Personal Finance

มัดรวมให้! เช็ครายการ เงินได้ที่ต้องเสียภาษี อะไรลดหย่อนได้บ้างปี 2563

เงินได้ที่ต้องเสียภาษี รายการลดหย่อน ปี 2563 รวมไว้แล้วที่นี่ สำหรับเทศกาลเสียภาษีประจำปี อย่าลืมยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถึงวันที่ 8 เมษายน 2564 

เป็นประจำทุกปี สำหรับ ผู้มีเงินได้ ที่ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้ กรมสรรพากร โดยต้องมีเงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 150,001 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยในปีนี้ สามารถยื่นเสียภาษีได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2564 ดังนั้น สิ่งที่ควรรู้คือ เงินได้ที่ต้องเสียภาษี มาจากอะไรบ้าง และอะไรที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้

เงินได้ที่ต้องเสียภาษี

เงินได้ ที่ต้องนำมารวมในการคำนวณภาษี มีดังนี้

1. เงินได้ประเภทที่ 1 เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ได้แก่

  •  เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
  • เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
  • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
  • เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
  • เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น

2. เงินได้ประเภทที่ 2 เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น

  • ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
  • เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
  • เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
  • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
  • เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
  • เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว

อัตราภาษี

3. เงินได้ประเภทที่ 3 ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

4. เงินได้ประเภทที่ 4

  • ดอกเบี้ย ได้แก่ ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
  • เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ
  • เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  • เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
  • เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือรับช่วงกันไว้รวมกัน
  • ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกันหรือ เลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
  • ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

อย่างไรก็ตาม เงินได้ประเภทที่ 4 ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้

ภาษี ภาษีที่ดิน ๒๑๐๑๒๖ 0

5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก

  • การให้เช่าทรัพย์สิน
  • การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
  • การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

6. เงินได้ประเภทที่ 6 เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

7. เงินได้ประเภทที่ 7 เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

8. เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

รายการลดหย่อนภาษี ปี 2563

1. กลุ่มค่าลดหย่อน ส่วนตัวและครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล จำนวน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนจากคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ จำนวน 60,000 บาท สำหรับสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส โดยคู่สมรส ต้องไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่เลือกนำมาคำนวณภาษีพร้อมกัน ไม่ได้แยกยื่นแบบฯ
  • ค่าลดหย่อนบุตร ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท (ไม่จำกัดจำนวนบุตร) แต่กรณีบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน

เงินได้ที่ต้องเสียภาษี

นอกจากนี้ บุตรที่จะนำมาหักลดหย่อนภาษีต้อง มีอายุอยู่ระหว่างแรกเกิดจนถึง 20 ปี ในปีภาษีนั้น ยกเว้นบุตรอายุระหว่าง 21-25 ปี ในปีภาษีนั้น ต้องกำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป หรือถ้าบุตรมีอายุ 25 ปีขึ้นไป ในปีภาษีนั้น ต้องเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ และบุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป ยกเว้นเงินปันผล

  • ค่าฝากครรภ์ และค่าคลอดบุตร หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง สูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับค่าใช้จ่ายที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา โดยลดหย่อนจากบิดา-มารดา (ตัวเอง) และบิดา-มารดาคู่สมรส ได้คนละ 30,000 บาท มากสุดคือ 4 คน ไม่เกิน 120,000 บาท ภายใต้เงื่อนไข บิดา-มารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 60,000 บาทต่อคน โดยต้องเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ

2. กลุ่มค่าลดหย่อย จากประกัน เงินออม และการลงทุน

  • ประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
  • ประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากเพื่อสงเคราะห์ชีวิต ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิต และเงินฝากสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท (เริ่มตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป จากเดิมให้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท)
  • ประกันสุขภาพบิดา-มารดา ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท มีเงื่อนไขคือ บิดา-มารดาต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป, บิดาหรือมารดาต้องอยู่ในไทยไม่ต่ำกว่า 180 วัน ในปีภาษีนั้น, ลูกที่จะใช้สิทธิต้องเป็นบุตรตามกฎหมายเท่านั้น บุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธิได้
  • ประกันชีวิตบำนาญ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยต้องเป็นประกันที่มีระยะเวลาเอาประกัน 10 ปีขึ้นไป และซื้อจากบริษัทประกันชีวิตที่ดำเนินกิจการในไทย
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund) หรือ กองทุนรวม SSF ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (Super Savings Fund Extra) หรือ กองทุนรวม SSFX เพิ่มจากวงเงินเดิมอีก 200,000 บาท ดังนั้น สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากการซื้อกองทุน SSF และ SSFX รวม 400,000 บาท (SSF 200,000 + SSFX 200,000)
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF) หักลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท ส่วนจำนวนเงินที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
  • กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 13,200 บาท

เงินได้ที่ต้องเสียภาษี

3. กลุ่มค่าลดหย่อน เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ซื้อบ้านหลังแรก ปี 2559 ลดหย่อนได้ไม่เกิน 20% ของราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยนำมาเฉลี่ยลดหย่อนภาษีได้เป็นเวลา 5 ปี หรือเท่ากับลดหย่อนภาษีได้ปีละ 4% ของราคาบ้านเป็นเวลา 5 ปี

4. กลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ของจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค เช่น หากบริจาคเงินให้สถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด 3,000 บาท ก็จะสามารถหักลดหย่อนได้ 2 เท่า คือ 6,000 บาท
  • เงินบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้วต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
  • เงินบริจาคสนับสนุนการกีฬา ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้วต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
  • เงินบริจาคเพื่อการพัฒนาสังคม เช่น กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเด็กเล็ก, โครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น
  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น
  • เงินบริจาคให้พรรคการเมือง ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่บริจาคจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 10,000 บาท

5. กลุ่มค่าลดหย่อน ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

  • ช้อปดีมีคืน หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo