Personal Finance

ออกจากงานมาทางนี้ กรมสรรพากรแนะวิธี ‘ยื่นภาษี’ ยังไงให้ถูกต้อง

แค่การยื่นภาษีธรรมดาก็ปวดหัวอยู่แล้ว แต่ถ้าต้อง ยื่นภาษี ในปีที่ ออกจากงาน ก็ยิ่งปวดหัวเข้าไปใหญ่

แต่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะ กรมสรรพากร ได้ออกมาแนะนำวิธีการยื่นภาษีให้ถูกต้อง ทั้งกรณีที่ลาออกจากงานเองและกรณีที่ถูกบีบให้ออกจากงานแบบไม่สมัครใจ

ยื่นภาษี ออกจากงาน 2564

“ออกจากงาน” ยื่นภาษี ยังไง?

การยื่นภาษีในกรณีที่ออกจากงาน จะต้องใช้เอกสารเหล่านี้ประกอบการยื่นแบบ ได้แก่

  • หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย 50 ทวิ
  • เอกสารรับรองอายุการทำงาน
  • เอกสารรับรองเงินเดือนย้อนหลัง 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน

 1.รณีลาออกจากงานแบบสมัครใจ โดยอายุงานไม่ถึง 5 ปี

  • เงินเดือนที่ได้ระหว่างปี ยื่นภาษี โดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1)
  • เงินชดเชยที่ได้รับตามอายุงาน คำนวณในแบบแสดงรายการ รวมกับเงินเดือนตามมาตรา 40 (1)
  • เงินได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุไม่ถึง 55 ปี คำนวณในแบบแสดงรายการ รวมกับเงินเดือนตามมาตรา 40 (1)
  • เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุตั้งแต่ 55 ปีเป็นต้นไป คำนวณในแบบแสดงรายการ รวมกับเงินเดือนมาตรา 40 (1)

2.กรณีลาออกโดยสมัครใจ โดยอายุงานเกิน 5 ปี

  • เงินเดือนที่ได้ระหว่างปี ยื่น ภาษี โดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1)
  • เงินชดเชยที่ได้รับตามอายุงาน คำนวณในใบแนบเหตุออกจากงาน
  • เงินได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุไม่ถึง 55 ปี คำนวณในใบแนบเหตุออกจากงาน
  • เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุตั้งแต่ 55 ปีเป็นต้นไป ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องนำมาคำนวณ หากมีอายุในกองทุนเกินกว่า 5 ปี

shutterstock 1659753442

3.กรณีถูกบังคับให้ออก หรือให้ออกโดยลูกจ้างไม่สมัครใจ โดยอายุงานไม่ถึง 5 ปี

  • เงินเดือนที่ได้ระหว่างปี ยื่นภาษี โดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1)
  • เงินชดเชยที่ได้รับตามอายุงานตามกฎหมายแรงงาน คำนวณในแบบแสดงรายการ รวมกับเงินเดือนตามมาตรา 40 (1)
  • เงินชดเชยที่ได้รับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ได้รับยกเว้น 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
  • เงินได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุไม่ถึง 55 ปี คำนวณในแบบแสดงรายการ รวมกับเงินเดือนตามมาตรา 40 (1)
  • เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุตั้งแต่ 55 ปีเป็นต้นไป คำนวณในแบบแสดงรายการ รวมกับเงินเดือนตามมาตรา 40 (1)

4.กรณีถูกบังคับให้ออก หรือให้ออกโดยลูกจ้างไม่สมัครใจ โดยอายุงานมากกว่า 5 ปี

  • เงินเดือนที่ได้ระหว่างปี ยื่น ภาษี โดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1)
  • เงินชดเชยที่ได้รับตามอายุงาน ตามกฎหมายแรงงาน คำนวณในใบแนบเหตุออกจากงาน
  • เงินชดเชยที่ได้รับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ได้รับยกเว้น 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
  • เงินได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุไม่ถึง 55 ปี คำนวณในใบแนบเหตุออกจากงาน
  • เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุตั้งแต่ 55 ปีเป็นต้นไป ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องนำมาคำนวณหากมีอายุในกองทุนฯ เกินกว่า 5 ปี

ด้านผู้ที่ลาออกหรือถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ไม่ได้ลาออกจากงาน ให้นำเงินได้เฉพาะส่วนผลประโยชน์ของตนเอง ส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ของนายจ้างยื่นรวมกับเงินเดือนที่ได้รับ ยื่นในแบบแสดงรายการตามมาตรา 40 (1) เงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน และ ไม่มีสิทธิ คำนวณเงินได้ในใบแนบเงินได้ เหตุออกจากงาน

ภาษี ลาออก ถูกให้ออก

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมที่เริ่มใช้ปีภาษี 2560 ได้กำหนดอัตราการเสีย ภาษี ไว้ดังนี้

  • เงินได้สุทธิ 1 – 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
  • เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท อัตราภาษี 5%
  • เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท อัตราภาษี 10%
  • เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท อัตราภาษี 15%
  • เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25%
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30%
  • เงินได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo