Personal Finance

ภารกิจกู้เงินอย่างไร..ให้รู้ทันโจร

ภัยการเงิน จากการกู้เงินในปัจจุบันไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป ทุกคนสามารถขอกู้ได้ง่าย เพียงแต่จะได้รับการอนุมัติหรือไม่เป็นอีกเรื่อง แต่การกู้ง่ายนี้เอง กลับมี “ภัยใกล้ตัว” ทุกคนมักจะไม่ระวัง

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกคำเตือนเป็นระยะ เนื่องจากมักจะได้รับการร้องเรียนเรื่องการหลอกลวงออนไลน์เป็นประจำ ซึ่งการกู้เงินในปจจุบันก็สามารถทำได้ง่ายผ่านระบบอนไลน์ ที่ทุกสถาบันการเงินพร้อมให้บริการ

ภัยการเงิน

ธปท. ระบุว่าการกู้เงินในยุคปัจจุบันที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วผ่านมือถือโดยไม่ต้องออกจากบ้านให้ยุ่งยาก แต่สิ่งที่ยากสำหรับผู้กู้คือ จะรู้ได้อย่างไรว่า ใครคือผู้ให้กู้ที่ไม่คิดดอกเบี้ยหรือทวงถามหนี้โหด หรือไม่ใช่มิจฉาชีพที่จะมาหลอกเอาเงินเราไปอย่างเรื่องราวข้างต้น ก่อนกู้ จึงควรทำภารกิจต่อไปนี้ให้ลุล่วงเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะได้รับเงินกู้และไม่ถูกหลอก โดยมีคำแนะนำดังนี้

ภารกิจที่ 1 แยกแยะตัวปลอมออกจากตัวจริง

ลองมาดูว่าผู้ให้บริการ 3 แห่งด้านล่างนี้ ใครคือผู้ให้กู้ในระบบ ผู้ให้กู้นอกระบบ และมิจฉาชีพ

กู้เงิน

จะเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก ๆ แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะรู้ว่า

– ผู้ให้กู้ในระบบหรือผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต (แอปฯ A) จะให้เงินกู้เราเต็มจำนวน และอัตราดอกเบี้ยไม่เกินที่ทางการกำหนด

– ผู้ให้กู้นอกระบบ (แอปฯ B) ที่มักจะให้เงินกู้เราไม่เต็ม อ้างว่าเป็นค่าดำเนินการเอกสาร แถมเรายังต้องจ่ายคืนเต็มจำนวนที่เรากู้บวกกับดอกเบี้ยหรือค่าปรับสูง

– แอปพลิเคชันเงินกู้ปลอม (แอปฯ C) ที่เนียน ๆ ว่าให้เรากู้ได้เยอะ แต่ไม่ได้ให้กู้จริง ซึ่งมักจะให้แอดไลน์มาคุยกันหลังจากที่ดาวน์โหลดแอปฯ และมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับเรื่องราวของมิว

ภารกิจที่ 2 ตามหาผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต

ในการป้องกันตัวเองไม่ให้เสียท่าหลงไปกู้เงินกับแอปเงินกู้นอกระบบหรือแอปเงินกู้ปลอม เราจึงควรเลือกกู้กับผู้ให้กู้ที่ได้รับอนุญาตเพราะมีทางการกำกับดูแล โดยต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนใช้บริการ

กู้เงิน

          1. สังเกตข้อมูลของแอป โดยการอ่านรีวิว หรือดูจำนวนการดาวน์โหลด และรายละเอียดของแอป (About app) เช่น

–  ชื่อผู้พัฒนาระบบ (Offered by) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชื่อของผู้ประกอบธุรกิจ และมีที่อยู่ติดต่อได้

–  อีเมลของผู้พัฒนาระบบ หากเป็นผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจะให้อีเมลขององค์กรสำหรับการติดต่อ

          2. ตรวจสอบข้อมูล บางครั้งมิจฉาชีพหรือแอปเงินกู้นอกระบบจะตั้งชื่อแอปคล้ายคลึงกับผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต หรือสวมรอยเป็นผู้ได้รับอนุญาตเลย ก่อนตัดสินใจกู้เราจึงควรตรวจสอบโดย

–  เทียบกับรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต นำข้อมูลชื่อและที่อยู่ที่ได้จากแอปมาตรวจสอบกับหน่วยงานที่กำกับดูแล ว่าเป็นผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่

–  โทรติดต่อไปยังผู้ให้บริการที่ถูกอ้างชื่อ อย่าเพิ่งเชื่อใจใช้เบอร์โทรที่เขาให้มาหรือที่เขาโฆษณาโทรกลับไป แต่เราควรค้นหาเบอร์ติดต่อจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อสอบถามว่าเป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชันนี้จริง ๆ หรือไม่ 

ภารกิจสุดท้าย  กู้อย่างมั่นใจอย่าลืมอ่านเงื่อนไขก่อนกู้

เมื่อรู้แน่ ๆ แล้วว่าเป็นผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตตัวจริง ก็อย่าเพิ่งรีบกู้จนลืมดูรายละเอียดที่จำเป็น เช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลา จำนวนเงิน วิธีการคืนเงินกู้ ที่สำคัญ ต้องคำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระของเราโดยควรกู้เท่าที่จำเป็น และรวมภาระผ่อนชำระหนี้ทุกก้อนของเราต่อเดือนไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo