เมื่อเรามีรายรับเข้ามา แน่นอนว่าเราก็ต้องมีรายจ่ายในรูปแบบของ “ภาษี” เพื่อนำเงินไปพัฒนาประเทศ
โดยภาษีไม่ใช่เรื่องของวัยทำงานเท่านั้น เมื่อ วัยเกษียณ แล้ว แต่ยังมีรายได้ ก็ต้อง ยื่นภาษี และจ่ายภาษีเช่นกัน ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุจะได้รับการลดหย่อนภาษีประเภทใด หรือมีสิทธิอะไรเพิ่มเติมบ้าง ไปติดตามพร้อมกันเลย!
ยื่นภาษี “วัยเกษียณ”
กรณีมีรายได้เป็นดอกเบี้ย เงินปันผล เงินคืนประกัน
- ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ น้อยกว่า 30,000 บาท ได้รับการยกเว้น
- ดอกเบี้ยอื่น เงินปันผล ต้องนำไปรวมคำนวณ ภาษี หรือเลือก Final Tax โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% สำหรับดอกเบี้ย และ 10% สำหรับเงินปันผล
- กำไรจากการขายหุ้น ได้รับการยกเว้นการขายในตลาดหลักทรัพย์
- เงินคืนประกันบำนาญ ได้รับการยกเว้น ภาษี
กรณีมีรายได้สวัสดิการ
- เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ นำไปรวมคำนวณ ภาษี
- เงินบำนาญข้าราชการ นำไปรวมคำนวณภาษี
- บำเหน็จ/บำนาญชราภาพ ได้รับการยกเว้น ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไข
- กองทุนประกันสังคม ได้รับการยกเว้น ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไข
- บำเหน็จดำรงชีพ ได้รับการยกเว้น ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไข
สิทธิผู้สูงอายุ
- อายุ 60 ปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท บุตรสามารถนำสิทธิอุปการะบิดามารดาไปลดหย่อนภาษีได้
- อายุ 65 ปีขึ้นไปและอยู่ในประเทศไทย ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท
3 ช่องทาง “ยื่นภาษี”
ปัจจุบันกรมสรรพากรเปิดให้ประชาชนสามารถยื่นภาษีได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
1.สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สำนำงานสรรพากรเขต/อำเภอ)
สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ผู้มีเงินได้สามารถยื่น ภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง
2.ที่ทำการไปรษณีย์ สำหรับการยื่นแบบฯ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม เท่านั้น มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
- ผู้มีเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ
- ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน พร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค. หรือ ง.) หรือธนาณัติ (ตามจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระทั้งจำนวน) โดยส่งไปยัง กองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
- กรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นวันรับแบบและชำระ ภาษี และจะส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ยื่นแบบฯ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
- กรณีผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนา “อยู่ในต่างจังหวัด” หรือประสงค์จะขอ “ชำระภาษีเป็นงวด” จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทางไปรษณีย์ “ไม่ได้”
3.อินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถยื่น ภาษี ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
- เว็บไซต์ของกรมสรรพากร คลิกที่นี่
- แอปพลิเคชัน RD smart Tax
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นผ่านระบบ iOS คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นผ่านระบบแอนดรอยด์ คลิกที่นี่
รัฐบาลขยายเวลายื่นภาษี
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบให้กรมสรรพากรขยายเวลายื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2563 (แบบ ภ.ง.ด.90 แบบ ภ.ง.ด.91) ที่ต้องยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ให้ขยายเวลาออกไปถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2564 เฉพาะแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (แบบ ภ.ง.ด. 1 แบบ ภ.ง.ด. 2 แบบ ภ.ง.ด. 3 แบบ ภ.ง.ด. 53 และ แบบ ภ.ง.ด. 54) ขยายเวลาการยื่นแบบฯ ถึงวันสุดท้ายของเดือน ที่ต้องยื่นแบบฯ โดยให้เริ่มขยายเวลา สำหรับการยื่นแบบฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึงเดือน มิถุนายน2564 เฉพาะแบบฯ ที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 30 แบบ ภ.พ. 36) ขยายเวลาการยื่นแบบฯ ถึงวันสุดท้ายของเดือน ที่ต้องยื่นแบบฯ โดยให้เริ่มขยายเวลา สำหรับการยื่นแบบฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึงเดือน มิถุนายน 2564 เฉพาะแบบฯ ที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- ช้อปดีมีคืน เช็คความพร้อม ก่อนยื่นภาษีลดหย่อนภาษี ไขทุกข้อข้องใจที่นี่!
- ‘แม่ค้าตลาดนัด – แม่ค้าออนไลน์’ มีรายได้แค่ไหน ต้องเสียภาษี?
- ‘ขอคืนภาษี’ มีปัญหา กรมสรรพากรแนะช่องทางแก้ไขด้วยตัวเอง