกำกับที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน สินเชื่อที่มีบ้านและที่ดินเป็นหลักประกัน สินเชื่อประเภทนาโนไฟแนนซ์ที่ไม่ต้องมีหลักประกัน บริการนายหน้าประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต

หุ้นลิสซิ่ง

ปัจจัยที่ส่งผลให้ธุรกิจลิสซิ่งเติบโตอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากในสถานการณ์ที่เงินทองฝืดเคือง คนไม่ค่อยกล้าใช้เงินสด ทำให้การขอสินเชื่อเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญ ประกอบกับการที่แบงก์ชาติประกาศให้การจำนำสินเชื่อทะเบียนรถเข้ามาอยู่ในระบบตั้งแต่ปี 2562 ภาพลักษณ์ของธุรกิจลิสซิ่งจึงดีขึ้น และตอบโจทย์ปัญหาทางการเงินของคนไทยจำนวนมาก ที่ขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีคุณภาพ

ปัจจุบัน เราคงเห็นว่ามีผู้ให้บริการลิสซิ่งเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ที่มีทั้งเจ้าเล็ก เจ้าใหญ่ หลากหลายสี ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน ตามแหล่งชุมชม ตลาด และร้านสะดวกซื้อ แม้แต่ในกรุงเทพฯ เอง ก็พบธุรกิจนี้กันมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงการขยายสาขาอย่างก้าวกระโดด ของกลุ่มธุรกิจลิสซิ่งในประเทศไทย

ขณะเดียวกันในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีธุรกิจลิสซิ่งพาเหรดเข้ามาจดทะเบียนเป็นจำนวนมาก

ในช่วง 2 ปีมานี้ (2563-2565) มีหุ้นลิสซิ่งที่เข้าไอพีโอ 5 บริษัท ได้แก่ MICRO : บริษัท ไมโครลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) NCAP : บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) SAK : บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) TIDLOR : บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) HENG : บริษัท เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)

วิธีวิเคราะห์หุ้นลิสซิ่ง

1. หนี้เสีย (NPL)

ยิ่ง NPL สูง จะยิ่งส่งผลถึงความมั่นคงของธุรกิจ และส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน โดยระดับ NPL ที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 2-4% ของพอร์ตสินเชื่อรวม

วิธีวิเคราะห์หุ้นลิสซิ่ง1

2. อัตราเติบโตของสินเชื่อ (Loan Growth)

เป็นส่วนที่สร้างรายได้หลักให้กับธุรกิจ ยิ่งเติบโตก็ยิ่งดี แต่ก็ต้องดูควบคู่ไปกับแนวโน้ม NPL ด้วย เพราะหากบริหารแบบ aggressive เกินไป แม้ยอดสินเชื่อจะเติบโตจะเติบโตจริง แต่หากเป็นหนี้เสียจำนวนมาก แบบนี้ก็เป็นความเสี่ยงที่ต้องระวัง

3. กลยุทธ์ขยายสาขา

ปัจจุบันธุรกิจลิสซิ่ง มีการชิงพื้นที่สาขากันดุเดือด ซึ่งแต่ละบริษัทก็มีกลยุทธ์เจาะกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราต้องวิเคราะห์ประเด็นนี้ให้เข้าใจ

วิกฤติที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มลิสซิ่งส่วนใหญ่สามารถต้านทานได้อย่างมั่นคง และพลิกเป็นโอกาสขยายการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มกลับมาคึกคัก ธุรกิจลิสซิ่งก็ยังเป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้รับผลประโยชน์ จากยอดสินเชื่อที่เติบโตในระดับสูง ทำให้กลายเป็น sector ดาวเด่นของนักลงทุนในเวลานี้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน