Stock

ปตท. กำไรไตรมาสสองพุ่งกว่า 100% รายได้โต 56.2% จากทุกกลุ่มธุรกิจ

ปตท. ในไตรมาสสอง  กำไร 2.45 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้นกว่า 100% ขณะรายได้เพิ่มขึ้น 56.2% โดยเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นจากทิศทางราคาในตลาดโลกขยับขึ้น

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT รานงานว่าในไตรมาสสอง 2564  มีรายได้จากการขายจํานวน 533,256 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2563  จํานวน 191,931 ล้านบาท หรือร้อยละ 56.2 จากเกือบทุกกลุ่มธุรกิจ โดยรายได้ของกลุ่มธุรกิจ การค้าระหว่างประเทศ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น

รวมถึงธุรกิจน้ํามันเพิ่มขึ้น จากราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นตาม ทิศทางราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีในตลาดโลก รวมถึงรายได้ของธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียมและ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติที่ปรับขึ้นตามราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายเฉลี่ยที่ปรับเพิ่มขึ้น 

มี EBITDA จํานวน 113,166 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 58,958 ล้านบาท หรือ มากกว่าร้อยละ 100.0 จากไตรมาสสอง ปี 2563 โดยหลักมาจาก

กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น โดยเฉพาะธุรกิจปิโตรเคมีที่มีผล การดําเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีกับวัตถุดิบทั้งสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ที่ ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงธุรกิจการกลั่นที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากกําไรสต๊อกน้ํามันที่เพิ่มขึ้นประมาณ 7,000 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามราคาน้ํามันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสแรกปี 2564 ตามสถานการณ์การแพร่ ระบาดของ COVID-19 ที่มีแนวโน้มดีขึ้นแม้ว่ากําไรขั้นต้นจากการกลั่น(MarketGRM)ทรงตัวที่1.6เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่งผลให้กําไรขั้นต้นจากการกลั่นรวมผลกระทบจากสต๊อกน้ํามัน (Accounting GRM) ปรับเพิ่มขึ้นจาก ขาดทุน 1.6 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในไตรมาสสอง 2563 เป็นกําไร 4.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในไตรมาสสอง 2564

ธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดําเนินงานปรับตัวดีขึ้นจากปริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น โดยหลักจากโครงการ โอมาน แปลง 61 จากการเข้าซื้อธุรกิจตามกล่าวข้างต้นและราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น รวมทั้ง

กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมี ผลการดําเนินงานดีขึ้น โดยหลักจากราคาขายเฉลี่ยที่อ้างอิงราคาปิโตรเคมีและปริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจโรง แยกก๊าซธรรมชาติ และจากปริมาณขายก๊าซฯและราคาขายลูกค้าอุตสาหกรรมที่อ้างอิงราคาน้ํามันเตาที่เพิ่มขึ้นของ ธุรกิจจัดหาและจัดจําหน่ายก๊าซฯ นอกจากนี้ ธุรกิจน้ํามันมีผลการดําเนินงานเพิ่มขึ้นจากกําไรขั้นต้นที่สูงขึ้นตามราคา ขายเฉลี่ยและปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น โดยหลักจากน้ํามันอากาศยาน เนื่องจากในไตรมาสสอง 2563 มีมาตรการ Lockdown ที่ เข้มข้นกว่าไตรมาสสอง ปี 2564 

กําไรสุทธิในไตรมาสสอง ปี 2564 จํานวน 24,578 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12,525 ล้าน บาท หรือมากกว่าร้อยละ 100.0 จากไตรมาสสอง ปี 2563 ตาม EBITDA ที่เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่ามีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้น ประจําตามสัดส่วนของ ปตท.

โดยหลักจากการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าเงินลงทุนในการร่วมค้าของ GC ประมาณ 1,500 ล้านบาท ขณะที่ในไตรมาสสอง ปี 2563 มีการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยหลักจากโครงการมาเรียนา ออยล์ แซนด์ ของ PTTEP รวมทั้งมีขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้นด้วยในไตรมาสสอง ปี 2564 

รายได้ครึ่งปีแรก เพิ่ม 22.6% 

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจํานวน 1,011,093 ล้าน บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปี 2563  จํานวน 186,201 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.6 จากเกือบทุกกลุ่ม ธุรกิจ ทั้งจากราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากปีก่อน 

ในครึ่งปีแรก 2564 บริษัทและบริษัทย่อยมี EBITDA จํานวน 216,163 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 129,570 ล้านบาท หรือมากกว่าร้อยละ 100.0 โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลจากธุรกิจการ กลั่นที่มีกําไรสต๊อกน้ํามันประมาณ 21,000 ล้านบาท ในครึ่งปีแรก 2564 ตามราคาน้ํามันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2563 เทียบกับขาดทุนจากสต๊อกน้ํามันประมาณ 30,000 ล้านบาทในครึ่งปีแรกปี 2563 ประกอบกับ Market GRM ที่เพิ่มขึ้นจาก 1.1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในครึ่งปีแรก ปี 2563 เป็น 1.7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในครึ่งปีแรกปี 2564

โดยหลักจากส่วนต่างราคา น้ํามันเบนซินกับน้ํามันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ Accounting GRM ปรับเพิ่มขึ้นจากขาดทุน 4.7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในครึ่งปีแรก 2563 เป็น 5.7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในครึ่งปีแรก รวมถึงผลการดําเนินงานของธุรกิจปิโตรเคมี ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีกับวัตถุดิบสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์โดยรวมที่ปรับสูงขึ้น

ในส่วนของกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดําเนินงานเพิ่มขึ้น โดยหลักจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ตามราคาขายเฉลี่ย และปริมาณขายเฉลี่ยที่สูงขึ้น รวมทั้ง ปริมาณขายก๊าซฯและราคาขายลูกค้าอุตสาหกรรมที่อ้างอิงราคาน้ํามันเตาที่ เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นทุนค่าเนื้อก๊าซที่ปรับลดลง ส่งผลให้ธุรกิจจัดหาและจัดจําหน่ายก๊าซฯ มีผลการดําเนินงานที่ดี ขึ้น

นอกจากนี้ผลการดําเนินงานของธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียมปรับเพิ่มขึ้นตามปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยที่ เพิ่มขึ้น สําหรับกลุ่มธุรกิจน้ํามันมีผลการดําเนินงานเพิ่มขึ้นเช่นกันจากกําไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้น แม้ปริมาณขายโดยรวม จะปรับตัวลดลงโดยหลักจากน้ํามันอากาศยานที่ปริมาณขายยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเท่าในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 

กำไรครึ่งปีแรก 5.71 หมื่นล้าน เพิ่มกว่า 100%

บริษัทและบริษัทย่อยมีกําไรสุทธิในครึ่งปีแรก 2564 จํานวน 57,166 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46,667 ล้านบาท หรือ หรือมากกว่าร้อยละ 100.0 จากครึ่งปีแรก ปี 2563 ตาม EBITDA ที่เพิ่มขึ้น และมีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจําตาม สัดส่วนของ ปตท.

โดยหลักจากการรับรู้กําไรจากการซื้อธุรกิจในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของโครงการโอมาน แปลง 61 ประมาณ 7,000 ล้านบาท สุทธิกับการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่เกิดจากการสํารวจและประเมินค่าบางส่วนขอ โครงการสํารวจปิโตรเลียมในประเทศบราซิล ประมาณ 2,900 ล้านบาท ของ PTTEP และ การรับรู้ขาดทุนจากการ ด้อยค่าเงินลงทุนในการร่วมค้าของ GC ประมาณ 1,500 ล้านบาท ขณะที่ในครึ่งปีแรก 2563 มีการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่า ของสินทรัพย์ ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยหลักจากโครงการมาเรียนา ออยล์ แซนด์ ของ PTTEP รวมทั้งมีขาดทุน จากตราสารอนุพันธ์ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้นในครึ่งปีแรก 2564 

ปตท.สิ้นไตรมาสสอง สินทรัพย์เพิ่ม 11% หนี้สินเพิ่ม 11.9% 

สถานะการเงินของ บริษัทและบริษัทย่อย ณ 30 มิถุนายน 2564 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 2,823,897 ล้าน บาท เพิ่มขึ้น 279,714 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.0 จาก ณ 31 ธันวาคม 2563 สาเหตุหลักจากที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น 95,215 ล้านบาท จากการเข้าซื้อธุรกิจของ PTTEP รวมถึงลูกหนี้และสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นตามราคา ผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น ในขณะที่มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 1,407,994 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 149,656 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.9 ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาวจํานวน 78,813 ล้านบาท

โดยหลักจากการออกหุ้นกู้สกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ของ GC ประกอบกับเจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นตามต้นทุนการซื้อสินค้าและวัตถุดิบที่สูงขึ้น นอกจากนี้ มีส่วน ของผู้ถือหุ้น 1,415,903 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 130,058 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.1 โดยหลักจากการเพิ่มทุนของบริษัท ปตท. น้ํามันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) (OR) และ กําไรสุทธิของปตท. และบริษัทย่อยใน 1H2564 สุทธิด้วยการ จ่ายเงินปันผลสําหรับผลประกอบการครึ่งหลังของปี 2563 

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo