Personal Finance

ภ.ง.ด. 90 กับ 91 มือใหม่หัดเสีย ‘ภาษี’ ยื่นชำระแบบไหน? หาคำตอบ ที่นี่!!

ภ.ง.ด. 90 กับ 91 มือใหม่หัดเสีย ‘ภาษี’ ยื่นชำระแบบไหน ต่างกันอย่างไร ทั้งที่เป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกัน

การชำระภาษีต่อ กรมสรรพากร เป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคน แต่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งจะชำระภา ษีครั้งแรก หรือแม้ไม่ใช่มือใหม่ แต่ก็แอบงงว่าเราจะยื่นแบบชำระภา ษี ภ.ง.ด.90 หรือ 91 ดี ที่นี่มีคำตอบ

ภาษี

ผู้ที่ต้องชำระภา ษี จะต้องมีการยื่นแบบภา ษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเป็นการแสดงหลักฐานการเสียภา ษีตามกฎหมาย สำหรับแบบยื่นภาษีนั้น เราจะเรียกว่า “ภ.ง.ด.” ย่อมาจาก ภาษีเงินได้

ทั้ง ภ.ง.ด. 90 และ 91 เป็นภา ษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกัน แล้วเราจะเลือกยื่นแบบไหนถึงจะถูกต้อง???

ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า เรามีสถานะเป็น บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ต้องทราบประเภทของรายได้ เพื่อจะใช้แบบยื่นไม่ผิดพลาด จำง่ายๆคือ มนุษย์เงินเดือนอย่างเดียว ใช้แบบ ภ.ง.ด.91 นอกนั้นให้ใช้แบบภ.ง.ด.90

ภา ษี เงินได้บุคคลธรรมดา หมายถึง “ภาษีเงินได้ที่เรียกเก็บจากบุคคลซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามเกณฑ์ที่ประมวณรัษฎากรกำหนดไว้ตาม มาตรา 40 โดยยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภา ษีสำหรับปีภา ษีนั้น”

ภาษี

ประเภทของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 มี 8 ประเภท สรุปแบบคร่าวๆ ดังนี้

40 (1) เงินได้เนื่องจากการการจ้างแรงงาน ดังนี้

ก.เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำนาญ บำเหน็จ

ข.เงินค่าบ้านที่นายจ้างจ่ายให้

ค.เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า

ง.เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ

จ.เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆบรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

40(2)เงินได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับจ้างทำงาน

40(3)ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิ์อื่นๆ

40 (4)ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินได้อื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน

shutterstock 556122865 1

40(5)เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

ก.การให้เช่าทรัพย์สิน

ข.การผิดสํญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน

ค.การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงิน หรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ หรือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม

40(7)เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

40(8) เงินได้จากการประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาฯ อื่นการอื่นนอกจากเงินได้ตามมาตรา40(1)-(7)

ภาษี

ใครบ้างที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91??

สำหรับผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90  มีดังนี้

บุคคลที่ยังไม่จดทะเบียนสมรส ที่มีเงินได้เกิน 60,000 บาท

บุคคลที่เป็นสามี ภรรยา ที่มีเงินได้จากทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท

ทรัพย์สินมรดก ที่ยังไม่ได้แบ่งมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้เกิน 60,000 บาท

บุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้เกิน 60,000 บาท

วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ที่มีเงินได้เกิน 1,800,000 บาท หรือ 60,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,800,000 บาท จะได้รับยกเว้นภา ษีเงินได้

ภาษี

สำหรับผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 มีดังนี้

บุคคลที่ยังไม่จดทะเบียนสมรส มีเงินได้เกิน 120,000 บาท

บุคคลที่เป็นสามี ภรรยา ที่มีเงินได้จากทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 220,000 บาท

เงินได้ที่ว่านั้น ได้แก่ เงินที่ได้ จากการจ้างงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่ได้จากการที่นายจ้างให้อยู่บ้านเช่าโดยไม่เสียค่าเช่า  เงินที่ได้จากการที่นายจ้างจ่ายหนี้สินให้ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆก็ตามที่ได้จากการจ้างงาน เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวสาเหตุเพราะออกจากงานรวมทั้งเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่มีระยะเวลาการทํางานน้อยกว่า 5 ปี

หมายเหตุ

– กรณีที่ออกจากงานและนายจ้างจ่ายเงินให้ครั้งเดียวรวมทั้งเงินชดเชยเงิน ที่มีระยะเวลาการทํางาน 5 ปี ขึ้นไป สามารถเลือกนํามารวมกับภาษีกับเงินได้อื่นๆ

– กรณีที่ออกจากงานและนายจ้างจ่ายเงินให้ครั้งเดียว แล้วเลือกที่จะไม่นําเงินที่ได้มารวมกับภา ษีกับเงินได้อื่น ให้แสดงรายการในใบแนบและยื่นมาพร้อมกับ แบบ ภ.ง.ด.91 ด้วย

ภาษี

แบบ ภ.ง.ด. สำหรับบุคคลธรรมดา จะมีอยู่ 4 แบบ คือ

ภ.ง.ด. 90 สำหรับผู้มีเงินได้ทุกประเภท ผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป เช่นรายได้จากการมีทรัพย์สินให้เช่า การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือมีกิจการเป็นของตัวเอง ต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคมของทุกปี

ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 1 หรือ ม. 40 (1) อย่างเดียว สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน ต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคมของทุกปี

ภ.ง.ด. 93 สำหรับการขอชำระภา ษีล่วงหน้า ก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ

ภ.ง.ด. 94 สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5, 6, 7 และ 8 เป็นรูปแบบการยื่นแสดงภา ษีแบบครึ่งปี สำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก เพื่อเสียภา ษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน รายได้จากค่าเช่า รายได้ค่านายหน้า รายได้ค่ารับเหมา รายได้จากการค้าขาย เป็นต้น และต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือน กรกฎาคม – 30 กันยายนของทุกปี

สำหรับคนทั่วไปที่ทำงานมีรายได้เป็นเงินเดือน หรือรับค่าจ้างในฐานะลูกจ้างเพียงอย่างเดียว ปกติแล้วก็จะใช้แบบ ภ.ง.ด. 91 ได้เลย

แล้วเมื่อใดก็ตามที่มีรายได้ทางอื่นเพิ่มเติมด้วย เช่น ไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม แล้วได้รับเงินปันผล หรือมีบ้านให้เช่า มีกิจการของตัวเอง กรณีนี้ให้ใช้แบบ ภ.ง.ด. 90 แทน เพราะถือว่ามีเงินได้ประเภทอื่นนอกจากประเภทที่ 1

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

 

Avatar photo