Stock

ปตท. ปรับวิสัยทัศน์ใหม่รอบ 15 ปี ‘Powering Life’ รุก ‘พลังงานสะอาด-ธุรกิจใหม่’

วิสัยทัศน์ปตท. ปรับใหม่รอบ 15 ปี “Powering Life with future energy and beyond” หรือ “ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งชีวิต” รับการเปลี่ยนแปลงโลก ตั้งเป้าในปี 2030 พลังานสะอาดและธุรกิจใหม่โตไม่ต่ำกว่า 30%

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กล่าวว่า ปตท.จะปรับวิสัยทัศน์ใหม่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยวิสัยทัศน์ใหม่ “Powering Life with future energy and beyond” หรือ “ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งชีวิต”

วิสัยทัศน์ปตท.

วิสัยทัศน์ปตท.ใหม่ จะสร้างการเติบโตควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน วัฒนธรรม วิถีชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม ในฐานะบริษัทที่มีธรรมาภิบาล ผลประกอบการยอดเยี่ยม มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ

วิสัยทัศน์ปตท. สู่ธุรกิจพลังงานอนาคต

ทิศทางการเติบโตของปตท. ตามวิสัยทัศน์ใหม่ จะมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานอนาคตและเติบโตในธุรกิจใหม่ที่ไปไกลกว่าพลังงาน โดยธุรกิจพลังงานอนาคต จะมุ่งไปที่พลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีจัดเก็บพลังงาน ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และพลังงานไฮโดรเจน

ปตท.

สำหรับธุรกิจที่ไปไกลกว่าพลังงาน ที่จะมุ่งไปที่ life Science, Mobility & Lifestyle , ธุรกิจที่สร้างมูลค่าสูง (High Value Business) โลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ และสำรวจหาธุรกิจใหม่ ๆ

ตามเป้าหมายในวิสัยทัศน์ใหม่ ปตท.ตั้งเป้าหมายในปี 2030 จะสร้างการเติบโตให้ได้อย่างน้อย 30% มีการลงทุนในธุรกิจพลังงานอนาคตและนอกเหนือจากพลังงาน 32% และเป็นกลุ่มพลังงานเดิม 68%

การลงทุนของ ปตท.ที่ผ่านมา เดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ASEAN Regional LNG Hub โดยการสร้างให้เป็น LNG Relaoding Cargo ซึ่งมีการส่ง LNG ไปขายญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และจัดส่ง LNG ไปยังกัมพูชาเป็นครั้งแรกทางรถยนต์ อีกทั้งส่งออก LNG ทางเรือไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนในรูปแบบ ISO Tank Cantainer ที่มีขนาดเล็ก

ล่าสุด จับมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงทุนโครงการ LNG Receiving Terminal หนองแพบ เพื่อขยายขีความสามารถนำเข้า LNG ของไทยให้ได้ 19 ล้านตันต่อปี

สำหรับการขยายขยายธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโต ได้เปิดดำเนินการ PTT Int’t Trading USA โดยเริ่มธุรกรรมการค้าปิโตรเคมีเที่ยวแรกสำเร็จ และได้เปิดดำเนินการ PTT MEA ในประเทศยูเออี เพื่อดูแลการค้าในตะวันออกกลางและเป็นผู้ร่วมก่อตั้งของตลาด ICE Futures Abu Dhabi (IFAD)

F507F6A3 E5EE 4969 ADDD A0282593416C e1629197604548

นอกจากนี้ ขยายการส่งออก Propylene Oxide ซึ่งเป็นวัตุดิบผลิตแคปซูลยา ไปยังประเทศจีน สร้างรายได้ราว 78 ล้านบาท และส่งออก Purified Yerephthalic Acid (PTA) สารตั้งต้นผลิตสิงทอและบรรจุภัณฑ์ไปยังมาเลเซียได้เป็นครั้งแรก

ด้านไทยออยล์ ลงทุน 15.38% ในบริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk(CAP) ประเศอินโดนีเซีย ดำเนินธุรกิจโอเลฟินส์ เพื่อต่อยอดปิโตรเคมี และด้าน IRPC มีการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นและคุณภาพน้ำมันตามมาตรฐาน EURO V

สำหรับการลงทุนในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต ที่ผ่านมาได้เข้าไปลงทุนธุรกิจไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ โดย GRP เข้าไปลงทุน 90% โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในไต้หวัน 55.8 เมกะวัตต์ ซึ่งได้โอนซื้อขายหุ้นเสร็จแล้ว จะทำให้เพิ่มความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น

นอกจากนี้ GPSC เข้าไปลงทุน 25% โรงไฟฟ้าพลังงานลมในไต้หวัน 595 เมกะวัตต์ ทำให้ขยายองค์ความรู้เรื่องโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่ง และ GPSC ยังเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 41.6% ใน Avaada ในอินเดีย 4,560 เมกะวัตต์ เพื่อต่อยอดความเชี่ยวชาญการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ปตท.ยังเดินหน้าลงทุนกลุ่มธุรกิจพลังงานอนาคต โดยพัฒนาแพลตฟอร์มพลังงานสะอาดและระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับกระแสยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีการจัดตั้งบริษัท ARUN PLUS เพื่อดำเนินธุรกิจ EV อย่างครบวงจร และ บริษัท EVme Plus ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า

ปตท.ยังศึกษาการสร้างแพลตฟอร์มผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างครบวงจรในประเทศ ร่วมกับ Foxconn เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำในอาเซียน

สำหรับธุรกิจ Life Science กลุ่ม ปตท. ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย มุ่งธุรกิจที่สร้างมูลค่า โดยขยายพอร์ตธุรกิจยา ซึ่งได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 6.66% ใน Lotus Pharmaceutical บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายยาสามัญชั้นนำของไต้หวัน รวมถึงจับมือกับพันธมิตร ร่วมกับ IRPC จัดตั้งบริษัท Innopolymed สร้างโรงงานผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เป็นต้น

กลุ่มปตท.ยังเข้าลงทุนธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูง เช่น GC เข้าซื้อกิจการ Allnex มูลค่า 1.48 แสนล้านบาท เพื่อต่อยอดธุรกิจ Coating Resins ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก

ด้านธุรกิจ Mobility & Lifestyle ได้เข้าลงทุนเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจน้ำมัน รองรับความต้องการตลาดในอนาคต เช่น ลงทุนในพีเอร์รี่ไทย ผู้นำเชี่ยวชาญด้านเครื่องชงกาแฟ ลงทุนในร้านอาหารโอ้กะจู๋ ลงทุนเพิ่มใน Flash ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มส่งของ

สำหรับธุรกิจปัญหาประดิษฐ์(AI) หุ้นยนต์และดิจิทัล ได้จัดตั้งบริษัท Mekha Technology ให้บริการระบบ Public Cloud จัดตั้งบริษัท T-ECOSYS พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการอุตสาหกรรม และ ทาง ARV ที่เป็นบริษัทลูกของ ปตท.สผ. ได้จัดตั้งบริษัท AeroSky บริการสำรวจโครงสร้างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

วิสัยทัศน์ปตท.

บริษัทและบริษัทย่อยมีกําไรสุทธิในครึ่งปีแรก 2564 จํานวน 57,166 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46,667 ล้านบาท หรือ หรือมากกว่า100.0% จากครึ่งปีแรก ปี 2563 ตาม EBITDA ที่เพิ่มขึ้น และมีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจําตาม สัดส่วนของ ปตท.

โดยหลักจากการรับรู้กําไรจากการซื้อธุรกิจในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของโครงการโอมาน แปลง 61 ประมาณ 7,000 ล้านบาท สุทธิกับการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่เกิดจากการสํารวจและประเมินค่าบางส่วนขอ โครงการสํารวจปิโตรเลียมในประเทศบราซิล ประมาณ 2,900 ล้านบาท ของ PTTEP และ การรับรู้ขาดทุนจากการ ด้อยค่าเงินลงทุนในการร่วมค้าของ GC ประมาณ 1,500 ล้านบาท

Screen Shot 2564 08 17 at 16.45.47

สำหรับงบลงทุนของ ปทต.และบริษัทที่ปตท. ถือหุ้น 100% โดยได้รับการอนุมัติดำเนินระหว่างปี 2564-2568 รวม 117,840 ล้านบาท ขณะที่วงเงินลงทุนกลุ่มปตท. ประมาณ 8365 แสนล้านบาท หรือ ประมาณ 28 พันล้านดอลลาร์ โดย 50% เป็นการลงทุนของปตท.สผ.

 

Screen Shot 2564 08 17 at 16.45.59

นายอรรถพล กล่าวว่าในปีนี้เศรษฐกิจโลกโดยภาพรวมฟื้นตัว แต่การระบาดในรอบที่สาม ทำให้สถานการณ์ไม่แน่นอนมากขึ้น โดยเฉพาะในเอเชียที่เกิดการระบาดอีกครั้ง แต่มั่นใจว่าในปีนี้ผลดำเนินการจะดีกว่าปีที่ผ่านมา

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo