Stock

หุ้นอสังหาฯ ก้าวข้ามความท้าทาย 

หลังเจอกับความท้าทายมายาวนานเกือบ 3 ปี สำหรับภาคธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ซึ่งมีปัจจัยรุมเร้าทั้งฝั่งซัพพลายที่เจอเรื่องภาวะต้นทุน และดีมานด์ที่โดนกระทบของมาตรการการปล่อยกู้ ต่อเนื่องมาถึงวิกฤตโควิด ทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยหดตัวอย่างรุนแรง ตลอดจนผลประกอบการของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่อ่อนแอลงชัดเจน

สำหรับปี 2565 ถือเป็นปีนับหนึ่งที่ฟื้นตัวจากจุดตกอับต่ำสุด และเป็นเพียงไม่กี่อุตสาหกรรมที่กลับมาเติบโตสวนทางกลับสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจที่ไม่สดใสมากนัก เพราะยังมีความเสี่ยงในเรื่องวิกฤตพลังงงาน ภูมิรัฐศาสตร์ อัตราเงินเฟ้อโลกพุ่งสูงสุดในรอบหลายสิบปี การเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว รวมทั้งกำลังซื้อของประชาชนที่หดตัว

แต่จะเห็นว่าธุรกิจอสังหาฯ ไทย สามารถก้าวข้ามความเสี่ยงต่างๆ โดยเจอผลกระทบเพียงเล็กน้อย สะท้อนจากข้อมูลผลประกอบการของหุ้นอสังหาฯ งวดปี 2565 ที่ส่วนใหญ่เติบโตในทุกมิติ และสามารถทำ All Time High 

สแกน 10 หุ้นอสังหาฯ

ข้อมูลจาก ทริสเรทติ้ง (Tris Rating) ระบุว่าผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 25 ราย ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิต มีผลประกอบการในปี 2565 ดีกว่าที่คาด โดยยอดโอนที่อยู่อาศัยในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นกว่า 12% มาอยู่ที่ 3.1 แสนล้านบาท และแม้ว่าต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงจะปรับต้วเพิ่มขึ้น แต่

อัตรากําไรขั้นต้นยังปรับสูงขึ้นเป็น 35% 

นอกจากนี้ ยอดขายสุทธิในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 3.26 แสนล้านบาท เติบโตกว่า 32% เมื่อเทียบกับปีก่อน  เนื่องจากการฟื้นตัวของยอดขายคอนโดมิเนียมในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งยอดขายขายสุทธิคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัณประมาณสองเท่าของยอดขายในปี 2564 ในขณะที่ความต้องการบ้านเดี่ยวที่ก็เพิ่มสูงขึ้น ด้วย

สแกน 10 หุ้นอสังหาฯ กำไรสูงสุด

 

 

10 หุ้นอสังหาฯ กำไรสูงสุด1

10 หุ้นอสังหาฯ กำไรสูงสุด 2

 

สำรวจข้อมูลผลงานหุ้นอสังหาฯ ส่วนใหญ่เทิร์นอะราวด์ในระดับสูง โดยเฉพาะบริษัทเบอร์ต้นที่สามารถทำ New Record ยอดขาย รายได้ และกำไรสุทธิ อาทิ “แสนสิริ” “เอสซี แอสเสท” “ศุภาลัย” “ออริจิ้น” และ “เอพี (ไทยแลนด์)” เปิดตัวโครงการใหม่สูงสุดในอุตสาหกรรม 

แนวโน้มในปี 2566 นี้ ทริสเรทติ้งมองว่าธุรกิจอสังหาฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และน่าจะผ่านพ้นช่วงต่ำสุดไปแล้ว แม้ปัจจุบันจะยังคงเผชิญปัจจัยลบอยู่บ้าง เช่น ดอกเบี้ยที่มีทิศทางเป็นขาขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดต่ำลงหลังมีการปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP และเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว 

ส่วนประเด็นเรื่องมาตรการ LTV ที่เข้มงวดขึ้น จะส่งผลลบต่อความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีระดับราคาปานกลางถึงสูง เนื่องจากผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในกลุ่มนี้อาจมีสัญญากู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยมากกว่าหนึ่งสัญญา อย่างไรก็ตาม คาดว่ายอดขายไม่น่าจะปรับลดลงอย่างมากเหมือนในปี 2562 เพราะจะมีความต้องซื้อจากชาวต่างชาติเข้ามาช่วยชดเชยความต้องการซื้อที่ลดลงของอยู่อาศัยชาวไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม 

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน