ส่องกลยุทธ์หุ้นไทย “บล.กรุงศรี” มองทิศทางหุ้นไทยสดใส เตรียมรับเม็ดเงินก้อนใหญ่ ประเมินเป้าหมายสิ้นปีพุ่ง 1,540 จุด แนะลุยหุ้นเด่น 3 กลุ่ม
ฝ่ายวิจัย บล.กรุงศรี ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยช่วงที่เหลือของปี 2567 ในทางบวก ประเมินเม็ดเงินใหม่ที่กำลังเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยหลัก ๆ 2 ส่วน ส่วนใหญ่น่าจะเข้ามาในช่วง Q4/67 สูงถึงราว 1.2-1.7 แสนล้านบาท (กองทุนวายุภักษ์ 1.0-1.5 แสนล้านบาท ผสาน เม็ดเงินกองทุน ThaiESG มีผล 3 เดือน เดือนละ 6-7 พันล้านบาท) ต่อยอดด้วยเม็ดเงิน ThaiESG เต็มปีในปี 2568 อีก 7.8 หมื่นล้านบาท จะหนุน SET เดินหน้าสู่เป้าหมายสิ้นปี 2567 ประเมินที่ 1,540 จุด
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำลุยหุ้น 3 กลุ่ม ได้แก่
- หุ้นที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น, อยู่ในกองทุนวายุภักษ์ 1 และมีแนวโน้มเติบโตดีในช่วง 2567-2568 ได้แก่ AOT, PTT, KTB
- หุ้นที่อยู่ในกองทุนวายุภักษ์ 1 และซื้อขายในระดับ Valuation Zone รวมถึงมีแนวโน้มการเติบโตดี ได้แก่ CPALL, SCC, MINT, CRC, HMPRO, SCC
- หุ้นที่มีน้ำหนักใน SETESG สูงและมีแนวโน้มการเติบโตดี อยู่ใน Theme Data Center ได้แก่ ADVANC, GULF มีโอกาสเป็นเป้าหมาย
บล.กรุงศรี ระบุว่า ตลาดหุ้นไทย ก้าวข้าม EMA 200วัน ที่ระดับ 1,373 จุดแล้ว เชื่อมั่นโอกาสเดินหน้าสู่เป้าหมายสิ้นปี 2567 ที่ 1,480-1,540 จุด (PER2024 17.3X) หนุนจากการเมืองภายในชัด รวมทั้งเม็ดเงินกองทุน ThaiESG เกณฑ์ใหม่ และกองทุนวายุภักษ์
จากเหตุการณ์ในอดีต SET Index ปี 2546 คือ ปีที่กองทุนวายุภักษ์ 1 เริ่มขึ้น : 1 กรกฎาคม 2546 เป็นจุดเริ่มต้นของ Domestic Long Term Fund ที่ค่อย ๆ แข็งแรงขึ้นหลังพ้นวิกฤตต้มยำกุ้งปี ค.ศ.1997 และหลังจากนั้นราวปี 2547 กองทุน LTF ก็ถือกำเนิดขึ้น
ผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยในปี 2546 จากต้นปีที่ 351.52 จุด +31.38% ไปที่ 461.82 จุด ก่อนวันแรกของกองทุนวายุภักษ์ และปรับขึ้นอีก 69.64 ไปสูงสุด 783.44 จุด ในวันที่ 9 มกราคม 2547 หรือขึ้นจากต้นปี 46 ถึง 123%
เปรียบเทียบเศรษฐกิจและปัจจัยภายในปี 2546-2547 VS. ปี 2567-2568
1. เศรษฐกิจภายในประเทศกำลังค่อย ๆ ฟื้นตัวคล้าย ๆ กัน แรงขับเคลื่อนมาจากนโยบายภาครัฐและความเชื่อมั่นว่า GDP Growth ปี 2567 จะขยายตัว 2.4%y-y และปี 2568 ขยายตัว 2.8-3.2% คิดเป็น % Chg เพิ่มราว 50% จากฐานปี 2565-2566 ที่ 2.5-1.9% เช่นเดียวกับปี 2546-2547 ที่ GDP ฟื้นตัว 7.2-6.3% จากฐานปี 2544-2545 ที่ 4.5-6.1%y-y
2. ต่างชาติขายหุ้นไปมาก : ก่อนปี 2546 นักลงทุนต่างชาติเป็นภาพซื้อสลับขายในตลาดหุ้นไทย แต่ในช่วงปี 10 พฤษภาคม 2542- 21 มกราคม 2545 ต่างชาติขายหุ้นไทย -5.12 หมื่นล้านบาท ราว -3.3% ของมูลค่าตลาด และหลังการออกกองทุนวายุภักษ์ 1 และมีกอง LTF ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่อง 4 ปี ติด รวมกว่า 2.62 แสนล้านบาท
ขณะที่ภาพปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิมาตลอดตั้งแต่ปี 2560 รวมกว่า -7.88 แสนล้านบาท (ซื้อปีเดียวปี 2565 ราว 2.2 แสนล้านบาท) ราว -4.7%ของมูลค่าตลาด ทำให้นักลงทุนต่างชาติที่ขายออกมากเกินไป เป็นโอกาสของนักลงทุนภายในประเทศระยายาว และมีโอกาสเห็นต่างชาติกลับสถานะตามรอบใหญ่ได้อีกครั้ง โดยเฉพาะการที่ MSCI Thailand มีน้ำหนักใน MSCI EM เหลือเพียง 1.44% จากต้นปี 2561 ราว 2.4%+
3. Domestic Long term Fund : เริ่มต้นครั้งแรกจากวายุภักษ์ปี 2546 ราว 1 แสนล้านบาท และในปี 2547 มี LTF เกิดขึ้นกลางปี ยอดรวมซื้อสุทธิปีแรกเพียง 5.4 พันล้านบาท หลังจากนั้นเร่งขึ้นต่อเนื่อง จนปี 2550 มียอดซื้อสุทธิที่ราว 2.3 หมื่นล้านบาท และปี 2560-2562 ซื้อสุทธิเฉลี่ย 6.8 หมื่นล้านบาท การเติบโตที่เร่งขึ้นดังกล่าวเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อตลาดหุ้นไทยเรื่อยมา
ขณะที่การกลับมาของกองทุน TESG ซึ่งถือเป็น LTF รูปแบบใหม่ (หุ้นที่อยู่ใน Universe การลงทุนคล้าย ๆ กัน เพียงแค่อิง ESG มากขึ้น และให้การลดหย่อนสูงสุดได้มากกว่า LTF สำหรับบางฐานภาษี) เชื่อว่าจะทำให้เม็ดเงินจากฝั่งกองทุนเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยเร่งขึ้นต่อเนื่องได้ช่วงถัดไป เป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยวงจรใหม่
ขณะที่เศรษฐกิจโลกและทิศทางอัตราดอกเบี้ยปี 2546-2547 VS. ปี 2567-2568 มีจุดต่างคือ ความไม่แน่นอนของวงจรเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐ
1. World GDP Growth ปี 2567-2568 อิง IMF คาด 3.1%y-yเท่ากัน ซึ่งภาพเศรษฐกิจโลก คือ ตัวแปรหลักที่มีความต่างจากปัจุบัน เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจโลกปีหน้าทรงตัว หรืออาจชะลอลง เทียบกับในปี 2546 ที่ World GDP โต 3.2% และเร่งขึ้นอีกในปี 2547 โต 4.5% จากเศรษฐกิจโลกขาขึ้นช่วงนั้นอย่างพร้อมเพียงกัน
2. ทิศทางอัตราดอกเบี้ยปี 2567-2568 เริ่มกลับมาเป็นขาลง อิงสหรัฐคาดปีนี้จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย ส่วนไทยมีโอกาสลดดอกเบี้ย 1 ครั้งในสิ้นปี เข้าสู่ Cycle ขาลง เทียบกับปี 2546 ซึ่งสหรัฐเป็น Cycle ของดอกเบี้ยขาลงแต่เป็นช่วงปลาย คือ เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยฯตั้งแต่ปลายปี 2543 จนถึงช่วงกลางปี 2546 และเริ่มหยุดการลดอัตราดอกเบี้ยและช่วงปี 2547 คงอัตราดอกเบี้ยจนถึงกลางปี ส่วนไทยดอกเบี้ยนโยบายเริ่มเป็นขาลงคล้ายปัจจุบัน คือต้นปี 2546 ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.75% และเริ่มปรับลงรวม 50 bps ในปีนั้นมาอยู่ที่ 1.25%
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- Krungthai CIO แนะเพิ่มลงทุนหุ้นไทย ชี้ดัชนีผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว งบรัฐหนุนเศรษฐกิจฟื้น
- ‘ทรีนีตี้’ มองหุ้นไทยเดือน ก.ย. ผันผวนแกว่งทางลง หลัง 3 ปัจจัยเสี่ยงกดดัน
- คาดหุ้นไทยเดือน ก.ย. แกว่งกรอบ 1,300-1,400 จุด ชู 6 หุ้นเด่นพื้นฐานดี
ติดตามเราได้ที่
- เว็บไซต์: https://www.thebangkokinsight.com/
- Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
- Twitter: https://twitter.com/BangkokInsight
- Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
- Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg