มนุษย์เงินเดือนมือใหม่ต้องรู้ เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี ใช้เอกสารอะไรในการยื่นภาษีบ้าง อ่านเพื่อเตรียมยื่นภาษี 2567 ที่นี่!
มนุษย์เงินเดือนต้องเตรียมพร้อม!! หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็ต้องเตรียมพร้อมที่จะยื่นภาษี 2567 และถ้ามีการวางแผนภาษีล่วงหน้า แล้วหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีเตรียมไว้ อาทิ กองทุนลดหย่อนภาษี ก็จะสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้เยอะทีเดียว แล้วเงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี อัปเดตข้อมูลกันที่นี่เลย!
เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี
เงินเดือนเท่านี้ ต้องเสียภาษีไหม เสียเท่าไหร่ เป็นคำถามที่มนุษย์เงินเดือนหน้าใหม่อย่างรู้ เนื่องจากแต่ละบุคคลต่างก็มีรายได้ที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็มีรายได้แค่เฉพาะเงินเดือนอย่างเดียว บ้างก็มีรายได้หลายทาง เพราะฉะนั้นรายรับที่แต่ละคนได้ต่อเดือน จะเป็นตัวกำหนดการคำนวณภาษี โดยมีสูตรการคำนวณคร่าว ๆ ก็คือ รายได้ตลอดทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน จะออกมาเป็น “รายได้สุทธิ”
ซึ่งรายได้ตลอดทั้งปีจะมาจากเงินเดือนในแต่ละเดือนที่นายจ้างมีการจ่ายเป็นค่าจ้าง ลบด้วยค่าใช้จ่ายของรายได้จากงานประจำ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ลบด้วยลดหย่อนส่วนตัวคนละ 60,000 บาท ซึ่งเราสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้จาก ค่าลดหย่อนส่วนตัว หรือจะเป็น การลงทุนในกองทุนรวม การซื้อประกันชีวิต แคมเปญจากภาครัฐ เช่น ช็อปดีมีคืน เป็นต้นจะได้เป็น “เงินได้สุทธิ”
ผู้ที่มีรายได้สุทธิคำนวณทั้งปีไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นเสียภาษี และถ้าหากรวมแล้วเกิน 150,000 บาท จะต้องเสียภาษีอัตราตามขั้นบันได 5 – 35%
ยื่นภาษีต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ข้าราชการ หรือ ฟรีแลนซ์ การเตรียมเอกสารในการใช้ยื่นภาษีบุคคลธรรมดาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของรายได้ รวมถึงเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นภาษี ก็แตกต่างกันอีกด้วย สำหรับมือใหม่เพิ่งยื่นภาษีครั้งแรก ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
1. การยื่นภาษีเงินได้จากเงินเดือน (ภ.ง.ด. 91)
สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมี 2 แบบด้วยกัน นั่นก็คือ
- ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น เงินปันผล หรือการค้าขายแบบบุคคลธรรมดา
- ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ไม่มีรายได้เสริม เช่น พนักงานบริษัท
โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
- หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) : เป็นเอกสารที่แสดงจำนวนเงินที่นายจ้างหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินเดือนของพนักงาน โดยหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) สามารถใช้ยื่นภาษีได้ทั้งแบบกระดาษและแบบออนไลน์
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี : อาทิเช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนคู่สมรส ค่าลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนบิดามารดา ค่าลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าลดหย่อนอื่นๆ เช่น ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าบริจาค เป็นต้น
2. การยื่นภาษีเงินได้สำหรับฟรีแลนซ์ (ภ.ง.ด. 90)
สำหรับผู้ที่มีรายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น นักเขียน นักแปล นักออกแบบ ฯลฯ จะต้องยื่นภาษีด้วยแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
- หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากผู้ว่าจ้าง : สำหรับใครก็ตามที่เป็นพนักงานฟรีแลนซ์ที่เงินค่าจ้างเกิน 1,000 บาท ขึ้นไป อย่าลืมขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากนายจ้างได้ กรณีที่ค่าจ้างต่ำกว่า 1,000 บาท อาจจะเก็บหลักฐานเป็นสลิปการโอนเงิน เนื่องจากจะต้องนำมาคิดรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน สำหรับใช้คำนวณเงินได้สุทธิ โดยสูตรการคิดเงินได้สุทธิมาจาก เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี : ฟรีแลนซ์ สามารถลดหย่อนภาษีจากการซื้อสินค้าและบริการ โดยใช้ใบกำกับภาษีที่ได้จากร้านค้านำมาเป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี, ลดหย่อนภาษีจากการทำประกัน การลงทุน
ทั้งหมดนี้คือเอกสารที่จำเป็นในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ผู้เสียภาษีควรตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วนก่อนยื่นภาษีเพื่อป้องกันความผิดพลาด
ขอบคุณข้อมูลจาก www.cimbthai.com
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- ทำไมต้องวางแผนภาษี? อัปเดตสิทธิลดหย่อนภาษี 2567 แบบครบจบที่นี่
- เช็กลิสต์รายการลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง รวมไว้ให้แล้วที่นี่!
- เตรียมพร้อม! ยื่นภาษีออนไลน์ 2567 ฉบับมือใหม่ มีขั้นตอนยังไง ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ติดตามเราได้ที่
- เว็บไซต์ : https://www.thebangkokinsight.com/
- Facebook : https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
- X : https://twitter.com/BangkokInsight
- Instagram : https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
- Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg