Stock

ลงทุนยังไงดี ในภาวะ ‘Stagflation’ ที่เศรษฐกิจกลืนไม่เข้าคายไม่ออก

เศรษฐกิจไทยกำลังเจอกับความท้าทายในหลายมิติ ประการแรก คือภาพรวมเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าที่คิด ตรงกันข้ามกับเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัวแบบ V-Shape แต่เศรษฐกิจไทยกลับยังอ่อนแอ ผู้คนว่างงานมากขึ้น ภาคธุรกิจเงินเริ่มหมด

ประการที่สอง คือ สัญญาณของเงินเฟ้อเริ่มกลับมาอีกครั้ง โดยเดือนเมษายนที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อไทยอยู่ที่ระดับ 3.41% เป็นการขยายตัวในรอบ 14 เดือน และเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 100 เดือน 

คำถามคือเมื่อเศรษฐกิจไทยยังชะลอตัวอยู่แบบนี้ แต่ทำไมอัตราเงินเฟ้อถึงสูงขึ้น เพราะตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว เมื่อเศรษฐกิจขยายตัว อัตราว่างงานต่ำ จะเกิดภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตามมา แต่หากเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งหมายถึงว่าอัตราว่างงานสูง อัตราเงินเฟ้อก็จะต่ำ

เหตุผลที่เงินเฟ้อและเศรษฐกิจไทยย้อนแย้งแบบนี้ เนื่องมาจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก เพราะประเทศอื่นเริ่มดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้แล้ว ทำให้ในรอบปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกกำลังปรับตัวสูงขึ้น อย่างเช่นราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น +164% 

ภาวะที่เงินเฟ้อสูง แต่เศรษฐกิจชะลอตัว เราเรียกสถานการณ์แบบนี้ว่า Stagflation ซึ่งเกิดจากการรวบคำระหว่าง Stagnation (ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ) กับ Inflation (อัตราเงินเฟ้อ) ถือว่าเป็นภาวะที่ซ้ำเติมสถานะทางการเงินของประชาชนเป็นอย่างมาก

ลงทุน1

Stagflation เคยเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1970 ที่เงินเฟ้อสหรัฐฯ สูงเกินกว่า 10% ท่ามกลางอัตราการว่างงานที่สูงเช่นกัน ส่วนประเทศไทยก็เคยเจอระหว่างช่วงปี 1980 ที่ประสบปัญหาเงินเฟ้อสูงเกินกว่า 10% แต่เศรษฐกิจชะลอตัวติดต่อกันนานหลายปี เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

ลงทุนยังไงดีในภาวะ Stagflation 

ถ้าว่ากันตามทฤษฎีเรื่อง Investment Cycle ช่วงไหนที่เศรษฐกิจร้อนแรง การลงทุนในกลุ่มสินค้า Commodity กลุ่มธุรกิจวัฏจักรทั้งหลาย มักจะให้ผลตอบแทนที่ดี แต่หากช่วงไหนที่ตลาดเริ่มชะงัก ข้าวยากหมากแพง ช่วงนี้ควรถือเงินสด หรือเก็บไว้กับสินทรัพย์เสี่ยงต่ำอย่างตราสารหนี้ รวมถึงอาจจะมองหาหุ้นที่ทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า Defensive Stock นั่นเอง

คำถามคือแล้วเราจะหาหุ้นหลบภัย Defensive Stock อย่างไรดี? วันนี้ผมเลยสแกนหาหุ้น ที่มีลักษณะทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจมาฝาก โดยใช้เครื่องมือ SETSMART จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งใส่เงื่อนไขดังนี้

  1. เป็นหุ้นใน SET100 เพื่อคัดเฉพาะหุ้นใหญ่พื้นฐานแข็งแกร่ง
  2. ภาระหนี้สินต่ำ โดยกำหนด D/E Ratio < 2.5 เท่า
  3. จ่ายปันผลสม่ำเสมอ สูงกว่า 5% ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา

ผลปรากฏว่าหุ้นหลบภัย เหมาะถือลงทุนในช่วง Stagflation ที่เข้า 3 เงื่อนไขดังกล่าวมีทั้งหมดดังนี้ครับ 

ลงทุนยังไง

ช่วงที่ตลาดไม่เป็นใจ บริษัทขยายธุรกิจอะไรไม่ได้มาก เพราะฉะนั้นการมองหาหุ้นเชิงรับที่มีปันผลสม่ำเสมอ ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างไรก็ตามต้องเข้าใจด้วยว่าในอีกด้านหุ้นตั้งรับคงไม่ได้มีกำไรเติบโตหวือหวา ไม่ได้มีสตอรี่ให้ติดตามมากมาย แต่ก็แลกมาด้วยความมั่นคงว่างั้นเถอะ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน