Personal Finance

ยื่นภาษี 2565: รวมทุกขั้นตอน ยื่นภาษีออนไลน์ เอกสารที่ต้องใช้ เตรียมให้พร้อม!!

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนยื่นภาษี 2565 เปิดทุกขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง เช็กรายละเอียดที่นี่

ถึงเวลามนุษย์เงินเดือน และประชาชนคนไทยที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยแบ่งออกเป็นสถานะโสดและสมรส ดังนี้

ยื่นภาษี 2565

  • คนโสดที่มีรายได้เป็นเงินเดือนตั้งแต่ 1 หมื่นบาท ต่อเดือน (ภ.ง.ด. 91) หรือ 1.2 แสนบาท ต่อปี รวมถึงคนโสดที่มีรายได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน (ภ.ง.ด. 90) ตั้งแต่ 5,000 บาท ต่อเดือน หรือ 6 หมื่นบาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี
  • คนที่สมรสแล้วที่มีรายได้เป็นเงินเดือน (ภ.ง.ด. 91) ตั้งแต่ 18,333 บาท ต่อเดือน หรือ 2.2 แสนบาท ต่อปี รวมถึงคนที่สมรสแล้วที่มีรายได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน (ภ.ง.ด. 90) ตั้งแต่ 1 หมื่นบาท ต่อเดือน หรือ 1.2 แสนบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี

สำหรับเวลาในการยื่นภาษี 2565 นั้น กรมสรรพากร กำหนดให้ยื่นปีละ 1 ครั้ง ภายในวันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2565 ส่วนช่องทางยื่นภาษีออนไลน์ สามารถยื่นได้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2565

เอกสารที่ต้องเตรียมยื่นภาษีออนไลน์

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) โดยเป็นเอกสารที่แสดงถึงรายได้รวมทั้งปี หลังจากหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา ค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อประกอบการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ เป็นต้น

ขั้นตอนการยื่นภาษี 2565

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรถือเป็นตัวเลือกที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากไม่ต้องไปถึงที่สำนักงานสรรพากร และสามารถยื่นเอกสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีขั้นตอนเบื้องต้น ดังนี้

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th และคลิกไปที่ ยื่นออนไลน์

2. กดคลิกที่ ยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90/91

2 13

3. เข้าสู่ระบบการ Login ด้วย เลขบัตรประชาชน และ รหัสผ่าน

3 7

4. ตรวจสอบข้อมูลของคุณให้รายละเอียดอย่างถูกต้อง และคลิกที่ ทำรายการต่อไป

4 9

5. เลือกสถานภาพผู้มีเงินได้ ในกรณีที่มี คู่สมรส ให้กรอกข้อมูลตามช่องดังกล่าว และคลิกที่ ทำรายการต่อไป

5 6

6. เลือกรายการเงินได้พึงประเมิน จากที่มาของรายได้ และ เลือกเงินได้ที่ได้รับยกเว้น/ค่าลดหย่อน หากมีลดหย่อนตามเงื่อนไข และคลิกที่ ทำรายการต่อไป

6 5

7. นำข้อมูลจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ จากบริษัทผู้ว่าจ้าง กรอกลงไปในช่อง และคลิกที่ ทำรายการต่อไป

8. ใส่ข้อมูลของค่าลดหย่อนตามเงื่อนไขที่คุณมี และคลิกที่ ทำรายการต่อไป

8 3

9. หลังจากกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรจะคำนวณ และแสดงภาษีที่คุณต้องจ่าย และในส่วนที่ต้องได้คืน และคลิกที่ ทำรายการต่อไป

9 3

10. ตรวจสอบข้อมูลในทุกข้อให้เรียบร้อย และคลิกที่ ทำรายการต่อไป

11. หากในกรณีขอคืนภาษีทางกรมสรรพากรจะให้พิมพ์แบบเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน และสามารถอัปโหลดเอกสารได้ที่ นำส่งเอกสารขอคืนภาษี ได้ทันที หลังจากยื่นเสร็จเรียบร้อย

ในกรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ระบบจะแจ้งผลการยื่นแบบและหมายเลขอ้างอิง พร้อมออกเอกสารแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและใบเสร็จรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบ

กรณีมีภาษีชำระไว้เกิน กรมสรรพากรจะทำการอนุมัติคืนภาษีให้ทันที โดยสามารถเลือกรับคืนเงินภาษีที่ชำระเกินได้ทั้งช่องทางพร้อมเพย์ และบัญชีของธนาคารกรุงไทย พร้อมติดตามสถานะคืนเงินภาษีได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ภาษี1

กรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม สามารถเลือกชำระภาษีได้หลายช่องทาง ได้แก่ QR Code, E-Payment, Internet Credit Card, ATM on Internet, บัตรภาษี และชำระผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น Pay-In Slip ผ่านช่องทาง Counter Service, Tele-Banking และอื่น ๆ

ทั้งนี้หากมียอดภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถเลือกผ่อนชำระภาษีได้สูงสุด 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในกรณีที่ชำระเงินภายในวันที่กำหนด

หากไม่ชำระภายในวันที่กำหนดจะคิดดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ โดยระบบจะคำนวณยอดชำระพร้อมกำหนดวันที่ต้องชำระให้ทั้ง 3 งวด และจะมี SMS จากกรมสรรพากรแจ้งเตือนเมื่อครบกำหนดวันที่ต้องชำระภาษี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo