เผยตัวเลข “หนี้เสีย-ค้างชำระบัตรเครดิต” เพิ่มขึ้น 26% หลังปรับอัตราจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตเป็น 8% แนะสถาบันการเงินเร่งปรับโครงสร้างหนี้
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสหนึ่ง ปี2567 ขยายตัวชะลอลง ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนปรับลดลงต่อเนื่อง
เร่งปรับโครงสร้างลูกหนี้บัตรเคดิต
ทั้งนี้ มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้บัตรเครดิตที่เริ่มมีปัญหาการชำระหนี้คืน และการกู้นอกระบบที่หลากหลายและเข้าถึงง่ายอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัว
ไตรมาสหนึ่ง ปี2567 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.37 ล้านล้านบาท ขยายตัว2.5% ชะลอลงจาก 3.0% ในไตรมาสก่อน และคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ที่ 90.8% ลดลงจาก 91.4% ในไตรมาสก่อน
โดยหนี้ครัวเรือนขยายตัวชะลอลงเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ส่วนหนึ่งเกิดจากครัวเรือนมีภาระหนี้ในระดับสูง และคุณภาพสินเชื่อที่ปรับลดลง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อแก่ครัวเรือน
ด้านคุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนปรับลดลงต่อเนื่อง โดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์มีมูลค่า 1.63 แสนล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 2.99% ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจาก 2.88% ในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน และสัดส่วนดังกล่าวยังปรับเพิ่มขึ้นในสินเชื่อทุกวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะสินเชื่อบัตรเครดิตที่มีสัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมสูงกว่าสินเชื่อประเภทอื่น หรืออยู่ที่ 4.13%
หนี้เสีย-ค้างชำระบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น
- นอกจากนี้มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้บัตรเครดิตที่เริ่มมีปัญหาการชำระหนี้คืน หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับอัตราการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำจาก 5% เป็น 8% ตั้งแต่รอบบัญชีเดือนมกราคม ปี2567 ส่งผลให้ลูกหนี้บางส่วนไม่สามารถปรับตัวและมีปัญหาในการชำระคืน
สะท้อนจากหนี้เสียและหนี้ที่มีค้างชำระ 1 – 3 เดือน (SMLs) ของสินเชื่อบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาสหนี่ง ปี 2567 โดยสัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ 4.13% จาก 3.57% ของไตรมาสที่ผ่านมา เช่นเดียวกับสัดส่วนหนี้ SMLs ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นเป็น 5.25% จาก 4.22%
อีกทั้ง จากข้อมูลเครดิตบูโร ยังพบว่า ในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวนบัญชีบัตรเครดิตที่เริ่มมีสถานะผิดนัดการชำระหนี้ (1 – 3 เดือน) ยังเพิ่มขึ้นถึง 26.1% จาก 1.1% ของไตรมาสก่อน
ดังนั้น สถาบันการเงินจึงอาจต้องเร่งปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้บัตรเครดิตที่เริ่มผ่อนชำระไม่ไหว รวมถึงลูกหนี้เองก็ควรรีบติดต่อหรือขอคำปรึกษาสถาบันการเงิน ทั้งก่อนที่จะเป็นหนี้เสียและหลังเป็นหนี้เสีย
กู้ผ่านโซเชียลเข้าถึงง่าย ทำให้มีพฤติกรรมก่อหนี้เกินตัว
- รูปแบบการให้กู้ยืมนอกระบบที่หลากหลาย โดยเฉพาะที่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ประกอบกับเงื่อนไขการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่าย อาจนำไปสู่พฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัวได้ง่าย อีกทั้งมีความเสี่ยงการมีหนี้สินพ้นตัวจากอัตราดอกเบี้ยนอกระบบที่อยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กรุ่นใหม
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- แบงก์ชาติ เตรียมผ่อนเกณฑ์ ‘กู้ร่วมซื้อรถยนต์’ ให้รวมรายได้คนในครอบครัว แก้ปัญหารายได้ไม่พอกู้
- เช็กที่นี่! กยศ.ชวนลูกหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้เดือนก.ย. จัดงาน 13 จังหวัด ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น!
- แบงก์ชาติ เผยมาตรการ สแกนหน้าก่อนโอนเงิน พบ ‘บัญชีม้าหมุน’ ลดลง แต่ ‘บัญชีม้าเลี้ยง’ เพิ่มขึ้น
ติดตามเราได้ที่
- เว็บไซต์ : https://www.thebangkokinsight.com/
- Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
- Twitter: https://twitter.com/BangkokInsigh
- Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
- Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yx