Personal Finance

รู้ยัง? พรุ่งนี้ 9 เม.ย. ยื่นภาษีออนไลน์วันสุดท้าย อัปเดตวิธีการยื่นภาษีครบทุกขั้นตอนที่นี่

รู้ยัง? พรุ่งนี้ 9 เมษายน 2567 ยื่นภาษีออนไลน์วันสุดท้าย อัปเดตวิธีการยื่นภาษีครบทุกขั้นตอนที่นี่

กรมสรรพากร เปิดให้ผู้มีเงินได้ ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปี โดยมีทั้งการยื่นภาษี “แบบเอกสาร” ผ่านสำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน และยื่น “แบบออนไลน์” เพื่อแสดงรายได้ และแหล่งที่มาของรายได้ โดยสามารถนำสิทธิต่าง ๆ เช่น เลี้ยงดูพ่อ แม่ ลูก บริจาคให้มูลนิธิ กองทุน ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ มาลดหย่อนภาษี เพื่อรับเงินคืนได้

วิธีการยื่นภาษี

โดยในปี 2567 กรมสรรพากร เปิดให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 ประจำปีภาษี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 โดยผู้ยื่นแบบเอกสารต้องยื่นภายในในวันที่ 1 เมษายน 2567 ส่วนการยื่นแบบออนไลน์ให้ยื่นได้ถึงวันที่ 9 เมษายน 2567 หรือวันสุดท้ายคือวันพรุ่งนี้นั่นเอง อัปเดตวิธีการยื่นภาษีที่นี่

อัปเดตวิธียื่นภาษีออนไลน์ 2566

ขั้นตอนที่ 1 : เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากรและเลือกยื่นแบบออนไลน์ มือใหม่ที่ยังไม่มีบัญชีให้กดสมัครสมาชิกก่อน จากนั้นระบบจะให้กรอกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน (เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร) วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน ที่อยู่ อีเมล พร้อมสร้างรหัสผ่านเพื่อใช้ในการเข้าสู่ระบบ E-filing สำหรับยื่นภาษีออนไลน์

ขั้นตอนที่ 2 : เข้าสู่ระบบ E-filing ของกรมสรรพากร

เข้าสู่ระบบ E-filing โดยการกรอกเลขบัตรประชาชนในช่องชื่อผู้ใช้งาน พร้อมกรอกรหัสผ่าน และกด “ตกลง” จากนั้นยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งไว้ ระบบจะส่งรหัส OTP มายังเบอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนเบอร์ให้ระบุเบอร์โทรศัพท์ใหม่ จากนั้นกดขอรหัส OTP

วิธีการยื่นภาษี

ขั้นตอนที่ 3 : เลือกยื่นแบบภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90/91

อ่านและยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร จากนั้นกด “เข้าสู่ระบบ” และเลือก “ยื่นแบบ” ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91

ขั้นตอนที่ 4 : กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี

ตรวจสอบข้อมูลผู้เสียภาษี เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด และสถานที่ติดต่อ จากนั้นเลือกสถานะ จากนั้นกด “ถัดไป”

ขั้นตอนที่ 5 : กรอกเงินได้

กรอกข้อมูลรายได้โดยนำข้อมูลมาจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) พร้อมกรอกเลขผู้จ่ายเงินได้ (เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่เราทำงานอยู่)

สำหรับคนที่เปลี่ยนที่ทำงานระหว่างปีให้ขอหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) กับที่ทำงานเก่าเพื่อนำมากรอกข้อมูลยื่นภาษีเงินได้ หากใครมีรายได้อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเงินได้จากการจ้างานเช่น รายได้จากฟรีแลนซ์ รับจ้างทั่วไป และวิชาชีพอิสระ, รายได้จากทรัพย์สิน และการทำธุรกิจ, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหรือได้รับมา ให้กรอกข้อมูลลงไปด้วย หลังจากกรอกข้อมูลเงินได้เรียบร้อยแล้วให้กด “ถัดไป”

วิธีการยื่นภาษี

ขั้นตอนที่ 6 : กรอกค่าลดหย่อน

กรอกข้อมูลค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่มี เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา ค่าลดหย่อนบุตร เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF RMF กองทุน Thai ESG และเงินบริจาค เป็นต้น หลังจากกรอกข้อมูลค่าลดหย่อนเรียบร้อยแล้วให้กด “ถัดไป”

ขั้นตอนที่ 7 : ตรวจสอบข้อมูล

ตรวจสอบข้อมูลเงินได้และค่าลดหย่อนทั้งหมดที่ได้กรอกไป โดยระบบจะทำการคำนวณภาษีที่ต้องชำระให้อัตโนมัติ ซึ่งหากมีการชำระภาษีไปแล้วระบบจะแจ้งยอดที่ชำระเกิน โดยสามารถขอคืนภาษีที่ชำระเกินได้ รวมถึงนำเงินภาษีที่ชำระเกินไปอุดหนุนพรรคการเมืองได้หลังจากตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดเรียบร้อยแล้วให้กด “ถัดไป”

ขั้นตอนที่ 8 : ยืนยันการยื่นแบบ

เมื่อตรวจสอบข้อมูลครบถ้วนแล้ว กด “ยืนยันการยื่นแบบ” เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิธีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นอันจบครบถ้วน

ขอบคุณ : เมืองไทยประกันชีวิต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK